svasdssvasds

Breaking News : ด่วน! มติศาลรธน. รับคำร้อง กกต. ปมพิธาถือหุ้นสื่อ สั่งยุติหน้าที่ ส.ส. ตั้งแต่ 19 ก.ค.

Breaking News : ด่วน! มติศาลรธน. รับคำร้อง กกต. ปมพิธาถือหุ้นสื่อ สั่งยุติหน้าที่ ส.ส. ตั้งแต่ 19 ก.ค.

ศาลรัฐธรรมนูญ ออกเอกสารแถลงผลการประชุม สั่งให้ "พิธา" หยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส.ชั่วคราว ภายหลัง รับคำร้อง กกต. ปมถือครองหุ้นสื่อ

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2566 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เวลา 9.30 น.เป็นต้นมา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้เริ่มประชุมพิจารณาคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ กรณีถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น itv รวมทั้งคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
    
 สำหรับคำร้องดังกล่าวถูกบรรจุเป็นระเบียบวาระที่ 4 จากทั้งหมดที่มี 5 วาระ และเป็นเรื่องเสนอเพื่อพิจารณาเพียงเรื่องเดียวในการประชุมคณะตุลาการวันนี้ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• งานเข้า! ศาลรธน. รับคำร้อง ปมกกต.ยื่นฟัน "พิธา" ถือหุ้นสื่อ-ยกเลิก ม.112

• ด่วน! กกต.เรียก "พิธา" เข้าพบ คาดปมวินิจฉัยหุ้นสื่อ ก่อนยื่นฟ้องศาลรธน.

• ย้อนคดีหุ้นสื่อ ม.151 ของธนาธร สู่คลิปประชุมฯ ไอทีวี พิธามีโอกาสรอดไหม

Breaking News : ด่วน! มติศาลรธน.  รับคำร้อง กกต. ปมพิธาถือหุ้นสื่อ สั่งยุติหน้าที่ส.ส. ตั้งแต่ 19 ก.ค.

 ล่าสุด วันที่ 19 กรกฏาคม 2566 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพ ส.ส. ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากปมถือหุ้น บมจ.ไอทีวี

 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้องแล้ว มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า ข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสี่ประกอบวรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (5)

 จึงสั่งรับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และให้ผู้ถูกร้องยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสําเนาคําร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 54

 สําหรับคําขอของผู้ร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) เห็นว่า ข้อเท็จจริง ตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้องปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้ถูกร้องอาจก่อให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและการคัดค้านโต้แย้งเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานสําคัญของที่ประชุมรัฐสภาและที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงมีคําสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย

 สำหรับจุดเริ่มต้นของคดีถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 42,000 หุ้นของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จำนวน 42,000 หุ้น เนื่องจากเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566

 อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้งจบลง ที่ประชุม กกต. มีมติเป็นเอกฉันท์ 6 เสียง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 ไม่รับคำร้องกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จากการถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 42,000 หุ้น

โดยเห็นว่าคำร้องที่ได้ยื่นมาของทั้ง 3 คน (ผู้ร้อง) คือ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ-ศรีสุวรรณ จรรยา-สนธิญา สวัสดี เนื่องจาก ทั้ง 3 คน ยื่นให้ กกต.พิจารณาก่อนการเลือกตั้งเพียง 2 วัน ทั้งที่กฎหมายกำหนดว่า กรณีมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ ต้องร้องภายใน 7 วัน นับแต่ประกาศรายชื่อผู้สมัคร ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2561 มาตรา 51 ประกอบมาตรา 60

 แต่ให้รับไว้ “เป็นความปรากฏ” สืบสวนเอาผิดในคดีอาญา เพราะมีข้อมูลเพียงพอที่จะสืบสวนไต่สวนต่อไปว่านายพิธา เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามแต่ได้สมัครรับเลือกตั้ง อันเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 42(3) และมาตรา 151 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.

“จึงเห็นควรพิจารณาสั่งให้ดำเนินการไต่สวนเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฏ โดยคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนที่ได้รับแต่งตั้งจะดำเนินการไต่สวนตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบต่อไป”

 แต่อีกด้านหนึ่ง กกต.ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงาน กกต. ขึ้นมาคู่ขนาน กรณีมีผู้ยื่นร้องต่อ กกต. ขอให้พิจารณาและส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 คดีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล มีชื่อถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และมาตรา 101 (6) หรือไม่

กระทั่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีมติ 3 ต่อ 2 เห็นว่านายพิธา ถือหุ้นในบริษัทฯ ไอทีวี ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3)

ก่อนจะนำเรื่องเข้าประชุม กกต.โดยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ประชุม กกต. มีมติ 4 ต่อ 1 ส่งศาลรัฐธรรมนูญ มีชื่อถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และมาตรา 101 (6) หรือไม่

โดยพยานหลักฐานที่แนบไปประกอบด้วย วัตถุประสงค์ตามหนังสือรับรอง และบริคณห์สนธิ ระบุว่า ประกอบกิจการโรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือ ฯ รับบริการและดำเนินกิจการสถานีวิทยุ โทรทัศน์ ประกอบกิจการรับจ้างโฆษณาทางโทรทัศน์ ประกอบกิจการผลิต จัดทำ จัดการเกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์

 นอกจากนี้ มีแบบหนังสือนำส่งงบการเงิน ของ ไอทีวี ปี 2565 แจ้งว่า ประกอบกิจการสื่อโทรทัศน์ แม้ปัจจุบันแม้ไม่ได้ประกอบกิจการ แต่เมื่อยังไม่จดเลิก ก็ยังประกอบกิจการได้ ขณะเดียวกัน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ยังปรากฏเป็นชื่อนาย “พิธา” อยู่ แม้จะระบุว่าถือในฐานะผู้จัดการมรดก แต่ไม่มีหมายเหตุว่า “ถือแทนใคร”

 ก่อนจะมีการ “โอนหุ้น” 42,000 หุ้น (ให้นายภาษิณ ลิ้มเจริญรัตน์ น้องชาย) ไปเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566 ดังนั้น กกต.จึงมีเหตุผลที่ขอให้ความเป็น ส.ส. สิ้นสุดลงตาม มาตรา 101 (6) และ 98 (3) และให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่

related