svasdssvasds

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่เกิดการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137" สู่สิ่งแวดล้อม ไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยรอบและบริเวณใกล้เคียง 

 ตามที่ สํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี ได้รับแจ้งจากกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย โดยการประสานจากสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ ว่าเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. พบว่ามี วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 (Cesium-137, Cs-137) มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกมีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นใน และห่อหุ้มด้วยเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ความยาว 8 นิ้ว น้ําหนัก 25 กิโลกรัม และมีป้ายติดรายละเอียด แสดงข้อมูลของวัสดุกัมมันตรังสี และมีสัญลักษณ์ทางรังสีขนาดเล็กติดอยู่ ของบริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จํากัด สูญหายไปจากที่ติดตั้ง โดยวัสดุกัมมันตรังสีผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ 28 ปี (ติดตั้งใช้งานในปี 2534) นั้น 

จังหวัดปราจีนบุรี ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แก้ไขปัญหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 (Cesium -137, Cs-137 ) สูญหาย ขึ้นเพื่อบูรณาการและประสานการปฏิบัติ 

1. การค้นหา 

ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี สํานักงานป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดปราจีนบุรี อําเภอศรีมหาโพธิ อําเภอกบินทร์บุรี เข้าทําการตรวจวัดรังสี ออกปฏิบัติงานทันที่ โดยการ สนับสนุนของสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ ด้วยการนํารถห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์ประกอบด้วย

1. เครื่องวิเคราะห์ไอโซโทปรังสีแบบบอกทิศทางใช้เพื่อสํารวจปริมาณรังสีและวิเคราะห์ไอโซโทปรังสี รวมถึงบอก ทิศทางของรังสีที่มากระทบกับเครื่องมือวัด

2. อากาศยานไร้คนขับพร้อมเครื่องวิเคราะห์ไอโซโทปรังสีสํารวจ ปริมาณรังสีในพื้นที่ขนาดใหญ่พร้อมวิเคราะห์ไปโซโทปรังสีในพื้นที่เกิดเหตุ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เตือน! ถ้า "ซีเซียม-137" ถูกหลอมรวมเศษเหล็กในโรงหลอม ผลกระทบร้ายกว่าที่คิด

• เจอแล้ว! ซีเซียม-137 ที่โรงหลอมเหล็ก เตรียมหลอมช่วงเย็น หวิดเกิดโศกนาฏกรรม

• ทำความรู้จัก ซีเซียม 137 คืออะไร ? อ.เจษฎา เตือน ห้ามจับ-เข้าใกล้เด็ดขาด

3. เครื่องสํารวจปริมาณรังสีใช้สํารวจ ปริมาณรังสีในพื้นท่ีเกิดเหตุ ในสถานที่เสี่ยง ได้แก่ 

1. บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จํากัด เช่น การค้นหาภายในโรงงาน พื้นที่ข้างเคียงรอบ โรงงาน ร้านค้าของเก่า/โรงหลอม แหล่งจําหน่ายเศษวัสดุประจําของโรงงาน รัศมีรอบโรงงาน ร้าน/บริษัทรับซื้อของ เก่า โรงงานหลอมเหล็ก ในพื้นที่ 

2. ให้กองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี ตรวจเช็คข้อมูลกล้องวงจรปิด (CCTV) ในรัศมี รอบ เขตอุตสาหกรรมทุกตัว บริเวณจุดที่สําคัญ เช่น สี่แยก ตรวจรถเข้า-ออก บริเวณโรงงาน บ้านพักคนงาน โดยรอบ โรงงาน ประสานหาข้อมูลจากคนรับซื้อของเก่า และกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูล เบาะแสในการค้นหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 

3. ขอความร่วมมือการเผยแพร่ข่าวสารทุกช่องทาง โดยเฉพาะการจัดทําภาพอินโพกราฟฟิก และจัดทํา ประกาศเป็นเสียงบันทึกลงแผ่น CD แจกจ่ายให้ อําเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําชุมชน นําไปปิดป้ายประกาศ และประกาศเสียตามสาย ทางหอกระจายข่าประจําหมู่บ้าน รวมทั้งจัดแถลงข่าว รวมตลอดถึง ขอความร่วมจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครนายก นครราชสีมา สระแก้ว และฉะเชิงเทรา เพื่อเผยแพร่ข่าวสารให้ถึง ประชาชนมากท่ีสุด รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อแจ้งเหตุ ท่ีจําง่ายที่สุด เช่น 1784 1296 191 

4.ประชุมผู้เก่ียวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและ สถานประกอบการ(บริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จํากัด) เพื่อมอบหมายภารกิจและติดตามผลการดําเนินงานทุกวันต้ังวันท่ี 13 – 18 มีนาคม 2566 เวลา 15.00 น. ณ สํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี 

2. ด้านสาธารณสุขและการแพทย์

1. เตรียมความพร้อม ด้านการรักษาพยาบาล ได้แก่ ยา เวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด 

2. ติดตาม เฝ้าระวัง สังเกต ซักถามประวัติ /อาการ เมื่อมีคนไข้ มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการได้รับ ผลกระทบจากสารเคมี เข้ามาทําการรักษา 

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติยัน ไม่มี \"ซีเซียม-137\" แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม

ท่ีมา : นพ.ไพโรจน์ เครือกาญจนา รพ.ราชวิถี 

3. ประชาสัมพันธ์ 

1. มอบสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี อําเภอทุกอําเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกประกาศเพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนรับทราบแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในทุกรูปแบบ 

2. มอบสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี รายงานและเผยแพร่ผลการ ปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการ (กองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี สํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดปราจีนบุรี สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี อําเภอศรีมหาโพธิ และสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ) ทั้งผลงานที่ผ่านและแผนการดําเนินงานในวันถัดไป ทุกวัน 

4.การตรวจพบ 

4.1 สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจวัดรังสี ในอุตสาหกรรมโรงหลอมโลหะจาก เศษเหล็กที่เลิกใช้แล้ว ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี จํานวน 5 แห่ง 

1. วันที่ 17 มีนาคม 2566 

เวลา 14.30 น. -16.00 น. ได้แก่ บริษัท หยงซิง สตีล (ไทยแลนด์) จํากัด 139 หมู่ที่ 13 ตําบล หัวหว้า อําเภอศรีมหาโพธิ 

2. วันที่ 19 มีนาคม 2566 ตั้งแต่ 9.30 น – 18.30 น. ได้แก่

2.1 บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี จํากัด (มหาชน) เลขที่518/1 หมู่ที่ 9 ต.หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี

2.2 บริษัท เค ที พี สตีล จํากัด เลขที่ 111 หมู่ที่ 6 ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี

2.3 บริษัท ที เอส บี เหล็กกล้า จํากัด เลขที่ 502 หมู่ที่ 9 ต.หนองโพรง อ.ศรีมหาโพธิ

2.4 บริษัท สิงห์ไทย สตีล จํากัด เลขที่ 122 หมู่ที่ 11 ต.หัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ 

4.2 ปส.ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ไอโซโทปรังสี ในการตรวจสอบ เพื่อใช้สํารวจปริมาณรังสีและวิเคราะห์ชนิด ของสารกัมมันตรังสีจากวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นสารกัมมันตรังสีหรือวัตถุที่อาจมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 หรือไม่ 

4.3 ผลการตรวจสอบพบว่ามีโรงงานแห่งหนึ่ง มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นโลหะที่ ได้จากผลิตโลหะ 

4.4 ผู้เชี่ยวชาญของ ปส. ได้ทําการควบคุมและตรวจสอบพื้นที่โรงงานโดยรอบ พบว่าโลหะที่ได้จาก กระบวนการผลิตไม่พบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 

4.5 เมื่อตรวจวัดปริมาณรังสีโดยรอบพื้นที่บริเวณโรงงานพบว่า ระดับปริมาณรังสีอยู่ในระดับปกติตาม ปริมาณรังสีในธรรมชาติ นอกจากนี้ได้มีการตรวจสอบคุณภาพอากาศ น้ํา บริเวณโดยรอบโรงงานพบว่า ระดับรังสี อยู่ในระดับปกติตามปริมาณรังสีในธรรมชาติ ไม่มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อม 

4.6 การปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นแดง เกิดขึ้นจากโรงงานหลอมโลหะรีไซเคิล ที่รับ ซื้อเศษโลหะมือสองที่มีการปะปนของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เข้าไปในกระบวนการหลอมโลหะ และเมื่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เข้าไปในกระบวนการหลอม ซีเซียม-137 จะถูกหลอมและระเหยกลายเป็นไอกระจายอยู่ ในเตาหลอม ซึ่งจะมีระบบการกรองของเสียจากกระบวนการผลิตและเป็นการทํางานในระบบปิดทั้งหมด ทําให้ ซีเซียม 137 จะปนเปื้อนไปอยู่ในฝุ่นโลหะที่ได้จากกระบวนการหลอม ซึ่งฝุ่นปนเปื้อนเหล่านี้จะมีระบบกรองเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม และถูกจัดเก็บ ควบคุมอยู่ในระบบปิดทั้งหมด ดังนั้นฝุ่นโลหะ ปนเปื้อนได้ถูกระงับการเคลื่อนย้ายและจํากัดไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงงาน 

4.7 ปส. ได้ดําเนินการตรวจวัดการเปรอะเปื้อนทางรังสีนอกร่างกายของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดภายในโรงงาน ผลการตรวจสอบไม่พบการเปรอะเปื้อนทางรังสีของผู้ปฏิบัติงานแต่อย่างใด 

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติยัน ไม่มี \"ซีเซียม-137\" แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม

4.8 สามารถสรุปได้ว่าฝุ่นโลหะปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 มีการปนเปื้อนในบริเวณที่จํากัด และ ถูกควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญของสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ และเหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่เกิดการแพร่กระจายของสาร กัมมันตรังสีซีเซียม-137 สู่สิ่งแวดล้อม ไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยรอบและบริเวณ ใกล้เคียง 

4.9 ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกและสถานการณ์ทั้งหมดได้ถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แล้ว 

 ทั้งนี้ระหว่างการแถลงข่าว สื่อมวลชนจากหลายสำนัก รวมทั้งภาคเอกชนในพื้นที่ ได้พยายามถามว่าวัตถุที่หายไปนั้นถูกทำลาย ถูกหลอมละลายไปแล้วหรือไม่

ซึ่งทั้งเลขาธิการและเจ้าหน้าที่ ปส. รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ยืนยันว่าไม่มีการแพร่กระจายของซีเซียม-137 ออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้จะเรียกว่าฝุ่นแดง หรือฝุ่นเหล็ก ก็อยู่ภายในระบบปิด ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้ย้ำว่าตนเองก็อยู่ในบริเวณโรงงานที่พบ เครื่องมือก็ตรวจไม่พบ 

 ส่วนฝุ่นแดงที่ปนเปื้อนซีเซียม-137 นั้นมาจากอุปกรณ์ที่หายไปหรือไม่ หรืออุปกรณ์นั้นมาถึงโรงงานแห่งนี้ได้อย่างไร รวมทั้งบางโรงหลอมเหล็กที่ไม่มีระบบตรวจจับ ถือเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ต้องดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขต่อไป

related