svasdssvasds

“ความเหงา” เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก เทียบเท่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน

“ความเหงา” เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก เทียบเท่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน

"ความเหงา" ตอนนี้ไม่ใช่ขั้วบวกขั้วลบ ที่ให้หนุ่มสาวมาพบกันในคืนร้าวรานอีกแล้ว...เพราะ ตอนนี้ "ความเหงา" ได้กลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก ความเหงา เป็นอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าได้กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน

ฟังดูแล้ว อาจจะเป็นเรื่องแปลกใหม่ ชวนเอามือเกาหัวแกรกๆ ที่ ความเหงาได้กลายเป็น คมมีดอันแหลมคมที่กำลังทิ่มแทงสุขภาพผู้คนทั่วโลก , แต่ใครไม่เคย เหงา ก็คงจะไม่เข้าใจว่า ความเหงา มันทุกข์ทรทาน แสนสาหัสเพียงใด และ การันตีได้เลยว่า ความเหงา เมื่อมันจู่โจมเข้ากลางหัวใจใครและใครก็ตาม พลังการทำลายล้าง อาวุธแห่งความโดดเดี่ยว มันมีประสิทธิภาพสูงเหลือเกิน ในการกลืนกินชีวิตคนๆหนึ่ง 

ณ เวลานี้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ “ความเหงา” เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน โดยอันตรายของความเหงา ที่บั่นทอนต่อสุขภาพเทียบเท่าได้กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวนเลยทีเดียว ซึ่งเรื่องนี้ มีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นมาสักระยะแล้ว ก่อนที่มันจะเป็นกราฟพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ตอนการระบาดของโควิด-19 

“ความเหงา” เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก เทียบเท่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน

ทั้งนี้ องค์กรที่ดูแลเรื่องสุขอนามัยโลก อย่าง WHO ได้ตั้งคณะกรรมาธิการนานาชาติเกี่ยวกับปัญหา “ความเหงา” นำโดยนพ.วิเวก มูรธี ศัลยแพทย์สหรัฐฯ และชิโด เอ็มเปมบา ทูตด้านเยาวชนของสหภาพแอฟริกา รวมถึงนักเคลื่อนไหวและรัฐมนตรีอีกด้วย 

การตั้งคณะกรรมาธิการ นี้มีขึ้นหลังจากที่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมหยุดชะงัก ตั้งแต่ช่วงปี 2020 ส่งผลให้ระดับความเหงาของทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็รวมถึงกระแสตื่นตัวที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 3 ปี 

“ความเหงา” เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก เทียบเท่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน

เอ็มเปมบา ให้ความเห็นว่า “ความเหงาไม่มีพรมแดนหรือเขตกั้น และกำลังเป็นความกังวลด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สวัสดิภาพ และพัฒนาการในทุกๆด้าน การแยกตัวจากสังคมไม่แบ่งอายุหรือพรมแดนประเทศใดๆ ”

ขณะที่ นพ.วิเวก มูรธี ศัลยแพทย์สหรัฐฯ บอกว่า อันตรายของความเหงา ที่มีต่อสุขภาพเทียบเท่าได้กับการสูบบุหรี่วัยละ 15 มวน และยิ่งร้ายแรงกว่านั้นเมื่อเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและการขาดกิจกรรมทางกายภาพด้วย แม้ว่าความเหงามักจะถูกมองว่าเป็นปัญหาของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ทั่วโลกมีผู้ใหญ่ 1 ใน 4 ที่มีปัญหาแยกตัวจากสังคม เหมือนๆ กันในทุกภูมิภาคทั่วโลก

“ความเหงา” เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก เทียบเท่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน

ในผู้ใหญ่ ความเหงามีส่วนทำให้ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 50% และโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 30%  นอกจากนี้ ความเหงา ทำให้ มีความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า วิตกกังวล และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพิ่มขึ้นด้วย 

ในทางกลับกัน ความเหงาส่งผลต่อชีวิตของคนหนุ่มสาวด้วยเช่นกัน  โดยงานวิจัยเมื่อปี 2022 ระบุว่า วัยรุ่น 5-15% มีภาวะเหงา ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้ ขณะที่ในแอฟริกา มีวัยรุ่น 12.7% มีปัญหาเรื่องความเหงา เทียบกับ 5.3% ในยุโรป

เชื่อหรือไม่ว่า ในปี 2020 ในปีที่โควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรง มีตัวเลขว่า คนอยู่กับเพื่อนๆ ใช้เวลากับเพื่อนๆ เพียง 20 นาที ต่อวัน  นับว่าเป็นช่วงเวลาที่น้อยมากๆ น้อยกว่าค่าเฉลี่ยช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมาถึง 1 ชั่วโมง 

เห็นอย่างนี้แล้ว...โปรดสังเกตคนรอบตัว คนรอบข้าง อย่าปล่อยให้ คนใกล้ตัวของคุณ "เหงา" และรู้สึก "โดดเดี่ยว"    เพราะเพียงแค่การ ถามไถ่ สารทุกข์สุกดิบ กัน  แค่ชั่วเวลาไม่นาน แต่มันก็อาจจะทำให้ คนที่ เหงา อยู่  มีแรงมีกำลังใจ ใช้ชีวิตต่อไปได้

ที่มา dailymail ndtv rama

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related