svasdssvasds

เตือน! ถ้า "ซีเซียม-137" ถูกหลอมรวมเศษเหล็กในโรงหลอม ผลกระทบร้ายกว่าที่คิด

เตือน! ถ้า "ซีเซียม-137" ถูกหลอมรวมเศษเหล็กในโรงหลอม ผลกระทบร้ายกว่าที่คิด

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมเตือน ถ้าแท่งโลหะที่บรรจุซีเซียม-137 ถูกหลอมรวมกับเศษเหล็กในโรงงานหลอม จะเกิดผลกระทบที่อันตรายต่อประชาชนและระบบนิเวศ

 จากกรณีที่ สารซีเซียม-137 หายไปจากโรงงานผลิตไฟฟ้าไอน้ำจากโรงงานแห่งหนึ่งใน จ.ปราจีนบุรี ซึ่งสารนี้ใช้กับเครื่องเลเซอร์ เพื่อใช้จับฝุ่นขี้เถ้าในโรงงานผลิตไฟฟ้าไอน้ำ หายไปตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา 

 ล่าสุดการตรวจสอบโรงหลอม ต.หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี ซึ่งเป็นโรงงานหลอมเหล็กที่ใหญ่ที่สุด มีเตาหลอมจำนวน 8 เตา ในแต่ละวัน จะมีรถบรรทุกเศษเหล็กและเหล็กที่หลอมแล้ว เข้า-ออกเป็นจำนวนมาก คาดว่าอาจจะเป็นจุดที่สารกัมมันตรังสี "ซีเซียม 137" ถูกขายเป็นของเก่า อาจปนมากับเหล็กที่จะเข้ามาได้ จึงได้ใช้เครื่องมือของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เข้าตรวจวัดสแกนหารังสีตามกองเศษเหล็ก รวมทั้งเหล็กที่ถูกบีบอัดที่จะเข้าเตาหลอม

 จากประเด็นที่เกิดขึ้นนี้ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Sonthi Kotchawat ระบุว่า 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เจอแล้ว! ซีเซียม-137 ที่โรงหลอมเหล็ก เตรียมหลอมช่วงเย็น หวิดเกิดโศกนาฏกรรม

• คืบหน้า "ซีเซียม-137" หายจากโรงไฟฟ้า ยกระดับการค้นหา หวั่นผลกระทบประชาชน

• ทำความรู้จัก ซีเซียม 137 คืออะไร ? อ.เจษฎา เตือน ห้ามจับ-เข้าใกล้เด็ดขาด

ถ้าแท่งโลหะที่บรรจุ Cs137 (ซีเซียม 137) ถูกหลอมรวมกับเศษเหล็กในโรงงานหลอมเหล็กแล้ว ผลกระทบที่ตามมาคือ

1. ฝุ่นขนาดเล็กของ Cs137 ที่ปล่อยออกมาจากปลายปล่องจะกระจายสู่บรรยากาศและตกลงสู่แหล่งน้ำ ดินที่อยู่รอบๆโรงงานและเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่วงจรอาหารได้แก่ ผัก ผลไม้ อา หารจากแหล่งน้ำใกล้เคียงและอาหารแปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร เป็นต้นรวมทั้งอาจมีบางส่วนที่ประชาชนหายใจเข้าไปด้วย...

 สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะและบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ,ตับ,ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมคือเป็นมะเร็งนั่นเอง

2. หากโรงงานหลอมเหล็กมีอุปกรณ์ควบคุมมล พิษทางอากาศ เช่น Baghouse Filter โดยจะทำการกรองฝุ่นเหล็กขนาดเล็กที่ปนเปื้อนสาร Cs137หรือที่เรียกว่าฝุ่นแดงไว้ในถุงกรองในปริมาณมากซึ่งโรงงานหลอมเหล็กจะขายฝุ่นแดงดังกล่าวให้กับโรงงานประเภท106 นำไป Recycleเพื่อสกัดเอาธาตุสังกะสีไปใช้ ซึ่งจะทำให้สารCs137แพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้นและเกิดอันตรายต่อประชาชนและระบบนิเวศ

เตือน! ถ้า \"ซีเซียม-137\" ถูกหลอมรวมเศษเหล็กในโรงหลอม ผลกระทบร้ายกว่าที่คิด

3. เมื่อเข้าเตาหลอมแล้วส่วนหนึ่งจะกลายเป็นขี้เถ้าหนัก (Bottom ash)โดยจะมีอนุภาคของ สาร Cs137 ปนเปื้อนในเถ้าหนักด้วย หากโรง งานนำไปฝังกลบใต้ดินก็อาจปนเปื้อนน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารและน้ำต่อไป

4. เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย (PPE) เพื่อป้องกันการได้รับรังสีและทำการตรวจการปนเปื้อนของสาร Cs137 ภายในโรงงานทุกบริเวณ เช่น เถ้าหนัก ฝุ่นแดง กองเหล็ก เตาหลอม ดินและแหล่งน้ำและฝุ่นละอองในโรงงาน เป็นต้น รวมทั้งต้องตรวจหารังสีปนเปื้อนที่ตัวพนักงานทุกคนด้วย

ที่มา : Sonthi Kotchawat

related