svasdssvasds

ดราม่าดูดสี ไม่ว่าคุณจะผสมสียังไงในคอม ก็ไม่มีลิขสิทธิ์

ดราม่าดูดสี ไม่ว่าคุณจะผสมสียังไงในคอม ก็ไม่มีลิขสิทธิ์

ชาวเน็ตฯ งง ดราม่าหลังมีคนเคลมว่าสีที่ผสมเองในคอม ห้ามใช้ หลังเชื่อว่าสีที่ตัวเองผสมสวยจนมีคนดูดไปใช้ ทั้งสีและคู่สีที่ผสม ด้าน SPRiNG ตรวจสอบ พบในไทย ผสมในคอมยังไงก็ไม่มีลิขสิทธิ์ ยกเว้นเขียนโค้ดขึ้นมาเอง

กลายเป็นเรื่องราวดราม่าเมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นเพจวาดการ์ตูน โพสต์ระบุว่า สีที่เขาผสมในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมทำกราฟิกเป็นสีที่เขาผสมขึ้นมาเอง โดยอ้างว่า เขาใช้เวลาในการปรับสีให้เป็นไปตามที่ต้องการ 

ภายในโพสต์ดังกล่าวมีสีจำนวน 4 สี ที่เจ้าของโพสต์อ้างว่าทำการปรับ-ผสมสีเอง และใช้เวลาในการผสมนาน

ขณะเดียวกัน ยังระบุด้วยว่า ห้ามนำสีที่อยู่ในโพสต์นั้นไปใช้ ทั้งการดูดไปใช้เพียงสีเดียวหรือเอาไปใช้เป็นคู่กัน

ดราม่าดูดสี ไม่ว่าคุณจะผสมสียังไงในคอม ก็ไม่มีลิขสิทธิ์

เรื่องสี ๆ ที่มีรายละเอียดย่อย ๆ

ปกติแล้วในการออกแบบ นักออกแบบจะกำหนดสีต่าง ๆ และเลือกใช้สีต่าง ๆ ในการออกแบบและออกมาเป็น อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) หรือที่เรียกกันว่า CI โดยสีนั้น ๆ ก็จะถูกเลือกจากระบบสีพื้นฐานอย่าง แดง (Red) เขียว (Green) และ น้ำเงิน (Blue) ซึ่งเป็นสีที่ใช้ในการแสดงผลของจอคอมพิวเตอร์ ที่เราเรียกว่า RGB หรือ ระบบสีพื้นฐานในการพิมพ์อย่าง CMYK ย่อมาจาก ฟ้า (Cyan) แดงอมม่วง (Magenta) เหลือง (Yellow) และดำ (Key)

ซึ่งการที่จะได้สีต่าง ๆ มาก็ต้องอาศัยการปรับเลือกสีให้ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งวิธีการทำในคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะเป็นการปรับแกนสี RGB ให้ได้ตามที่เราต้องการ เช่น ใส่สีแดงลงไป 255 หน่วย สีเขียว 230 และใส่สีนำเงินไป 0 หน่วย ก็จะได้สีเหลืองของโลโก้  SPRiNG  และมีรหัส HEX คือ #ffe600

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ปกติแล้วสีต่าง ๆ ที่ถูกนำมาผสมในคอมพิวเตอร์ โปรแกรมกราฟิกส่วนใหญ่จะถูกแสดงผลเป็นรหัส Hex ด้วย ซึ่งเป็นวิธีการแสดงสีจากแบบจำลองสีต่าง ๆ ผ่านค่าเลขฐานสิบหก โดยจำนวนสีที่ระบบ Hex สามารถจำแนกได้คือราว 16.7 ล้านสี เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งานต่อและเพื่อให้เป็นสีเดิมทุกครั้งในการใช่งาน เพราะบางครั้งจอแสดงผลของแต่ละคนก็แสดงสีออกมาได้ไม่เหมือนกัน เช่น จอของโทรศัพท์แอนดรอย์ และ iPhone

แล้วสีมีลิขสิทธิ์ไหม ?

เราต้องแบ่งเป็น 2 ประเภทก่อน คือสีที่จับต้องได้ เช่นสีพิมพ์ กับ สีที่จับต้องไม่ได้คือสีในคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากสีที่จับต้องได้ อย่างหมึกพิมพ์ หมึกย้อมผ้า ในต่างประเทศบริษัทผู้ผลิตก็จะเก็บขั้นตอนและวัตถุดิบในการทำเป็นความลับเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทางการค้า

หากมีการคิดค้นวัตถุดิบและสีพิมพ์ที่ไม่เคยมีในท้องตลาดมาก่อนก็มีสิทธิ์ที่จะจดลิขสิทธิ์ได้ในต่างประเทศ

ขณะที่สีที่จับต้องไม่ได้อย่างสีที่เราผสมขึ้นมาในคอม หากมีพื้นฐานจาก RGB ข้างต้นและอยู่ใน 16.7 ล้านสีที่ Hex สามารถระบุได้ นั่นก็หมายความว่าสีเหล่านั้นไม่ได้มีลิขสิทธิ์เลย เพราะถือว่าไม่ใด้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการผลิตสีนั้นขึ้น

SPRiNG สอบถามไปยัง สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา 1368 ให้ความเห็นไว้ว่า ในกรณีนี้สีจะมีลิขสิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อ เราสร้างรหัสสีขึ้นมาใหม่ด้วยการเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา สร้างวิธีการผสมสีใหม่ที่มากกว่า RGB หรือ CMYK แล้วเกิดเป็นสีที่พิเศษและสามารถพิสูจน์ได้ก็จะนับเป็นลิขสิทธิ์ 

แต่สำหรับประเทศไทยกฎหมายยังไม่ครอบคลุมถึงจุดที่คุ้มครองสี RGB ที่ผสมมาในคอมพิวเตอร์และยังไม่เคยมีกรณีการจดลิขสิทธิ์สีแบบที่เป็นดราม่าบนโลกออนไลน์

related