svasdssvasds

ผู้เชี่ยวชาญกังวล มลพิษพลาสติกอาจทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่มีบุตรยาก

ผู้เชี่ยวชาญกังวล มลพิษพลาสติกอาจทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่มีบุตรยาก

มลพิษจากพลาสติก ภัยเงียบร้ายแรงที่เรามองไม่เห็น กำลังทำนักวิทย์ห่วง หลังจากพบสารก่อกวนต่อมไร้ท่อจำนวนมากในพลาสติก ซึ่งส่งผลต่อมนุษย์ส่วนใหญ่ ที่อาจทำให้เราลูกยากขึ้น

นับตั้งแต่ต้นปี 2020 หลังจากมนุษยชาติได้เผชิญกับภัยพิบัติทั่วโลก ทุกคนต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับการอยู่รอดเขาเราในฐานะสปีชีส์หนึ่งบนโลก COVID-19 ได้คร่าชีวิตผู้คนไปหลายลานคนและก็ยังอาละวาดอย่างไม่มีจุดสิ้นสุด

การรุกรานยูเครนของรัสเซียทำให้เกิดหายนะทางนิวเคลียร์ที่เราเคยเชื่อว่ามันสงบลงไปแล้วหลังสงครามเย็น ปัญหาเหล่านี้เลวร้ายลง การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศก็กำลังคืบคลานอยู่เบื้องหลังอย่างเงียบๆซึ่งจะทำให้โลกของคนรุ่นต่อไปร้อนมากกว่าเดิม อีกทั้งมนุษย์เราเติมเต็มสิ่งแวดล้อมด้วยสารเคมีมากเกินไปในปัจจุบัน มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงร่างกายของเราไปตลอดกาล

เกิดอะไรขึ้น?

เมื่อไม่นานมานี้ เว็บไซต์ Salon ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องผลกระทบของพลาสติกที่อาจมีส่วนทำให้มนุษย์มีบุตรยาก และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสิ่งนี้ไม่เพียงเป็นไปได้ แต่ยังมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเราด้วย

ผู้ที่บุกเบิกเรื่องนี้คือ  Dr.Shanna Swan ศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขประจำ Mount Sinai School of Medicine ในนิวยอร์กซิตี้ เขาเป็นเจ้าของหนังสือที่มีชื่อสียงเล่มหนึ่งชื่อ Count Down How Our Modern World Is การคุกคามจำนวนอสุจิ การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง และการทำลายอนาคตของเผ่าพันธุ์มนุษย์

เนื้อหากล่าว่าอย่างไร?

มี 3 สถิติที่ถูกคาดการณ์และสังเกตตามหลักวิทยาศาสตร์และข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาทั้งหมด 3 ประการด้วยกันดังนี้

อันดับแรก - ผู้ชายที่มีอสุจิน้อยกว่า 15 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรถือว่ามีบุตรยาก

ประการที่สอง - ในปี 1970 จำนวนอสุจิในประเทศตะวันตก มีค่าเฉลี่ย 99 ล้านตัวอสุจิต่อมิลลิลิตร

ประการที่สาม - จำนวนนี้ลดลงเหลือ 47 ล้านสเปิร์มต่อมิลลิลิตรภายในปี 2011 นักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่า มลพิษจากพลาสติกมีแนวโน้มว่าจะเป็นต้นเหตุ

พบได้ในไหน?

เชื่อกันว่าผู้ร้ายหลักคือสารเคมีในพลาสติกในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า ‘สารก่อกวนต่อมไร้ท่อ’ สารเคมีเหล่านี้ รวมทั้ง phthalates และ bisphenols หลายชนิดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแท้จริง สามารถพบได้ในจานชาม กระป๋องอาหาร ในขวดน้ำและในภาชนะอื่นๆที่คุณใช้ดื่ม

หรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในครัวเรือนทั่วไป เช่น เลนส์แว่นตา เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้แต่ใบเสร็จรับเงินที่มาจากเครื่องพิมพ์เทอร์มอล เนื่องจากสารก่อกวนต่อมไร้ท่ออยู่ในสารกำจัดศัตรูพืช พวกมันจึงเข้าสู่อาหารที่เรากินด้วยอุตสาหกรรมเกษตร แม้ว่าจะไม่มียาฆ่าแมลง แต่เราก็ยังคงกินสารก่อกวนต่อมไร้ท่อเหล่านี้ทุกวัน

ไมโครพลาสติก กล่าวคือ อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดกว้างหรือยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ปกคลุมโลกทั้งใบสัตว์บังเอิญกินไมโครพลาสติกตลอดเวลาและพืชดูดซับพวกมันผ่านรากเป็นประจำ มนุษย์เองก็กลืนกินพลาสติกที่มีมูลค่าเทียบเท่าบัตรเครดิตในแต่ละสัปดาห์

สารก่อกวนต่อมไร้ท่อมีอยู่ทุกที หือจะมองว่า ไมโครพลาสติกมีอยู่ทุกที่ก็ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จะเป็นอย่างไรต่อไป?

อย่างไรก็ตาม มีพลาสติกอยู่มากมายในทุกที่ที่มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลที่ตามมาจากการได้สัมผัสอย่างต่อเนื่องนี้ได้ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง ซึ่งปัจจุบันมีให้ในประเทศเดียวคือ อิสราเอล จะช่วยให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะนี้ยังสามารถมีบุตรได้ แต่อย่าลืมว่า สังคมบนโลกนี้มีผู้ด้อยโอกาส

Bjorn Beeler ผู้ประสานงานระหว่างประเทศที่ IPEN – International Pollutants Elimination Network บอกกับ Salon ทางอีเมลว่า “ชุมชนที่ด้อยโอกาสมีโอกาสได้รับสารเคมีที่มีความเสี่ยงสูง และพวกเขาก็ได้รับผลกระทบมากขึ้น (โดยเฉลี่ย) จากการสัมผัสในระดับเดียวกัน”

โลกใบนี้ยังคงมีสังคมผู้ด้อยโอกาสอยู่เสมอ ทำอย่างไรพวกเขาถึงจะมีสุขภาพที่ดีเท่าเทียมกับคนทั่วไปได้ John Hocevar ผู้อำนวยการรณรงค์ด้านมหาสมุทรของ Greenpeace USA อธิบายกับ Salon ทางอีเมลว่า

"การลดจำนวนอสุจิและโรคของระบบสืบพันธุ์อื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างไม่เป็นสัดส่วนต่อชุมชนที่มีรายได้น้อยและผู้ที่มีผิวสี ชุมชนที่ยากจนมักจะอยู่ใกล้เตาเผาขยะและหลุมฝังกลบมากที่สุด เนื่องจาก การเข้าถึงการรักษาที่มีราคาแพงเพื่อชดเชยปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์นั้นไม่ยุติธรรมในทุกวันนี้ และถึงแม้จะมองในแง่ดีเกี่ยวกับภูมิทัศน์ทางการเมืองของสหรัฐฯ ก็ชัดเจนว่าปัญหานี้จะไม่หมดไปในเร็วๆ นี้"

“สารเคมีในพลาสติก (พทาเลต(phthalates) บิสฟีนอล(bisphenols) และอื่นๆ) รวมถึงยาฆ่าแมลง ตะกั่วและความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เชื่อมโยงกับการสืบพันธุ์ที่บกพร่อง รวมถึงจำนวนอสุจิและคุณภาพ บางชนิดเช่น phthalates และ BPA มีช่วงชีวิตสั้นในร่างกาย (4-6 ชั่วโมง) ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะลดการสัมผัสของร่างกายถ้าเราสามารถหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสิ่งเหล่านี้” ในขณะเดียวกัน สังคมจะต้องใช้เจตจำนงร่วมกัน และทำให้แน่ใจว่าผู้ที่อ่อนแอที่สุดในหมู่พวกเราจะไม่ถูกทอดทิ้ง

“ชุมชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถ ‘ซื้อทางแก้ปัญหาด้วยการซื้ออาหารออร์แกนิก อาหารไม่แปรรูป เครื่องสำอางที่ปลอดภัยกว่า ฯลฯ (ซึ่งมีราคาแพงกว่า)’ แต่ภาวะมีบุตรยากจำนวนมากเป็นภัยคุกคามต่อทุกคน (ไม่ใช่แค่ผู้ด้อยโอกาส)”

สรุปจากผู้เขียน

พลาสติกในปัจจุบันนี้มีส่วนผสมของสารอันตรายอย่างสารก่อกวนต่อมไร้ท่อบางชนิด อย่าง phthalates และ bisphenols  ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อร่างกายมนุษย์ทำให้มีบุตรยาก พบได้ใน จานชาม กระป๋องอาหาร ในขวดน้ำและในภาชนะอื่นๆที่คุณใช้ดื่ม หรือแม้แต่กระทั่งอาหารที่รับประทานกันอยู่ทุกวัน ใบเสร็จรับเงินที่หยิบยื่นให้กัน เป็นต้น

กิจกรรมเหล่านี้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้ว่าพอจะมีตัวช่วยเหลือวิธีการแก้ไขที่ปลายเหตุอย่างการหันไปทานอาหารออร์แกนิก ใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัยกว่า แต่อย่าลืมว่าสังคมของเรามีผู้ด้อยโอกาสอยู่ด้วย คนบางกลุ่มอยู่ใกล้กับสารอันตรายเหล่านี้มากกว่าเท่าตัว และไม่สามารหลีกเลี่ยงได้ หรือหากมองข้ามกลุ่มตัวอย่างไป มนุษย์ทั่วไปทุกระดับก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารปนเปื้อนเหล่านี้ได้อยู่ดี

สารก่อกวนต่อมไร้ท่อนั้นมีอยู่ทุกที่ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุนั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ไม่ยั่งยืนนัก สิ่งที่แก้ต้นเหตุคือการงดการใช้พลาสติกให้ได้มากที่สุดและมองไปยังกระบวนการผลิตขั้นต้นว่าทำอย่างไรจึงจะลดสารอันตรายเหล่านี้ได้ รัฐและผู้เชี่ยวชาญต้องร่วมมือกันสร้างกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยมากกว่าเดิม เพื่อให้มั่นใจว่าสารดังกล่าวจะไม่หลุดรอดออกมาสู่ประชาชน

ที่มาข้อมูล

https://www.salon.com/2022/03/27/plastic-pollution-could-make-much-of-humanity-infertile-experts-fear/

related