มัดรวม fake news ท่ามกลางการปะทะไทย - กัมพูชา เช็กแล้ว เนื้อหาบิดเบือน ไม่ตรงความจริง นี่ถือเป็นอีกหนึ่งอาวุธในยุคข้อมูลข่าวสารท่วมโลกออนไลน์
สงครามข่าวสารในยามที่เกิดเหตุขัดแย้ง เกิดข้อพิพาทต่างๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง สิ่งที่มีความสำคัญ ทั้งในเชิงจิตวิทยา การชักจูงมวลชน
ในเมื่อเรากำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง และข้อพิพาท ในพื้นที่ชายแดน กัมพูชา ‘อาวุธ’ ชนิดหนึ่งที่ถูกงัดขึ้นมาใช้ ก็คือการทำปฏิบัติการข่าวสาร หรือ Information Operations
องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการทำไอโอช่วงสงคราม คือ การทำโฆษณาชวนเชื่อ ข่าวปลอม (fake news) และเนื้อหาบิดเบือน (disinformation) จำนวนมาก เพื่อปลุกขวัญกำลังใจของคนในชาติตัวเอง และดึงดูดให้คนชาติอื่นสนับสนุนฝ่ายตัวเอง สงครามข่าวสารในยุคออนไลน์สู้กันทุกช่องทางที่คนนิยมใช้ ตั้งแต่ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก ไปจนถึง เทเลแกรม แอปที่ไม่มีรัฐบาลไหนสั่งปิดได้สำเร็จ
ดังนั้นเวลาที่เราเสพสื่อจากทั้งสองฝ่าย เราต้องมีการกลั่นกรอง และตรวจสอบ ข้อเท็จจริงก่อน เสมอ
ในวันที่ 24 กรกฎาคม ที่มีเหตุปะทะกันที่ชายแดน ไทย กัมพูชา - มีข่าวปลอม หรือ fake news เผยแพร่ออกมามากมาย และ เราไม่ควรเชื่อ ข้อความเหล่านี้ เพราะมีการตรวจสอบแล้ว ว่า "ไม่เป็นความจริง"
ข่าวเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย Anti-Fake News Center Thailand แล้ว และไม่ใช่ข่าวจริงทั้งสิ้น
#SPRiNG #ไทยกัมพูชา #ชายแดนไทยกัมพูชา #ฮุนเซน #ทักษิณ #กัมพูชา #ข้อพิพาทไทยกัมพูชา #ข่าวปลอมกัมพูชา #ข่าวปลอม