svasdssvasds

เปิดขั้นตอน หากโหวตเลือกนายกฯ พิธา ไม่ผ่าน จะมีอะไรต่อ ? ต้องการ ส.ว. กี่เสียง

เปิดขั้นตอน หากโหวตเลือกนายกฯ พิธา ไม่ผ่าน จะมีอะไรต่อ ? ต้องการ ส.ว. กี่เสียง

เปิดขั้นตอนต่อไป หากโหวตเลือกนายกฯ พิธา ไม่ผ่าน จะมีอะไรต่อ ? การจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล ยังคงต้องตามหา 66 เสียง ส.ว. มาสนับสนุน หรือ เอาเสียงจากฝ่ายค้านก็ได้...ฉากทัศน์ต่อๆไปของการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร หากโหวตเลือกนายกฯไม่ผ่าน

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 จะถือเป็นอีกหนึ่งวันที่สำคัญ ในการจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล เพราะมีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ในเวลา 09.30 น. ตามการเปิดเผยของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหารือร่วมกับนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา แล้ว  

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากโหวตเลือกนายกฯ รอบแรกไม่ผ่าน ก็เตรียมแผนโหวตอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ในวันที่ 19 ก.ค. และ 20 ก.ค. 2566

หากวิเคราะห์กันตามตัวเลขแล้ว , พรรคร่วมรัฐบาล ทั้ง 8 พรรค มีอยู่ทั้งสิ้น 312 เสียง หักเสียงของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ที่ไปดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส. ของพรรคก้าวไกลที่ลาออกไป  

ทำให้ ณ ขณะนี้ มีเสียงสนับสนุนนายพิธา คงเหลือ 310 เสียง ยังขาดอยู่ 66 เสียง ถึงจะได้เสียงกึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง ตามที่รัฐสภากำหนด 

เปิดขั้นตอน หากโหวตเลือกนายกฯ พิธา ไม่ผ่าน จะมีอะไรต่อ ? ต้องการ ส.ว. กี่เสียง

 

ในช่วงเวลา หลังการเลือกตั้ง 2566 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม , แกนนำพรรคก้าวไกล พยายามระบุว่า “มีสัญญาณบวก” “มีทิศทางที่ดี” และ “ยังมองเห็นโอกาสเป็นไปได้” ในการหาเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ให้ลงมติเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 แต่ก็ไม่มีใครระบุจำนวน ส.ว. ออกมาอย่างชัดเจนจนถึงทุกวันนี้ 

การให้อำนาจ “ส.ว. ชุดเฉพาะกาล” จำนวน 250 คน ร่วมกับ ส.ส. 500 คน ในการให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 โดยมติ “เห็นชอบ” ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา หรือ 376 เสียงจาก 750 เสียง นี่คือ "ด่าน" ที่การจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล ภายใต้การนำของ พิธา ต้องลุยฝ่าฟันไปให้ได้ 

และในกระบวนการโหวตเลือกนายกฯ นั้น ยังมีคำถามมากมาย ที่สังคมสงสัย และตั้งคำถาม อาทิ 

• หากมีผู้เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คนเดียว แล้วโหวตไม่ผ่าน จะเสนอให้โหวตชื่ออื่น แล้วให้ลงมติในวันนั้นเลยได้หรือไม่ ? 

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ระบุว่า “หากวันแรกไม่สามารถ ถือว่าการประชุมวันนั้นต้องจบ และนัดโหวตนายกฯ นัดครั้งต่อไป โดยต้องคำนึงความพร้อมของสมาชิกด้วย เพื่อให้ทุกคนเข้าร่วมประชุมครบถ้วน”

วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ พูดถึงประเด็นการโหวตเลือกนายกฯ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์


•  หากชื่อนายพิธาไม่ผ่านรอบแรก จะส่งชื่อเดิมกลับมาให้โหวตรอบ 2 ได้หรือไม่ ? 

ด้านวันมูหะมัดนอร์ มะทา ตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีเดียวกันนี้ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นคนเดิมหรือคนใหม่ แต่เบื้องต้นต้องเป็นคนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดคุณสมบัติครบถ้วน  นั่นหมายความว่า จะโหวตเลือก พิธา เป็นนายกฯ กี่ครั้งก็ได้ , แต่ในระหว่างนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังเป็นนายกฯ รักษาการต่อไป

ส่วนจะให้โหวตชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้มากสุดกี่ครั้ง ว่าที่ประธานรัฐสภาบอกว่าไม่สามารถบอกได้ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าหากโหวตชื่อนายพิธาไม่ผ่านในครั้งแรกจะไม่สามารถเสนอชื่อโหวตในครั้งที่ 2 ได้ ยืนยันสามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้อีก เพียงแต่อาจจะมีการเสนอชื่อบุคคลอื่นมากกว่า 1 ชื่อก็ได้

สำหรับบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ คนที่ 30 ให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณา ต้องมีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 คือ ต้องมาจากพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ไม่น้อยกว่า 5% ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภา หรือมี ส.ส. มากกว่า 25 คนขึ้นไป

เปิดขั้นตอนต่อไป หากโหวตเลือกนายกฯ พิธา ไม่ผ่าน จะมีอะไรต่อ ? ก้าวไกลยังคงต้องตามหา 66 เสียง ส.ว. หรือ เอาเสียงจากฝ่ายค้านก็ได้...
•  หากโหวตเลือกนายกฯ ไม่ผ่านรอบแรก จะเรียกประชุมร่วมสองสภาให้โหวตเลือกนายกฯ ได้อีกกี่ครั้ง ? 

ประธานสภาหลีกเลี่ยงการพูดถึง “ตัวเลข” แบบชัด ๆ แต่ พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน  รองประธานสภาจากพรรค เพื่อไทย เปิดเผยในเบื้องต้นว่า  ให้สิทธิ โหวตเลือกนายกฯ เบื้องต้น 3 ครั้ง 3 วัน นั่นคือวันที่ 19 และ 20 กรกฎาคม 2566 

ส่วน "วันนอร์" วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ สมัยที่ 2 กล่าวว่า จำนวนครั้งคงพูดไม่ได้ เพราะครั้งเดียวอาจผ่านก็ได้ถ้าได้ 376 เสียง แต่ถ้าไม่ครบต้องพิจารณาการประชุมรอบต่อไป และต้องวิเคราะห์ดูว่าคะแนนที่ได้มีเท่าไหร่ถึงจะครบ 376 เสียง และฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะขอเวลาการประชุมกี่ครั้ง

“โดยสรุปคือรัฐสภาต้องประชุมให้ได้นายกฯ ไม่ใช่นายพิธาคนเดียว หากนายพิธาได้ถือว่าได้ไป แต่ถ้าไม่ได้ต้องหาจนกว่าจะได้นายกฯ เพราะรัฐสภามีหน้าที่เลือกนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญเพื่อไปบริหารประเทศ เราจะขาดนายกฯ ไม่ได้” ว่าที่ประธานรัฐสภากล่าวเมื่อ 5 ก.ค.

ด้านนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ว่าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ให้สัมภาษณ์ว่า ได้วางวันเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ 13 ก.ค. ถ้าไม่ได้ก็จะให้เลือกรอบที่ 2 วันที่ 19 ก.ค. และรอบที่ 3 วันที่ 20 ก.ค.

“คาด 3 วันนี้ก็น่าจะเพียงพอได้นายกรัฐมนตรีแล้ว ถ้าไม่ได้ก็จะคุยกันใหม่ โดยจะเปิดโอกาสให้ 3 ครั้งก่อน เพราะการเรียกประชุมบ่อย ๆ และใช้สมาชิก 750 คนก็ค่อนข้างลำบาก เวลา 3 วันก็เยอะแล้ว และอยากให้ได้ภายใน 3 วันนี้” ว่าที่รองประธานสภาจากพรรค พท. แสดงความเห็น 


• ท่าทีของส.ว. ณ เวลานี้ ในประเด็น โหวตเลือกนายกฯ 

เช็กเสียงจาก ส.ว. ซึ่ง ณ เวลานี้ การจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล ยังต้องการเสียงจาก ส.ว. ราวๆ 66 เสียง และ ณ เวลานี้ กลุ่มของ ส.ว. แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1. กลุ่มที่ไม่เปิดเผยการตัดสินใจ 2. กลุ่ม ส.ว. ที่เปิดเผยแล้วว่าไม่โหวตหนุนนายพิธา และ 3. กลุ่ม ส.ว.ที่แสดงเจตนาพร้อมโหวตให้นายพิธา ซึ่งแต่ละกลุ่มนั้น ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน  แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชน จะได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ส.ว. โหวตสนับสนุนพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ หรือไม่ ในวันที่ 13 ก.ค. นี้ 

related