svasdssvasds

กรมควบคุมฯ เปิดยอดโควิด-19 ตรวจด้วย ATK พุ่งเฉียด 1.5 แสนราย

กรมควบคุมฯ เปิดยอดโควิด-19 ตรวจด้วย ATK พุ่งเฉียด 1.5 แสนราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเปิดยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ในช่วง 7 วัน (3-9 ก.ค. 65) ยอดเฉียด 1.5 แสนราย สะสมแล้วกว่า 6.3 ล้านราย

นพ.จักรรัฐ วงศ์พิทยาอานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย พบว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (3-9 ก.ค.) พบยอดผู้ป่วยโควิด-19 พุ่งกว่า 149,537 ราย โดยเป็นยอดผู้ป่วยที่ตรวจโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK ซึ่งไม่ได้ถูกรายงานในยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่รายงานยอดไป 1,881 ราย เนื่องจากไม่ได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 พุ่งเฉียด 1.5 แสนราย

นอกจากนี้ ยังระบุถึงสถานการณ์โควิด-19 รอบโลกในช่วง 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าในหลายประเทศมีการติดเชื้อโควิด-19 ในลักษณะการระบาดเป็นกลุ่มเล็กเพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกจัดระดับเตือนภัยโควิด-19 ให้อยู่ที่ระดับ 2 โดยเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วยอาการหนักที่จำเป็นต้องใส่ท่อเพื่อช่วยหายใจและภาวะปอดอักเสบซึ่งเป็นตัวเลขที่ไทยจะมีการเฝ้าระวัง หลังจากผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการเปิดประเทศ

พบว่า ประเทศไทยมีอัตราผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้น และข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขณะนี้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ส่วนกันเฝ้าระวังในผู้ป่วยเสียชีวิตจากโควิด-19 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา 132 ราย ในจำนวนนี้ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว 128 ราย คิดเป็น 97% และพบอีกว่า ในช่วงที่พบการระบาดของสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 มีโอกาสสูงที่อดีตผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.1 รวมถึง BA.2 สามารถกลับไปติดเชื้อซ้ำได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันอาจจะยังไม่เพียงพอ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นยังคงมีความจำเป็น โดยต้องนับห่างกันเป็นเวลา 4 เดือน หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้าย หากครบกำหนดระยะเวลา สามารถไปรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นต่อได้

ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภาวะปอดอักเสบกำลังรักษาในโรงพยาบาลข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 10 ก.ค. 2565 มีอัตราครองเตียงอยู่ที่ระดับ 2-3 พบว่า จังหวัดนนทบุรีมีการครองเตียงสูงสุด อยู่ที่ 42.6% รองลงมาได้แก่ กรุงเทพฯ พบการครองเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 38.2% ตามด้วยจังหวัดชัยภูมิ อัตราครองเตียง 30.50% และสมุทรปราการ 29.8% รวมถึงจังหวัดปทุมธานีมีอัตราครองเตียงที่ 29.30%

ในช่วงวันหยุดยาวและช่วงหลังหยุดยาวนี้ คาดว่าจะพบการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากใน กทม. ก่อน และจึงค่อยพบในภูมิภาคอื่น ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำประชาชนที่จะไปเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ ขอให้ระมัดระวังตัว หลีกเลี่ยงการไปสถานบันเทิง ซึ่งตามคาดการณ์ ฉากทัศน์ ของกรมควบคุมโรค จะพบผู้ป่วยสูงสุดในสัปดาห์ที่ 33

ส่วนการคาดสถานการณ์โควิด-19 รายใหม่ที่รักษาในโรงพยาบาลรายสัปดาห์ หรือแบบฉากทัศน์ หากทุกคนยังช่วยกันป้องกันมาตรการส่วนบุคคลและมีการเว้นระยะห่างตามสถานที่ที่มีการจัดกิจกรรม กลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์การแพร่ระบาดอาจจะลดลง แต่หากลดหย่อนมาตรการ อาจทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อในสถานพยาบาล เพิ่มอยู่ที่ 4,000 คน/วัน ทำให้ภาพรวม พบผู้ติดเชื้อ เป็น 28,000 ราย/สัปดาห์

ทั้งนี้ หากพบว่าจำนวนผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจมากกว่า 400 ราย/วัน อาจจะทำให้ต้องมีมาตรการบางอย่างเพิ่มขึ้น รวมถึงหากพบจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เกินกว่า 40 ราย/วัน อาจต้องมีการปรับมาตรการเช่นเดียวกัน

สำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น พบว่า ในจำนวนผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังเข้ารับการฉีดน้อยลง โดยภาพรวม อยู่ที่ 43% ซึ่งถือว่ายังไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ อยู่ที่ 60% โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 ไปแล้ว 47.5% หรือ 6,030,107โดส

โดยพบว่า จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เกินกว่า 60% อัตราการเสียชีวิตจะไม่มาก

related