svasdssvasds

สมรสจะเท่าเทียมแล้ว แต่มีสิทธิสร้างครอบครัวอย่างเท่าเทียมหรือยัง ?

สมรสจะเท่าเทียมแล้ว  แต่มีสิทธิสร้างครอบครัวอย่างเท่าเทียมหรือยัง ?

สมรสเท่าเทียมผ่านวาระ 2-3 แล้ว แต่สภาตีตกประเด็นเพิ่ม "บุพการีลำดับแรก" หวั่นต้องแก้กฎหมายเป็น 100 ฉบับตามมา

SHORT CUT

  • ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่ประชุมเห็นชอบ 399 เสียง ต่อไม่เห็นชอบ 10 เสียง มีผู้งดออกเสียง 32 คน ไม่ลงคะแนน 3 คน
  • ในวาระที่ 2 ที่พิจารณารายมาตรา ที่ประชุมปัดตก ประเด็นเพิ่มคำว่า "บุพการีลำดับแรก" ร่วมกับคำว่า "บิดา มารดา" หวั่นกระทบกฎหมายหลายฉบับ
  • ถ้าผ่านชั้น สว. ไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม และเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายนี้

 

สมรสเท่าเทียมผ่านวาระ 2-3 แล้ว แต่สภาตีตกประเด็นเพิ่ม "บุพการีลำดับแรก" หวั่นต้องแก้กฎหมายเป็น 100 ฉบับตามมา

27. มี.ค. 67 ที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรมีการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์’ หรือ ‘กมธ.สมรสเท่าเทียม’ ในวาระ2 และ 3 โดยมี นาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม

โดยนายดนุพร ปุณณกันต์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ.ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับ2560 ในมาตรา4 ได้กล่าวถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” ยืนยันว่าการแก้ไขไฉบับนี้เราทำเพื่อคนไทยทุกคน โดยร่างฉบับนี้มีจำนวน 68 มาตรา และมี 3 ประเด็นสำคัญดังนี้

  1. กมธ.เห็นว่าบทบัญญัติบางมาตราของ พ.ร.บ.มีการใช้ถ้อยคำไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมในปัจจุบันจึงมีการปรับถ้อยคำให้เกิดความเหมาะสมเกิดความเท่าเทียมทางเพศ
  2. กมธ.เห็นว่าเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการหมั้น และการสมรส ของบุคคลควรกำหนดไว้ที่18ปีบริบูรณ์เพื่อให้ผู้ที่จะทำการหมั้นสมรส มีอายุพ้นจากการเป็นเด็ก เพื่อสอดคล้องกฎหมายในประเทศและการคุ้มครองสิทธิเด็กฯและเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเป็นภาคี
  3. กมธ.ได้เพิ่มบทบัญญัติใหม่1มาตรา เพื่อกำหนดให้คู่สมรสมีสิทธิ หน้าที่ ตามกฎหมายอื่นในฐานะสามี ภรรยา

สมรสจะเท่าเทียมแล้ว  แต่มีสิทธิสร้างครอบครัวอย่างเท่าเทียมหรือยัง ?

อย่างไรก็ตามในกรณีที่กฎหมายฉบับใดกำหนดสิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมายหรือเรื่องอื่นใดแตกต่างกันหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังคงต้องทบทวนกฎหมายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ต่อไป

"ไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม และเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายนี้" นายดนุพร กล่าว

หลังจากนั้น เป็นการ พิจารณารายมาตรา (วาระ 2) โดยมีตัวแทนประชาชนและ กมธ.ภาคประชาชน ร่วมอภิปราย ได้แก่ “ภาคภูมิ พันธวงค์” อภิปรายสิทธิการก่อตั้งครอบครัวเพศหลากหลายในมาตรา 59 โดยเพิ่มคำว่า "บุพการีลำดับแรก" ร่วมกับคำว่าบิดา มารดา

ส่วน “ณชเล บุญญาพิสมภาร” กล่าวถึงอัตลักษณ์และรสนิยมของทุกเพศเพื่อยืนยันถึงความหลากหลาย และทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองในฐานะ "บุพการีลำดับแรก" ในมาตรา 59 รวมทั้ง “เคียวกะ โชติรัตน์” นอนไบนารี่ อายุ 18 ขึ้นอภิปรายยืนยันสิทธิการก่อตั้งครอบครัว และย้ำให้เพิ่มคำว่า "บุพการีลำดับแรก" ในมาตรา 59 ร่วมกับคำว่า บิดา มารดา

ทั้งนี้ ในวาระพิจารณารายมาตรา มีการรับรองมาตรา 13 "ชายหญิง" เป็น "บุคคลทั้งสองฝ่าย" เมื่อมีอายุ 18 บริบูรณ์มีสิทธิสมรสกันตามกฎหมาย และรับรองมาตรา 66/1 ให้คู่รักทุกเพศมีสิทธิเท่าเทียมกันยกเว้นการเลี้ยงดูบุตรและการรับบุตรบุญธรรม จะได้สิทธิเฉพาะคู่รักชาย-หญิง

บุพการีลำดับแรก ยังเป็นไม่ได้!

แต่เรื่องที่ กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ขอเพิ่มคำว่า ว่า "บุพการีลำดับแรก" ร่วมกับคำว่า “บิดา มารดา” นั้น สภาตีตกไป เพราะคำว่าบุพการีลำดับแรก เป็นคำใหม่ที่ไม่เคยมีในกฎหมาย จึงมีความเสี่ยงหากบังคับใช้ และจะกระทบต่อกฎหมายของประเทศ

โดยรายละเอียดของประเด็นนี้ ภาคภูมิ พันธวงค์ กรรมาธิการเสียงข้างน้อย อภิปรายว่า การมี บุพการีลำดับแรก บรรจุลงไปในร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะทำให้มีการรับรองทางกฎหมายของทุกอัตลักษณ์ พร้อมให้สิทธิผู้เลี้ยงดูบุตรของคู่สมรสที่มีความหลากหลาย

สมรสจะเท่าเทียมแล้ว  แต่มีสิทธิสร้างครอบครัวอย่างเท่าเทียมหรือยัง ?

ภาคภูมิอภิปราย เพิ่มเติมว่า การเพิ่มคำดังกล่าวจะช่วยให้ครอบครัวที่มีความหลากหลาย ถูกรับรองอย่างสมบูรณ์ หลังจากถูกลิดรอนสิทธิมานาน นอกจากนี้ยังย้ำว่า การใช้คำว่าบิดา มารดา โดยยังมีคนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง คือเรื่องผิดปกติ

ขณะที่ นัยนา สุภาพึ่ง กรรมาธิการเสียงข้างน้อย อภิปรายเสริมว่า ถ้าไม่เพิ่ม "บุพการีลำดับแรก" เข้าไปในกฎหมายฉบับนี้ ก็จะไม่ใช่กฎหมายสมรสเท่าเทียม ทว่าเป็นเพียงการเพิ่มสิทธิให้กลุ่มหลากหลายสมรสกันได้เท่านั้น แต่ยังไม่ใช้การรับรองคุ้มครองสิทธิของกลุ่มเพศหลากหลาย

นัยนาขอบยกตัวอย่างว่า ถ้าเป็นแบบนี้ คนข้ามเพศ ทรานส์ นอนไบนารี หรือคู่รักเพศเดียวกัน เวลามีลูก ต้องเขียนในช่องสูจิบัตรว่า "พวกเขาเป็นบิดามารดาหรือ ?"

สมรสจะเท่าเทียมแล้ว  แต่มีสิทธิสร้างครอบครัวอย่างเท่าเทียมหรือยัง ?

นอกจากนี้นัยนา ยังกล่าวว่า เป็นปัญหาในวิธีการทำงานของรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพราะต้องการให้ผ่านโดยเร็ว แต่เรายืนยันหลักการว่าต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ได้จริงและใช้ได้เลย การเคารพสิทธิ คนมีความรู้น้อยมาก แต่ถ้ากฎหมายเขียนไม่ชัดเจน ให้สิทธิแต่งงานแล้ว แต่พอถึงบทของการมีครอบครัว กลับเขียนไม่ชัดเจน

"คู่สมรส ก็ไม่เคยมี คำว่า บุพการีลำดับแรกก็เช่นกัน เขาจะกำหนดความสัมพันธ์ในครอบครัวไว้อย่างไร? ถ้าพ่อแม่มันจะความขัดแย้งในโครงสร้างครอบครัว ไม่ใช่กฎหมายกำหนด ความสัมพันธ์ ให้เขาติดคำการกำหนดเพศ ... ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นกฎหมายแม่บท แต่กฎหมายรับรองอัตลักษณ์และกฎหมายอุ้มบุญเป็นกฎหมายที่รองลงมา เพราะฉะนั้นไม่ใช่การแก้ไขหรือสร้างความเท่าเทียมที่ต้นทาง"  นัยนา กล่าว

ประเด็นดังกล่าว เกิดโชค เกษมวงศ์จิตร กรรมาธิการเสียงข้างมาก อภิปรายแย้งว่า การเพิ่ม “บุพการีลำดับแรก" ลงไปในกฎหมาย ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบตามมา และยังไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากประชาชนตามมาตรา 77 นั้น อาจทำให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และร่างกฎหมายนี้อาจถูกปัดตกทั้งฉบับได้

ท้ายที่สุด ที่ประชุมจึงมีมติตาม กรรมาธิการเสียงข้างมาก และหลังจากนั้น ที่ประชุมมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระ 3 ซึ่งผลปรากฏว่า 399 เสียงเห็นชอบ ต่อ 10 เสียงที่ไม่เห็นชอบ โดยมีผู้งดออกเสียง 32 คน ไม่ลงคะแนน 3 คน

ทำให้ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่านสภาในวาระ 2-3 ย่างเป็นทางการ และเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของชาว LGBTQ ที่รอคอยวันนี้มาอย่างยาวนาน

ทั้งนี้ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์กับ SPRINGNEWS ว่า หลังจากนี้จะมีการเสนอ ร่างพ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพฯ หรือ GEN-ACT ต่อสภาผู้แทนราษฎร และจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้คู่รัก LGBTQ ได้รับสิทธิในการสร้างครอบครัว โดยที่ไม่ต้องไปกระทบกับกฎหมายฉบับอื่น 

สมรสจะเท่าเทียมแล้ว  แต่มีสิทธิสร้างครอบครัวอย่างเท่าเทียมหรือยัง ?

ขั้นต่อไป ลุ้นในด่าน สว.

เมื่อกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายถึงชั้นวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ไม่มีอำนาจ ‘ปัดตก’ หรือทำให้ร่างกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้วหายไปได้ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และแก้ไขเพิ่มเติม เท่านั้น

แบบที่ 1: ถ้า สว. เห็นชอบด้วยกับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในสามวาระ ก็เท่ากับร่างกฎหมายผ่านสองสภา และเตรียมนำเข้าสู่ขั้นตอนประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

แบบที่ 2 : ถ้า สว. ไม่เห็นชอบด้วย ให้ “ยับยั้ง” ร่างกฎหมายไว้ก่อนและส่งกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 138 สภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่างกฎหมายนั้นกลับมาพิจารณาใหม่ได้หลังพ้นไปแล้ว 180 วัน

แบบที่ 3 : ถ้า สว. มีมติแก้ไขเพิ่มเติม ให้ส่งร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วไปยังสภาผู้แทนราษฎร และถ้า สส. เห็นชอบด้วย ก็นำสู่ขั้นตอนประกาศใช้เป็นกฎหมาย แต่ถ้า สส. ไม่เห็นด้วย ให้ตั้ง “คณะกรรมาธิการร่วม” ของสองสภาขึ้นมาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง โดยกรรมาธิการมีจำนวน สส. และ สว. เท่ากัน เมื่อกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างกฎหมายเสร็จแล้วให้เสนอต่อทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบด้วย ก็นำสู่ขั้นตอนประกาศใช้เป็นกฎหมาย แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบให้ยับยั้งร่างกฎหมายนั้นไว้ก่อน ซึ่ง สส. อาจยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้หลัง 180 วัน โดยอาจยืนยันร่างเดิม หรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาก็ได้

อย่างไรก็ตาม สมัยประชุมรัฐสภาสมัยสามัญประจำปีที่หนึ่ง ครั้งที่สอง กำลังจะปิดในวันที่ 10 เม.ย. 67 และจะเปิดสมัยประชุมหน้าในวันที่ 3 ก.ค. 67 ซึ่งคาดว่า สว. ชุดใหม่ จำนวน 200 คน ที่มาจากการ “เลือกกันเอง” ในกลุ่มอาชีพ น่าจะเข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว จึงมีโอกาสสูงที่ สว. 200 คนชุดใหม่จะเป็นผู้พิจารณา

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related