svasdssvasds

ชาวเกาหลีใต้โทษ “เฟมินิสต์” เหตุเด็กเกิดน้อย เพราะปลูกฝังแนวคิดไม่มีลูก

ชาวเกาหลีใต้โทษ “เฟมินิสต์” เหตุเด็กเกิดน้อย เพราะปลูกฝังแนวคิดไม่มีลูก

ชาวเกาหลีใต้บางส่วนโยนความผิดให้ กลุ่ม “เฟมินิสต์” ต้นเหตุวิกฤตประชากร ทำผู้หญิงขมขื่น ความสัมพันธ์กับผู้ชายแย่ ไม่กล้ามีลูก?

SHORT CUT

  • ชาวเกาหลีใต้บางคน โทศ "กลุ่มเฟมินิสต์ (Feminism)" ว่า ทำให้ความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายแย่ลง และทำให้ผู้หญิงไม่ต้องการสร้างครอบครัว 
  • แนวคิดเฟมินิสต์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้หญิงไม่อยากมีลูก อาจเป็นเพียงวาทกรรมที่ฝ่ายขวาจัดในเกาหลีใต้ยกมาเป็นข้ออ้าง ปัญหาอาจอยู่ที่โครงสร้างสังคมมากกว่า  

ชาวเกาหลีใต้บางส่วนโยนความผิดให้ กลุ่ม “เฟมินิสต์” ต้นเหตุวิกฤตประชากร ทำผู้หญิงขมขื่น ความสัมพันธ์กับผู้ชายแย่ ไม่กล้ามีลูก?

เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีอัตราเกิดต่ำที่สูงที่สุดในโลกติดต่อกันมาหลายปี โดยอัตราการเกิดต่อผู้หญิงเกาหลีใต้ช่วงวัยเจริญพันธุ์ ในปี 2023 เหลือเพียง 0.72 ซึ่งน้อยกว่าในปี 2022 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.78

ทั้งนี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีชาวเกาหลีใต้บางส่วนโทษ "กลุ่มเฟมินิสต์ (Feminism)"ในประเทศ ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ เกิดวิกฤตประชากร โดยอ้างว่าแนวคิดนี้ปลูกฝังความขมขื่นลงในหัวใจผู้หญิง ทำให้ความสัมพันธ์ทางเพศแย่ลง และทำให้ผู้หญิงไม่กล้ามีลูก

ชาวเกาหลีใต้บางส่วนโยนความผิดให้ กลุ่ม  “เฟมินิสต์”  ต้นเหตุวิกฤตประชากร

โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับกระแสการขับเคลื่อนของขบวนการสตรีนิยมมาตลอด ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจาก เหตุฆาตกรรมผู้หญิงที่เกิดขึ้น รัฐบาลมีนโยบายกีดกันทางเพศ ไปจนถึงการท้วงเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียม

นอกจากนี้ ผู้หญิงชาวเกาหลีใต้จำนวนมาก ยังมีการนำคำว่า “My body, My choice” มาใช้ในการแสดงพลังอีกด้วย โดยคำนี้ในต่างประเทศ มักใช้เรียกร้องสิทธิในการทำแท้ง หรือสิทธิที่จะแต่งตัวอย่างไรก็ได้ แต่ในเกาหลีถูกนำมาใช้เพื่อสิทธิในการเลือกแต่งงาน หรือเลือกที่จะไม่มีลูกโดยเฉพาะ เนื่องจากสภาพสังคมของเกาหลีใต้ ขึ้นชื่อเรื่องระบบชายเป็นใหญ่มาก และหน้าที่ของผู้หญิงคือการอุ้มท้อง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศชาติ

อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ว่า แนวคิดเฟมินิสต์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้หญิงไม่อยากมีลูก อาจเป็นเพียงวาทกรรมที่ฝ่ายขวาจัดในเกาหลีใต้ยกมาเป็นข้ออ้างมากกว่า เนื่องจากมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงว่าแนวคิดเฟมินิสเป็นที่มาของวิกฤตประชากรของเกาหลีใต้

เพราะวิกฤตทางประชากรศาสตร์ของเกาหลีใต้ เกิดขึ้นก่อนกระแสสตรีนิยมเฟื่องฟู และกระแส MeToo ในปี 2017 เพราะในอดีต ประชากรของประเทศจะถือว่ายั่งยืนเมื่อผู้หญิงแต่ละคนมีลูกโดยเฉลี่ย 2.1 คนในช่วงชีวิตของพวกเธอ แต่อัตราการเจริญพันธุ์รวม (TFR) ของเกาหลีใต้ลดลงต่ำลงกว่า 2.1 ครั้งแรกในปี 1983 และลดลงเหลือ 1.5 ในปี 1998 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า วิกฤตประชากรของเกาหลีใต้ เริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่สมัยการปกครองของ “ช็อน ดู-ฮวัน (Chun Doo-hwan)” ซึ่งแทบจะไม่ใช่ยุคของสตรีนิยมด้วยซ้ำ

และในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีการแสดงพลังของเฟมินิสต์มากขึ้น แต่เกาหลีใต้ก็ไม่ใช่ดินแดนที่แนวคิดสตรีนิยมเฟื่องฟูแต่อย่างใด เพราะรายงานยังคงเผยว่าประเทศนี้มีช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD นอกจากนี้ยังมีสภาพการทำงานที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้หญิงด้วย และจำนวนผู้หญิงที่ระบุตัวเองว่าเป็นนักสตรีนิยมก็ลดลงระหว่างปี 2021 - 2023

แนวคิดเฟมินิสต์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้หญิงไม่อยากมีลูก

ปัญหาอยู่ที่เฟมินิสต์ หรือโครงสร้างสังคม ?

ทั้งนี้ หากการล่มสลายของประชากรเกาหลีใต้ยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลกระทบร้ายแรงในทางเศรษฐกิจและสังคม ยิ่งไปกว่านั้นการลดลงของจำนวนประชากรอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสมดุลอำนาจในภูมิภาคอีกด้วย

เพราะเกาหลีใต้ยังคงต้องอาศัยการเกณฑ์ทหารเพื่อรักษาความแข็งแกร่ง ซึ่งจำนวนทหารเกณฑ์ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของกองกำลังทั้งหมดอาจลดลงจาก 330,000นาย เหลือ 240,000 นายภายในปี 2036 และอาจเหลือแค่ 186.00 นาย ภายในปี 2039

ด้วยเหตุนี้ การลดลงของจำนวนประชากรจึงเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวต่อเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ติดกับเกาหลีเหนือ ประเทศเพื่อนบ้านที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังอยู่ใกล้กับจีน และรัสเซียที่ต่างก็เป็นมหาอำนาจ ซึ่งเกาหลีใต้ที่มีประชากรน้อยลงเรื่อยๆ อาจตกเป็นเป้าหมายที่ของประเทศที่มีกำลังทหารเหนือกว่าได้

การสูญเสียประชากร ย่อมหมายถึงการสูญเสียความเป็นมหาอำนาจ ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดแค่ในเกาหลีใต้เท่านั้น เพราะในทศวรรษ 2000 รัฐบาลรัสเซียก็เกรงว่าประชากรที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำจะทำให้สถานะมหาอำนาจของรัสเซียสิ้นสุดลง และทำให้ความสามารถในการป้องกันประเทศอ่อนแอลง ทำให้ปัญหานี้เป็นเรื่องสำคัญระดับชาติ และมีการออกนโยบายกระตุ้นการมีบุตรมากมาย นอกจากนี้หากย้อนกลับไปในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ฝรั่งเศสมีประชากรที่ซบเซาอย่างมากเมื่อเทียบกับเยอรมนีที่ประชากรกำลังเติบโตเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทางการฝรั่งเศสมุ่งเป้าไปที่การปรับโครงสร้างภายในประเทศ จนประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาประชากรศาสตร์ภายในประเทศ ซึ่งจากสองกรณีนี้ ไม่มีการหยิบยกเรื่องสตรีนิยมมาเป็นสาเหตุของการเกิดที่ต่ำเลย

วิกฤตประชากรของเกาหลีใต้

ดังนั้นวิกฤตประชากรของเกาหลีใต้ จึงควรเป็นภาวะฉุกเฉินระดับชาติเช่นกัน และทุ่มน้ำหนักทั้งหมดไปกับการหาแนวทางแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง มากกว่าการทำให้ เฟมินิสต์ กลายเป็นแพะรับบาป ในทางกลับกัน เกาหลีใต้อาจต้องยอมรับว่า ความกดดันในเรื่องเศรษฐกิจ ความกดดันในที่ทำงาน และการมีวันพักผ่อนที่น้อยเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชาวเกาหลีใต้ทั้ง “ชาย” และ “หญิง” ไม่อยากสร้างครอบครัวร่วมกัน มากกว่าประเด็นเรื่องเพศอื่นๆ

ยิ่งไปกว่านั้น เกณฑ์การแต่งงานในสังคมเกาหลีใต้ยังมีต้นทุนสูงมาก และค่านิยมว่าก่อนแต่งงานต้องซื้อบ้านให้ได้ก่อน ก็ยิ่งทำให้ชาวเกาหลีใต้เกิดความท้อแท้ในการสร้างครอบครัว รวมถึงเมินการแต่งงานมากขึ้น และการมีลูกก่อนแต่งงานยังคงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยากในสังคมของเกาหลีใต้อีกด้วย นั่นจึงนำมาสู่ปัญหาเด็กเกิดน้อยอย่างเลี่ยงไม่ได้

ที่มา : Eastasiaforum

ข่าวที่เกี่ยวข้อง  

related