svasdssvasds

มติศาลโลก สั่ง "รัสเซีย" หยุดปฏิบัติการทางทหารในยูเครนทันที

มติศาลโลก สั่ง "รัสเซีย" หยุดปฏิบัติการทางทหารในยูเครนทันที

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือ ศาลโลก มีมติ 13 ต่อ 2 เสียง สั่งให้รัสเซียหยุดปฏิบัติการทางทหารในยูเครนทันที โดยผู้พิพากษาจากรัสเซียและจีน ลงมติคัดค้าน

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ได้สั่งให้รัสเซียหยุดปฏิบัติการทางทหารในยูเครนทันทีในวันพุธ (14 มี.ค.65) ตามคำตัดสินเบื้องต้นในคดีที่ทางการยูเครนยื่นคำร้อง โดยผู้พิพากษา ในศาลสูงสุดของสหประชาชาติระบุในคำตัดสิน 13-2 เสียง โดยระบุว่า

“สหพันธรัฐรัสเซียจะต้องระงับการปฏิบัติการทางทหาร ที่เริ่มเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 ในดินแดนยูเครนทันที และรัสเซียต้องรับประกันด้วยว่ากองกำลังอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือการสนับสนุนจากมอสโก จะไม่ปฏิบัติการทางทหารต่อไป” 

ทั้งนี้ ยูเครนยื่นคำฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่นาน หลังจากการรุกรานของรัสเซีย ที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.พ. โดยระบุว่า ข้ออ้างของรัสเซียว่าเป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยูเครนตะวันออกนั้นไม่มีมูล

ในการพิจารณาคดี ยูเครนกล่าวว่าไม่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยูเครนตะวันออก และอนุสัญญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 1948 ของสหประชาชาติ ซึ่งทั้งสองประเทศได้ลงนาม ไม่อนุญาตให้มีการบุกรุกประเทศอื่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน อธิบายว่าการบุกรุกดังกล่าวเป็น "ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ" ที่จำเป็น "เพื่อปกป้องผู้ที่ถูกทรมานและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ซึ่งหมายถึงผู้ที่ใช้ภาษารัสเซียในยูเครนตะวันออก รัสเซียกล่าวว่าพวกเขาไม่สนใจการพิจารณาของศาลโลกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม "เนื่องจากความไร้สาระที่ชัดเจนของคดีความ"

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมอสโกได้ยื่นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลโดยระบุว่า ICJ ไม่ควรกำหนดมาตรการใดๆ ในกรณีนี้

ทั้งนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ) เป็น องค์กรระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีองค์กรหนึ่งของโลกที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) และเป็นที่รู้จักและกล่าวถึงกันในนามของ “ศาลโลก”ที่มีบทบาทสำคัญในการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศเพื่อการขจัดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมระหว่างประเทศให้ยุติลง ตลอดจนให้ความเห็นแนะนำแก่องค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ภายใต้บ่อเกิดแห่งกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง มีชาติต่างๆให้สัตยาบันรับรอง 123 ประเทศ แม้ว่าคำตัดสินของศาลจะมีผลผูกพัน แต่ก็ไม่มีวิธีการบังคับใช้คำตัดสินโดยตรง และในบางกรณีที่หลายประเทศก็เพิกเฉยต่อคำตัดสินดังกล่าว

related