svasdssvasds

6 ตุลาคม 2519 ย้อนดู รัฐประหาร 13 ครั้งในไทย - การสูญเสียในการล้อมปราบประชาชน

6 ตุลาคม 2519 ย้อนดู รัฐประหาร 13 ครั้งในไทย - การสูญเสียในการล้อมปราบประชาชน

6 ตุลาคม 2566 วันนี้ ถือเป็นวันครบรอบ 47 ปี กับการ นองเลือดกลางเมืองครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ย้อนเข็มกลับไปในวันนั้น หากจะบอกว่า เป็นอีกวัน ที่ประเทศไทย ต้องเจอกับวันฝันร้าย ก็คงจะไม่ผิดจากความเป็นจริงเท่าไรนัก

เหตุการณ์ ล้อมปราบประชาชน ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ก็ถือเป็นอีก จุดหนึ่งของการเมืองไทย ที่นำไปสู่เหตุการณ์ "รัฐประหาร" ในเวลาต่อมาด้วย 

ณ หมุดหมายรอยร้าวเลือดการเมืองไทย  , ขอชวนย้อนรอย วันสำคัญของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาภายใน มธ. วันนั้น วันที่ 6 ตุลา 2519 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ราย แบ่งเป็น นักศึกษาและประชาชน 40 ราย และเจ้าหน้าที่รัฐ 5 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 145 ราย ผู้ถูกจับกุม 3,094 ราย โดยมีอยู่ 18 รายที่ตกเป็นจำเลย ตามการรวบรวมข้อมูลของโครงการ "บันทึก 6 ตุลา"

โดย ภายหลังเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือช่วงเวลา 3 ปี ก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 , ณ เข็มนาฬิกาเดิน ณ จุดนั้น  สถานการณ์การเมืองไทยมีประชาธิปไตยมากขึ้น กลุ่มตัวแทนของผู้ที่ถูกดขี่ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมมากขึ้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ออกนโยบายกระชับมิตรกับต่างประเทศมากขึ้น และยังให้ทหารอเมริกาย้ายฐานทัพออกจากไทยไป ทำให้ฝ่ายขวาไม่พอใจ และได้จัดตั้งกลุ่มต่อต้าน เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง ฯลฯ ขึ้นมาเพื่อสร้างความรุนแรง กลายเป็นแรงปะทุในการเมือง ในวันที่ 19 กันยายน 2519 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่ จอมพลถนอม กิตติขจร ที่กลับมาจากบวชพระทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงไล่ในหลายพื้นที่
 

ในช่วงต่อมา , ได้พบศพชาย 2 คน ถูกแขวนคอที่นครปฐม โดยมีความเชื่อว่าเป็นฝีมือของตำรวจ นักศึกษาจึงนำไปแสดงละครที่ ม.ธรรมศาสตร์ จากนั้นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และดาวสยามได้ลงภาพการแสดงละคร ทางฝ่ายขวาสร้างข้อกล่าวหาว่า เป็นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะในภาพมีการแต่งหน้าคล้ายองค์รัชทายาท หลังจากนั้นจึงมีการติดอาวุธเข้าไปล้อมธรรมศาสตร์ เกิดความรุนแรงมีนักศึกษาเจ็บและตายจำนวนมาก

คณะปฏิรูปการปกครองที่นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ จึงเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 จากนั้นคณะรัฐประหารจึงมอบอำนาจให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี และเชื่อกันอีกว่าการรัฐประหารนี้ได้งบสนับสนุนจากสหรัฐฯ ผ่าน กอ.รมน.และตำรวจ
 

• ย้อนรอย ประชาธิปไตยไทย กับ 13 การทำรัฐประหารสำเร็จในประเทศไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน 

1. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
2. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
3. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
4. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
5. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
6. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
7. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
8. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
9. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
10. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
11. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
12. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
13. รัฐประหารในประเทศไทย วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นำโดย พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา เป็นการประกาศรัฐประหารเพื่อให้รัฐมนตรีรักษาการทั้งหมดหมดอำนาจ และเปลี่ยนผ่านสู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

ขอให้ประเทศไทย พอแล้ว จบแล้ว กับการเล่นนอกเกม ทางการเมือง เพราะแค่นี้ ก็ถือว่า ร่องรอยบาดแผลการเมืองไทย มีมามากพอแล้ว ยิ่งรัฐประหารเท่าไร ประเทศไทยก็เหมือนใส่เกียร์ถอยหลัง มากเท่านั้น 

การรัฐประหาร ไม่ใช่เพียงแค่เป็นการ "เล่นนอกเกม" ล้มกติกาทุกอย่างทางการเมือง หรือ ล้าง ฉันทามติ แต่ ในบางครั้ง รัฐประหาร ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้น ของ ความไม่พอใจทั้งปวง  และ บางครั้ง รัฐประหาร ก็นำมาซึ่งความขัดแย้งของประชาชน  และสุดท้าย มันก็นำมาซึ่ง คราบน้ำตา จากการล้อมปราบประชาชน 

ประเทศไทยนั้น เคยมีเหตุการณ์การนองเลือด  ทางการเมืองมาแล้ว หลายครั้ง , ซึ่ง ทุกชีวิต ย่อมมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นชีวิตใครก็ตาม  และ ไม่ควรมีใคร ต้องมา พบกับความ "ตาย" จากการปราบปรามโดยรัฐ

ย้อนความสูญเสียตัวเลข จากเหตุการณ์ล้อมปราบประชาชน 


14 ตุลาคม 2516 

เมื่อเดือนตุลาคม  2516 เยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนออกจากบ้านไปร่วมกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่ เหตุการณ์ 14-15 ตุลาคม มีผู้เสียชีวิต 71 คน บาดเจ็บ 857 คน

เหตุการณ์ 14 ตุลา (พ.ศ. 2516) หรือ วันมหาวิปโยค หรือ วันมหาปิติ  เป็นเหตุการณ์การปราบปรามผู้ประท้วงบริเวณพระบรมมหาราชวังและถนนราชดำเนินอย่างรุนแรงโดยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร จนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน บาดเจ็บกว่า 800 คน และมีผู้สูญหายอีกเป็นจำนวนมาก

 6 ต.ค.2519  

ผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ราย  แบ่งเป็น นักศึกษา-ประชาชน 40 ราย เจ้าหน้าที่รัฐ 5 ราย ผู้บาดเจ็บ 145 ราย ผู้ถูกจับกุม 3,094 ราย เจ้าหน้าที่รัฐ สังหารหมู่ นักศึกษา, ทหารฉวยโอกาสยึดอำนาจต่อจากนั้น  

โดยจากเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ได้ทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร พ้นจากอำนาจ และต้องเดินทางออกนอกประเทศพร้อมจอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร แต่นับตั้งแต่กลางปี 2518 มีสัญญาณว่าเผด็จการทหารกลุ่มเดิมกำลังวางแผนที่กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง และเมื่อ 19 ก.ย. 2519 ถนอม ที่ถูกขับไล่ออกนอกประเทศและลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐฯ ได้เดินทางกลับไทยด้วยการบวชเป็นสามเณรเข้ามา โดยอ้างต่อสาธารณชนว่าตนจะอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ มิได้มุ่งแสวงหาอำนาจ และต้องการมาเยี่ยมบิดาที่ใกล้ถึงแก่กรรม

สามเณรถนอม (ณ ตอนนั้น) ออกจากสนามบินมุ่งตรงไปยังวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเข้ารับการอุปสมบท แต่มวลชนจำนวนมากยังไม่เชื่อว่าสามเณรถนอมปรารถนาความหลุดพ้นจริงๆ (สุดท้ายเขาก็สึกในปีต่อมา ก่อนเรียกร้องให้รัฐบาลคืนทรัพย์สินของเขาที่ถูกยึดไปด้วยข้อหาทุจริต) จึงพากันออกมาประท้วง

วันที่ 6 ตุลาคม 2519 คือวันที่เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อกองกำลังติดอาวุธซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐอย่างตำรวจตระเวนชายแดน และลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนนำได้ใช้กำลังเข้าทารุณกรรม และสังหารชีวิตของนักศึกษาอย่างไร้ปราณี ด้วยข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

พฤษภาทมิฬ 2535 


17 – 24 พ.ค. 2535
จากข้อมูลอย่างเป็นทางการ ผู้เสียชีวิต 44 ราย สูญหาย 48 ราย พิการ 11 ราย 
บาดเจ็บสาหัส 47 ราย บาดเจ็บรวม 1,728 ราย
รัฐบาลนายกฯ พล.อ. สุจินดา คราประยูร เป็นผู้ล้อมปราบ

สลายการชุมนุม 'ล้อมปราบประชาชน' พ.ค. 2553

การชุมนุมของ นปช. คนเสื้อแดง ปี 2553 เริ่มต้นเมื่อ 12 มีนาคม ‘12 มีนา 12 นาฬิกา ลั่นกลองศึกเขย่าขวัญอำมาตย์’ ด้วยข้อเรียกร้องหลักคือ ยุบสภาฯ ขับไล่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯที่ไม่ได้ชนะการเลือกตั้ง แต่เขาขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2551 หลังการยุบพรรคพลังประชาชน  

รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งหน่วยงานพิเศษ ‘ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน’ หรือ ศอฉ. ขึ้นมา โดยมี สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้อำนวยการ

และการ ‘ขอคืนพื้นที่’ และ ‘การกระชับวงล้อม’ ด้วยกระสุนจริง ในวันที่ 10 เมษายน - 19 พฤษภาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 94 ราย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related