svasdssvasds

“แพรรี่-เกิดผล” ร้องสภาทนายสอบมรรยาท “ทนาย” เหยียดเพศสภาพ-อาการป่วย

“แพรรี่-เกิดผล” ร้องสภาทนายสอบมรรยาท “ทนาย” เหยียดเพศสภาพ-อาการป่วย

“แพรรี่ ไพรวัลย์-เกิดผล” จับมือร้องเรียนสภาทนาย สอบมรรยาท “ทนาย” เหยียดเพศสภาพ-อาการป่วย ด้าน ”วิเชียร”นายกสภาฯ ชี้ให้ความเห็นกฎหมายได้ แต่ถ้าพบใครพูดไม่สร้างสรรค์ผิดมรรยาทโทษสูงถึงถอดชื่อจากสารบบ อดว่าความ

วันนี้ (29 ก.ย. 65) ที่ห้องแถลงข่าว ชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ถ.บางเขน
นายไพรวัลย์ วรรณบุตร (แพรรี่ ไพรวัลย์) พร้อมด้วยนายเกิดผล เเก้วเกิด ทนายความชื่อดังเดินทางมา ร้องเรียนสภาทนายความกรณีถูกทนนายความคนหนึ่ง (นายธรรมราช สาระปัญญา) กล่าวพาดพิงเหยียดเพศสภาพของนายไพรวัลย์ เเละกรณีการเจ็บป่วยของนายเกิดผล

 จากกรณีที่ นายไพรวัลย์ มีประเด็น วิวาทะกับ พระชาตรี เหมพันธ์ เจ้าอาวาสวัดพุทธวิหาร นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยมีนายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ นายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการสภาทนายความ นายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ สภาทนายความ รับเรื่องร้องเรียน

“แพรรี่-เกิดผล” ร้องสภาทนายสอบมรรยาท “ทนาย” เหยียดเพศสภาพ-อาการป่วย

 นายไพรวัลย์ กล่าวว่า ประเด็นที่มาร้องสภาทนายความในวันนี้มาจากเรื่องที่เป็นวิวาทะในสังคม ซึ่งตนกับพระสงฆ์รูปหนึ่งซึ่งก็นึกว่าจบไปแล้ว ก็ได้มีข้อยุติว่าเลิกแล้วต่อกันและยุติการตอบโต้ แต่มีทนายความคนดังกล่าวออกมาให้ความเห็น รวมถึงการไลฟ์สดพาดพิงตน ซึ่งแม้ไม่ได้มีการเอ่ยชื่อ แต่คนก็เข้าใจได้ว่าเป็นตน มองว่าเป็นการไม่เหมาะสมและเป็นการกระทำผิดมรรยาททนายความ จึงต้องใช้สิทธิมายื่นร้องเรียน เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม นอกจากเรื่องมรรยาทแล้ว ตนเตรียมจะดำเนินคดีอาญากับทนายความคนนี้ด้วย

“อันหนึ่งที่รับไม่ได้เลยคือการเหยียดเพศสภาพ เพราะไม่ว่าเป็นทนายความหรือบุคคลใดก็ตามไม่ควรพูดเหยียดในเรื่องเพศสภาพเพราะมันกระทบถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ทุกคนต้องเคารพในเมื่อเราอยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ไม่ควรเหยียดหยามล้อเลียนทำให้ผู้อื่นรู้สึกเสื่อมเสียเกียรติ” นายไพรวัลย์กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• P9D รีบขอโทษแทบไม่ทัน หลังทัวร์ลง ปมโพสต์พระตุ๊ดเพิ่งสึก คล้ายเหน็บ แพรรี่

• ทิดไพรวัลย์ ลั่น อย่าดึงฉันกับ พี่สมปอง ไปเทียบกับสมีที่ต้องปาราชิก

• น้าเน็ก ขอโทษ ทิดไพรวัลย์ อีกรอบ ยอมรับก่อนหน้านี้โกรธเลยเหน็บแนม

 ด้าน นายเกิดผล กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนได้แสดงความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่อง พรบ.คณะสงฆ์ ก็มีทนายความคนดังกล่าว ซึ่งการมีความเห็นทางกฎหมายไม่ตรงกันถือเป็นเรื่องปกติเเละเป็นเรื่องที่ดีแต่กลับโดนนำเรื่องสุขภาพจากที่ตนป่วยเป็นโรคไตเสื่อมระยะสุดท้ายมาพูดพาดพิงให้ได้รับความเสียหาย พูดเป็นเรื่องสนุกและไม่รู้สึกสำนึกจึงตัดสินใจมาร้องเรียนกับสภาทนายความเพื่อให้พิจารณาว่ากรณีการนำเรื่องความเจ็บป่วยดังกล่าวมาพาดพิงเนี่ยเป็นการกระทำผิดมรรยทนายความและเหมาะสมหรือไม่

 ขณะที่ นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า ได้รับการติดต่อจากนายไพรวัลย์
นายเกิดผล ถึงประเด็นการร้องมรรยาททนายความดังกล่าว ซึ่งสภาทนายความยินดีที่จะรับเรื่องทุกเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่สภาทนายความ เพราะสภาทนายมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกล่าวหา หรือถูกกล่าวหา โดยเราจะพิจารณาโดยยึดหลักของกฎหมาย เรื่องนี้เราจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะเป็นเรื่องที่สังคมจับตามองอยู่ ยืนยันว่า จะยึดมั่นความถูกต้องบนพื้นฐานของ หลักของกฎหมายเป็นสำคัญ สำหรับเรื่องมรรยาทที่มีการร้องเข้ามาในวันนี้แล้วเราจะพิจารณาอย่างไรนั้นขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะวันนี้เราพึ่งได้รับเป็นคดีมรรยาท ตามขั้นตอนจะต้องมีการสอบสวนก่อน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและพิจารณาว่าผิดหรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาแล้วผิดมีขั้นตอนใดมีโทษสถานใด ตรงนี้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวน และคณะกรรมการมรรยาทจะเป็นผู้พิจารณา

ส่วนเรื่องการลงโทษนั้น หากเมื่อสอบสวนแล้วได้ข้อยุติว่าทนายความคนใดที่ถูกกล่าวหานั้น กระทำผิดว่าด้วยข้อบังคับของสภาทนายความว่าด้วยเรื่องมรรยาท ข้อใด จะมีบทลงโทษดังต่อไปนี้ คือ 

1. ว่ากล่าวตักเตือน

2. ภาคทัณฑ์

3. พักใบอนุญาตสูงสุดไม่เกิน 3 ปี

4. ลบชื่อออกจากสารระบบทนายความ ตามพรบ.ทนายความปี 2528

 สำหรับขั้นตอนหลังจากรับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว หน้าที่ของตนและกรรมการสภาทนายความ ไม่ได้มีหน้าที่เข้าไปทำการสอบสวนเนื่องจากเป็นฝ่ายบริหาร ซึ่งต้องแยกออกจากคณะกรรมการมรรยาททนายความ โดยเรื่องนี้ทางฝ่ายบริหารจะส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการมรรยาททนายความจะเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งกรรมการสอบสวน ขึ้นมาพิจารณา หลังจากคณะกรรมการสอบสวนมีการพิจารณาแล้วก็จะส่งเรื่องกลับมายังกรรมการมรรยาททนายความ พิจารณาเห็นชอบ ข้อเท็จจริงอีกครั้งว่าเรื่องดังกล่าวสมควรจะลงโทษหรือไม่ เเละโทษที่ลงเหมาะสมหรือไม่ เสนอมายังกรรมการบริหารสภาทนายความกลั่นกรองเป็นขั้นตอนสุดท้าย 

 เมื่อถามถึงกรณีที่มีทนายความออกมาให้ความเห็นผ่านทางโซเชียลจนเป็นประเด็นในสังคมนั้นทางสมัครทางสภาทนายความมองเรื่องนี้อย่างไร นายวิเชียร กล่าวว่าทนายความนั้นสามารถให้ความเห็นทางกฎหมายได้ แต่การให้ความเห็นต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง อะไรก็ตามที่หมิ่นเหม่ หรือผิดข้อบังคับสภาทนายความ ตรงต้องรับผิดชอบ ถ้าพูดในเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์และเข้าข่ายผิดมรรยาททนายความ

related