svasdssvasds

สัปเหร่อ ธี่หยด ทำเงินหลัก 100 ล้าน คนทำหนัง-โรงภาพยนตร์ แบ่งรายได้อย่างไร?

สัปเหร่อ ธี่หยด ทำเงินหลัก 100 ล้าน คนทำหนัง-โรงภาพยนตร์ แบ่งรายได้อย่างไร?

ไขข้อสงสัยภาพยนตร์ไทย "สัปเหร่อ-ธี่หยด" สร้างปรากฏการณ์ทำเงินหลัก 100 ล้านในเวลาอันรวดเร็ว "คนทำหนัง" VS "โรงภาพยนตร์" แบ่งสัดส่วนรายได้กันอย่างไร "สปริงบันเทิง" มีคำตอบ

จากความสำเร็จของสองภาพยนตร์ไทย "สัปเหร่อ" และ "ธี่หยด" ที่สร้างปรากฏการณ์โกยรายได้หลัก 100 ล้าน ภายในเวลารวดเร็ว รายได้หนังสัปเหร่อปัจจุบันอยู่ที่ 700 ล้าน ส่วนรายได้หนังธี่หยด ก็ทำรายได้สู่ 300 ล้านเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทั้งสองเรื่องมีแนวโน้มทำเงินพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

แน่นอนว่าการกวาดรายได้อย่างถล่มทลายของ สัปเหร่อ และ ธี่หยด นั้น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า "คนทำหนัง" และ "โรงภาพยนตร์" แบ่งสัดส่วนรายได้กันอย่างไร ทาง "สปริงบันเทิง" ได้ต่อสายตรงสอบถาม "นคร โพธิ์ไพโรจน์" รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภาพยนตร์ บริษัท เนรมิตรหนัง ฟิล์ม จำกัด ถึงกรณีดังกล่าว 

ภาพยนตร์ไทย สัปเหร่อ

โดย "นคร โพธิ์ไพโรจน์" ได้เผยรายละเอียดการแบ่งสัดส่วนรายได้ของคนทำหนังและโรงภาพยนตร์ ดังนี้

"กรุงเทพ ปริมณฑล เชียงใหม่ จะแบ่งกับโรงภาพยนตร์โดยตรง และอัตราส่วนแต่ละเรื่อง ไม่เท่ากัน แต่ผมได้ยินมาว่าเขาพยายามสร้างความชอบธรรมให้กับหนังไทย อย่างเช่น มีหลายหนังที่ได้สัดส่วน 50-50 หรือแล้วแต่การตกลง ซึ่งเรื่องการแบ่งสัดส่วนเป็นความลับประมาณหนึ่ง หนังไทยส่วนใหญ่ค่อนข้างแฟร์ในการแบ่งสัดส่วนรายได้"

"ทั้งนี้จะมีบางเรื่องที่ได้ 40-60 หรือ 45-55 หรือยิ่งฉายนาน อัตราส่วนก็ยิ่งเปลี่ยนไป ทั้งหมดทั้งมวลขึ้นอยู่กับอำนาจการต่อรอง ซึ่งอัตราส่วน 60 และ 55 ส่วนใหญ่โรงภาพยนตร์จะได้รายได้เยอะกว่า"

ภาพยนตร์ไทย ธี่หยด

"ส่วนคำว่าสายหนังขายขาดให้ 10 ล้านนั้น คือรูปแบบธุรกิจสายหนัง ก็เหมือน ยี่ปั้ว คือในอดีตยุคฟิล์ม จะมีสายหนัง ทำหน้าที่จัดจำหน่าย อย่างเช่น เจ้าของหนังดูแค่กรุงเทพและปริมณฑล ส่วนนอกเขต สายหนังจะไปคุยกับโรงภาพยนตร์เอง จะทำประหนึ่งว่าเป็นเจ้าของหนังในแต่ละภูมิภาค"

"ส่วนตอนนี้เป็นยุคดิจิทัล ฟังก์ชันก็จะแตกต่างกัน เพราะสามารถส่งไฟล์ขึ้นฉายในโรงภาพยนตร์ได้ แต่ด้วยความทำธุรกิจด้วยกันมานาน จึงต้องหาโมเดลอยู่ร่วมกัน เช่น เจ้าของหนังเอาเข้าโรงภาพยนตร์เอง แต่ต้องมีการคุยกับทางสายหนัง หรือหนังบางเรื่องยังไม่มั่นใจเรื่องทำรายได้ จึงไม่ซื้อขาด แต่ซื้อเป็นขั้นบันได"

นอกจากนี้ นคร โพธิ์ไพโรจน์ ยังได้เล่าถึงประสบการณ์ทำหนังในค่ายเล็กด้วยว่า

"ก่อนหน้านี้ผมเคยทำหนังเล็กๆ ในค่ายเล็กมาก่อน ระบบสายหนัง ค่อนข้างกระทบกับหนังเล็กๆ ถ้าพูดให้เข้าใจคือหนังเล็กๆ ไม่มีอำนาจต่อรองเยอะ ขณะที่ค่ายใหญ่ๆ มีกำลังผลิต กำลังซื้อหนัง ทำให้เกิดอำนาจต่อรองมากขึ้น ส่วนหนังเล็กๆ จะไม่มีอะไรอย่างนั้น"

"โรงหนังในไทย ก็มีไม่กี่แบรนด์ ดังนั้นถ้าไม่เอา ก็ไม่ต้องขาย ทุกอย่างก็จบเลย พอเป็นหนังเล็กๆ มักจะเจอภาวะอะไรแบบนี้ ถ้าเกิดเป็นหนังใหญ่ การันตีรายได้ 100 ล้านแน่ๆ ก็จะเสียงดัง ฟังชัดกว่า"

"หนังไทบ้าน คือตัวแทนหนังเล็ก กว่าเขาจะมาถึงจุดนี้ เขาน่าจะผ่านอะไรหลายๆ อย่าง กว่าจะมีอำนาจต่อรองและเสียงดังขนาดนี้ได้"

ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก Nakorn Phopairoj

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related