svasdssvasds

อนุสัญญาเจนีวา กฎหมายสำคัญยามสงคราม ที่ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

อนุสัญญาเจนีวา กฎหมายสำคัญยามสงคราม ที่ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

อนุสัญญาเจนีวา มีประเทศที่ให้ชื่อร่วมลงสัตยาบันมากที่สุดในโลก 191 แต่ในสนามรบ การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยังถูกละเมิดอยู่ให้เห็นทั้งฝ่ายรุกรานและฝ่ายถูกกระทำ

อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) มีจุดเริ่มต้นขึ้น ในปี 1864 (2407) เป็นการประชุมที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ร่วมกับประเทศต่างๆ ในยุโรปร่วมร่างและลงนามร่วมกันโดยมีการปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเป็นเวลา 4 ปี

อนุสัญญาเจนีวา เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองทหารและพลเรือนเป็นการกำหนดข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ เพื่อการป้องกันคุ้มครองชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในยามสงคราม หรือขัดกันทางอาวุธ หรือที่เรียกว่า  “กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” (International Humanitarian Law : IHL) ทั้งนี้ถื่อได้ว่าเป็นอนุสัญญาที่ได้รับการให้สัตยาบันมากที่สุดในโลก (191 ประเทศ) รวมทั้งรัสเซียและยูเครนก็ร่วมลงชื่ออยู่ด้วย ส่วนไทยส่วนไทยประกาศเข้าร่วมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 1954 รายชื่อประเทศ ที่สัตยาบันเจนีวาได้ที่นี้ รายชื่อประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา

ภาพทหารในสนามรบ จาก freepik

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ผลการประชุมทางการทูตระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2492 รับรองลงนาม อนุสัญญาเจนีวา 4 ฉบับ ไว้ดังนี้

  • ฉบับที่ 1 คุ้มครองและช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ เจ็บป่วยในสนามรบ
  • ฉบับที่ 2 คุ้มครองและช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ เจ็บป่วยในสงครามทางทะเล
  • ฉบับที่ 3 กำหนดสถานภาพและการปฏิบัติต่อเชลย
  • ฉบับที่ 4 คุ้มครองและช่วยเหลือพลเรือนในเขตพื้นที่ที่มีการขัดแย้งกันทางอาวุธ

ทั้งนี้ในสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่กำลังตึงเครียดอยุ่ในขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างได้มีการละเมิด อนุสัญญาเจนีวา นี้เช่นกัน 

แม้รัสเซียจะเป็นฝ่ายรุกราน และเข้าข่ายอาชญากรรมสงคราม แต่ยูเครนเอง ก็มีส่วนที่โดนท้วงติงถึงการ ปฏิบัติต่อเชลยศึกที่นำตัวออกมาแถลงการณ์ต่อหน้าสื่อมวลชน ซึ่งเป็นการละเมิด อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3 มาตรา 13 ที่ต้องได้รับการปกป้องและคุ้มครองจากสาธารณะและการเผยแพร่ภาพบนโซเชียลมีเดีย เพราะการเปิดเผยหน้าออกสื่ออาจส่งผลกระทบและปัญหาต่อตัวเชลยศึกคนนั้นๆ หรือครอบครัวของพวกเขา เมื่อถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศ 

 

ส่วนรัสเซียที่เป็นฝ่ายรุกรานและขนกองกำลังข้ามพรมแดนเข้าประเทศยูเครนจำนวนมาก ก็ละเมิด อนุสัญญาเจนีวา นี้ไปแล้วหลายข้อ ดังนี้ 

  • ข่าวการโจมตี โรงพยาบาลเด็กและสตรี  ซึ่งขัดกับข้อสัญญาที่ว่ากล่าวว่า โรงพยาบาลต้องไม่ถูกคุกคาม
  • ข่าวการ โจมตีพลเรือน ในขณะที่เคลื่อนย้ายอพยพไปยังประเทศที่ปลอดภัย และทำให้ประชาชนถูกตัดขาดจากไฟฟ้า น้ำ และเครื่องทำความร้อนซึ่งในได้ถูกระบุพิธีสารเพิ่มเติม ( The Additional Protocols) 2 ฉบับ ใน พ.ศ. 2550 ที่เน้นในการปกป้องชีวิต และศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะให้การ คุ้มครองในกลุ่มพลเรือน โดยต้องแยกแยะพลเรือนออกจากผู้ที่ทำการสู้รบ (ทหาร)และห้ามห้ามทำลายสิ่งที่จำเป็นต่อความอยู่รอดของพลเรือน
     

พลเรือนซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในการทำสงครามไว้ว่าจะที่ใดบนโลก ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสงครามที่ตัวเองไม่ได้ก่อ การเคารพและยึดมั่นใน อนุสัญญาเจนีวาของคู่ขัดแย้งนี้ก็ช่วยให้อย่างน้อยเป็นการลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริสุทธ์และยังคงไว้ซึ่งการรักษาศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 

นอกจากที่จะประเทศที่ละเมิด อนุสัญญาเจนีวา ฉบับนี้จะโดนประณามจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกแล้ว ในตัวอนุสัญญาเองก็ได้มีระบุไว้ว่าผู้ที่กระทำการละเมิดกฎอย่างร้ายแรงนี้ จะต้องถูกจับกุม ดำเนินคดี หรือดำเนินตามวิธีส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไม่ว่าผู้ละเมิดนั้นจะเป็นคนสัญชาติใดก็ตาม

ส่วนไทยก็มีการ ออกกฎหมายที่สอดคล้องกับอนุสัญญาเจนีวาได้แก่ พระราชบัญญัติ บังคับการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก พ.ศ. 2498 โดยมีเนื้อหาอันเป็นการช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่เชลยศึก เช่น
ในมาตรา ๑๓ ผู้ใดขู่เข็ญ ดูหมิ่น หรือกระทำให้เชลยศึกได้รับความอัปยศหรืออปมานในตัวตนและเกียรติยศ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

ที่มา
1 2 3 4

related