svasdssvasds

ผลสอบ PISA ไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี แพ้เวียดนามทั้งคณิต วิทย์ และการอ่าน

ผลสอบ PISA ไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี  แพ้เวียดนามทั้งคณิต วิทย์ และการอ่าน

ผลสอบ PISA ไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี แพ้เพื่อนบ้านทั้งคณิต วิทย์ และการอ่าน ข้อมูลเผย เด็กไทย 30 % ยังต้องอดมื้อกินมื้อ

“Programme for International Student Assessment” หรือ “PISA” คือ การสอบที่จัดขึ้นทุกๆ 3 ปี เพื่อวัดทักษะเด็กอายุ 15 ปี ของทุกประเทศทั่วโลก ทั้งในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน

โดยการสอบ PISA จะไม่ใช้วัดจากคะแนนเต็ม แต่จะวัดจากคะแนนของเด็กแต่ละประเทศมาเฉลี่ยกัน ถ้าประเทศไหนค่าเฉลี่ยสูงก็จะถือว่า “สูงกว่าค่าเฉลี่ย” ถ้าประเทศไหนทำคะแนนได้ต่ำ ก็จะถือว่า “ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย” ทั้งนี้ก็เพื่อดูสถานการณ์ภาพรวมของการศึกษาแต่ละประเทศ

ส่วนการสอบ PISA ครั้งล่าสุด จัดขึ้นในปี 2022 โดยมีนักเรียนกว่า 700,000 คน จาก 81 ประเทศ เข้าร่วม ซึ่งพบว่าประเทศไทยทำคะแนนได้ต่ำในทุกทักษะ ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน โดยได้คะแนนดังนี้

  • วิชาคณิตศาสตร์ ไทยทำได้ 394 คะแนน อยู่ในอันดับ 58
  • วิชาวิทยาศาสตร์ ไทยทำได้ 409 คะแนน อยู่ในอันดับ 58
  • การอ่าน ไทยทำได้ 379 คะแนน อยู่ในอันดับ 64

ส่วนประเทศในอาเซียน ที่ทำคะแนนได้ในทักษะ 3 ด้านนี้ได้มากกว่าไทยคือ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลภาพรวมทำให้พบว่า ทุกประเทศทั่วโลกมีคะแนนสอบ PISA ต่ำลง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่ของไทยคือต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกที่ไทยทำได้ต่ำกว่า 400 คะแนน

ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าดูจากตัวเลขเด็กไทยทำคะแนนได้ต่ำลงจริง แต่ก็มีเรื่องที่เด็กไทยได้คะแนนดีเหมือนกัน เพราะเมื่อดูจากรายงานฉบับเต็มของ PISA จะพบว่า มีนักเรียนที่เป็นกลุ่มเปราะบางของประเทศไทย 15 % ที่ทำคะแนนได้ดี ซึ่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศที่เข้าร่วมสอบทั้งหมด สิ่งนี้สะท้อนว่าเด็กในพื้นที่ชนบทไม่ได้เรียนด้อยไปกว่าเด็กในเมืองเท่าใดนัก และรัฐต้องสนับสนุนพวกขามากกว่านี้

ส่วนสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ PISA ได้ทำแบบสอบถามในหัวข้อ “Food insecurity” โดยถามว่าใน 30 วันมีช่วงที่นักเรียนต้องอดมื้อกินมื้อบ้างไหม ซึ่งมีนักเรียนไทยเกือบ 30% ตอบว่าเคย และสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศที่เข้าร่วมสอบทั้งหมด

นอกจากนี้ ในรายงานฉบับเต็มของ PISA ให้ความคิดเห็นว่า การแยกห้องเรียนระหว่าง “เด็กเก่ง” และ “เด็กอ่อน” ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษารุนแรงขึ้น และความใส่ใจของสถาบันการศึกษา และสถาบันครอบครัวมีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จในเส้นทางการศึกษา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related