SHORT CUT
เปิดรายละเอียด "แผนจักรพงษ์ภูวนาถ" คืออะไร หลังกองทัพไทยสั่งใช้ตอบโต้กัมพูชา เหตุพลทหารลาดตระเวนเยียบกับระเบิดอีกที่ช่องอาน จ.อุบลราชธานี
จากเหตุการณ์ที่กำลังพลของกองทัพบกจาก ชุดลาดตระเวน กองพันทหารราบที่ 14 ประสบกับทุ่นระเบิดบริเวณห้วยบอน ช่องอานม้า อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นแนวพื้นที่ปฏิบัติงานตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ทำให้ทหารบาดเจ็บรวมทั้งสิ้น 5 นาย โดย 1 นาย ขาขวาได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการเหยียบกับระเบิด และอีก 4 นายมีอาการแน่นหน้าอก หูอื้อ จากแรงสั่นสะเทือนของแรงระเบิด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรับการรักษาอย่างเร่งด่วน ณ โรงพยาบาลน้ำยืน
กองทัพไทยสั่งการให้กำลังกองทัพภาคที่ 1 กองทัพภาคที่ 2 และกำลังส่วนต่าง ๆ เตรียมพร้อมปฏิบัติตามแผน "จักรพงษ์ภูวนาถ" เมื่อสั่ง
แผนจักรพงษ์ภูวนาถ คือแผนป้องกันประเทศที่สำคัญของกองทัพบกไทย ซึ่งถูกออกแบบมา เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความขัดแย้ง และภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายแดนที่มีความเปราะบาง
แผนป้องกันประเทศนี้ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนากองทัพไทยให้มีความทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ และทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกพระองค์แรก การนำพระนามของพระองค์มาเป็นชื่อแผน จึงเป็นการรำลึกถึงพระปรีชาสามารถ และพระวิสัยทัศน์ด้านการทหารของพระองค์
แม้ว่ารายละเอียดเชิงลึกของแผนจักรพงษ์ภูวนาถ จะถูกจัดเป็นข้อมูลลับทางราชการทหาร แต่จากข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ และการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง สามารถสรุปวัตถุประสงค์และสาระสำคัญของแผนได้ดังนี้:
6. การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การประกาศใช้ หรือสั่งเตรียมความพร้อมตามแผนจักรพงษ์ภูวนาถ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพบก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บัญชาการทหารบก ประเมินแล้วว่าสถานการณ์มีความสุ่มเสี่ยง และอาจลุกลามเป็นความขัดแย้งที่รุนแรง
การสั่งการดังกล่าวเปรียบเสมือนการส่งสัญญาณเตือนให้หน่วยที่เกี่ยวข้องเข้าสู่ภาวะเตรียมพร้อมสูงสุด (Highest Alert) โดยจะมีการดำเนินการในหลายมิติ เช่น การเคลื่อนย้ายกำลังพล และยุทโธปกรณ์ คือหน่วยทหารที่กำหนดไว้อาจมีการเคลื่อนย้ายไปยังที่ตั้งทางยุทธวิธีตามแนวชายแดน, การเพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวัง คือ เพิ่มกำลังในการลาดตระเวน และเฝ้าตรวจตามช่องทาง และจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ และการซักซ้อม และฝึกปฏิบัติ คือ มีการฝึกซ้อมตามสถานการณ์จำลอง (War Game) เพื่อให้กำลังพลมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนได้อย่างถูกต้อง
ที่มา : Army Military Force - สำรอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง