svasdssvasds

จเรตำรวจ เร่งสอบส่วยสติ๊กเกอร์ทางหลวง พบเจ้าหน้าที่ เอี่ยวฟันไม่เลี้ยง

จเรตำรวจ เร่งสอบส่วยสติ๊กเกอร์ทางหลวง พบเจ้าหน้าที่ เอี่ยวฟันไม่เลี้ยง

จเรตำรวจ เร่งตรวจสอบส่วยสติ๊กเกอร์ทางหลวง แจงเป็นคดีแรก ที่ตรวจสอบตามพ.ร.บ.ตำรวจฯใหม่ มีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนข้าราชการตำรวจ (ก.ร.ตร.) ร่วมพิจารณา-กลั่นกรอง ต่างจากเดิม ที่ใช้ตำรวจด้วยกันตรวจสอบ ผลสามารถตอบสังคมได้ชัดเจน หากพบตร.ผิดฟันไม่เลี้ยง

จากกรณีที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล โพสต์กรณีรถบรรทุกหลายคัน ติดสติ๊กเกอร์พระอาทิตย์สีฟ้า ที่สามารถเข้าผ่านทางในช่อง Easy Pass ได้อัตโนมัติ และสามารถผ่านทุกด่าน โดยไม่ถูกตำรวจทางหลวงจับกุม ไม่ว่าจะบรรทุกน้ำหนักเกิน จนทำให้มีเสียงวิพากษณ์วิจารณ์บนโลกโซเชียลนั้น

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ  (จตช.) เปิดเผยว่า การดำเนินการตรวจสอบในครั้งนี้ จะเป็นคดีแรกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการทางวินัยข้าราชการตำรวจ ตาม พรบ.ตำรวจฯ ฉบับใหม่ โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนข้าราชการตำรวจ (ก.ร.ตร.) เป็นผู้ร่วมพิจารณาและกลั่นกรอง ซึ่งจะมีความเข้มข้นต่างจากเดิม ก่อนหน้านี้จะมีการพิจารณาผลการตรวจสอบ เฉพาะคณะกรรมการฯที่เป็นตำรวจด้วยกัน ทำให้สังคมอาจเกิดข้อสงสัย และขาดความเชื่อใจ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในกระบวนการตรวจสอบของตำรวจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ดังนั้นการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวในครั้งนี้ ขอให้สังคมมั่นใจในการตรวจสอบ ที่จะสามารถให้ความเป็นธรรม ต่อผู้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงครั้งนี้ อย่างตรงไปตรงมา เพราะจะต้องผ่านการพิจารณาผ่านองค์คณะที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณจากหลายภาคส่วน  สามารถตอบสังคมได้อย่างชัดเจน

ซึ่งหากพบพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่า มีข้าราชการตำรวจเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือ พัวพันกับเรื่องนี้ตามข้อร้องเรียน จะต้องถูกดำเนินการทั้งอาญา และ วินัย อย่างเด็ดขาดต่อไป 

สำหรับคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) นั้น นายกรัฐมนตรีเป็นคนแต่งตั้ง จากบุคคลดังต่อไปนี้

  • ผู้ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกันคัดเลือกหนึ่งคน
  • ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือเทียบเท่าขึ้นไป และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการข้าราชการตุลาการหนึ่งคน
  • ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งระดับอัยการพิเศษฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอัยการหนึ่งคน
  • ผู้ซึ่งเคยรับราชการตำรวจระดับผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าขึ้นไปจำนวน 3 คน ที่ผ่านการคัดเลือกของ ก.ตร.
  • ทนายความซึ่งประกอบวิชาชีพทนายความมาไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งสภาทนายความคัดเลือกมาหนึ่งคน
  • ผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลจำนวนสองคน ซึ่งที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนฯคัดเลือก โดยให้อย่างน้อยหนึ่งคนเป็นสตรี  

โดย คณะกรรมการ ก.ร.ตร. จะมีจเรตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขาฯ

related