svasdssvasds

ชง"ขึ้นค่าแรง" 3-4 % ช่วยเติมกำลังซื้อให้แรงงาน แต่.. 20 อุตสาหกรรม กระอัก

ชง"ขึ้นค่าแรง" 3-4 % ช่วยเติมกำลังซื้อให้แรงงาน แต่.. 20 อุตสาหกรรม กระอัก

หลายคนกำลังจับตาว่ารัฐใหม่จะขึ้นค่าแรงเมื่อไหร่ ? แต่แน่นอนว่าการขึ้นค่าแรงส่งผลดีต่อการเติมกำลังซื้อให้แรงงาน สิ่งที่น่าห่วง คือ 20 อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และเอสเอ็มอี ที่แบกต้นทุนหลังแอ่น

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นอีกหนึ่งนโยบายของรัฐบาลใหม่ ภายใต้ครม.เศรษฐา1 ที่ถูกจับตามองอย่างมาก ความคืบหน้าล่าสุดกระทรวงแรงงาน ได้หารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดย ย้ำว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนภายในปี 2567 โดยจะหารือในรายละเอียดทั้งในส่วนของแรงงานไทยและแรงงานเพื่อนบ้าน เสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 25 กันยาย 2566

ทั้งนี้จะสรุปแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยจะดูอัตราเงินเฟ้อประกอบด้วย เพื่อประกาศเป็นของขวัญปีใหม่ปี 2567 ให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานช่วงใกล้สิ้นปีนี้ ขณะที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.ได้มีการประเมินว่าเมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆตลอดจนเงินเฟ้อแล้วการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำน่าจะอยู่ระดับ 3-4% เท่านั้น

 

 

โดยนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. เปิดเผยว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน 2566 ต้องการให้ยึดมติคณะกรรมการไตรภาคี โดยค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 328- 354 บาทต่อวัน การขึ้นราคาเดียว 400 บาทต่อวัน หรือขึ้น 19-20% อาจทำให้หลายอุตสาหกรรมกระทบหนักจากต้นทุนที่กระชากแรง เพราะปัจจุบันจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรมมีประมาณ 20 อุตสาหกรรมจ่ายไม่สูงเพราะใช้แรงงานเข้มข้น

อย่างไรก็ตามยังมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี (SMEs) ทั่วประเทศกว่า 3 ล้านคน ที่เหลือจ่ายเกิน 400 บาทต่อวัน ในบางอุตสาหกรรมถึง 800 บาทต่อวันแต่ก็หาแรงงานยาก เพราะฉะนั้นการปรับค่าจ้างต้องสอดรับศักยภาพแรงงาน และความสามารถของผู้ประกอบการ

การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรเป็นไปตามอำนาจของคณะกรรมการค่าจ้างไตรภาคีที่แต่ละจังหวัดร่วมพิจารณาสอดคล้องกับปัจจัยเศรษฐกิจเงินเฟ้อ,จีดีพีความเดือดร้อนของลูกจ้างความสามารถการจ่ายของนายจ้างและผลิตภาพแรงงานควรปราศจากการแทรกแซงจากหน่วยงานภายนอก และปัจจุบันนายจ้างไม่ได้จ่ายแบบเหมารวม แต่จ่ายตามทักษะ เพื่อความเป็นธรรมกับแรงงานที่มีประสบการณ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related