svasdssvasds

อาการ อหิวาตกโรค การติดต่อและวิธีป้องกัน หลัง “แต้ว ณฐพร” แอดมิทรพ.

อาการ อหิวาตกโรค การติดต่อและวิธีป้องกัน หลัง “แต้ว ณฐพร” แอดมิทรพ.

ทำความรู้จัก อหิวาตกโรค โรคติดต่อระบาดอันตราย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาอาจตายในเวลา 2-3 ชั่วโมง

จากข่าวอาการป่วยของนางเอกสาว "แต้ว ณฐพร" เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ด้วยอาการป่วย เป็นอหิวาตกโรค ซึ่งเจ้าตัวได้ออกจากโรงพยาบาลแล้วและสามารถกลับไปทำงานได้แล้ว หลังจากที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ 4-5 วัน ด้วยอาการป่วยเป็นอหิวาตกโรค ตอนนั้นมีอาการติดเชื้อ คล้ายกับคนที่อาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลีย แต่ก็ได้แสดงสปิริตไปถ่ายละคร เพราะไม่อยากให้กองละคร และคนอื่นๆได้รับผลกระทบพร้อมฝากบอกขอบคุณแฟนๆ ที่แสดงความเป็นห่วง

อาการ อหิวาตกโรค การติดต่อและวิธีป้องกัน หลัง “แต้ว ณฐพร” แอดมิทรพ.

ล่าสุด รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้โพสต์ข้อความถึง อหิวาตกโรค พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อให้ประชาชนได้ระแวดระวัง โดยมีข้อความดังนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

อหิวาตกโรค เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน เริ่มด้วยอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่มีอาการปวดท้อง บางรายอุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว

ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจตายในเวลา 2-3 ชั่วโมง และอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50 แต่ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที อัตราป่วยตายจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1

สาเหตุ: เกิดจากการติดเชื้อ Vibrio cholerae ที่สร้างสารพิษเรียกว่า Cholera toxin

วิธีติดต่อ: ติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อที่มีชีวิตปนอยู่ เชื้อ El Tor สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน การรับประทานอาหารทะเลดิบ หรืออาหารดิบๆสุกๆ เป็นสาเหตุของการระบาดทั่วไป การติดต่อระหว่างบุคคลสู่บุคคลโดยตรง พบได้น้อยมาก

การป้องกัน: ดื่มน้ำที่สะอาด ทานอาหารที่ปรุงสุก ล้างมือให้สะอาดก่อนทานและหลังจากเข้าห้องน้ำ

การวินิจฉัยโรค

ใช้วิธีการเพาะเชื้อจากอุจจาระหรือดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด darkfield หรือ phase contrast จะเห็นลักษณะการเคลื่อนที่แบบเฉพาะของเชื้อ Vibrio ซึ่งจะถูกยับยั้งด้วย antiserum จำเพาะ ในพื้นที่ที่เกิดการติดเชื้อใหม่ๆ การแยกเชื้อต้องยืนยันด้วยการทดสอบทางชีวเคมีเบื้องต้น ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบดูด้วยว่าเชื้อโรคผลิตสารพิษด้วยหรือไม่ ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตโรคประจำถิ่น เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ต้องสงสัยรายแรกๆ ต้องยืนยันโดยการทดสอบทางชีวเคมีและซีโรโลยี่ที่เหมาะสมและสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้นด้วย

ระยะฟักตัว

ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ไปจนถึง 5 วัน เฉลี่ยประมาณ 2-3 วัน

ระยะติดต่อ

ตลอดระยะเวลาที่ตรวจพบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งปกติจะพบเชื้อได้อีก 2-3 วัน หลังจากผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว แต่บางรายอาจกลายเป็นพาหะต่อไปได้อีกหลายเดือน การให้ยาปฏิชีวนะ เช่น tetracycline จะช่วยลดระยะเวลาการแพร่เชื้อ ในผู้ใหญ่พบว่าการติดเชื้อเรื้อรังที่ทางเดินน้ำดี อาจเป็นได้นานเป็นปี และร่วมกับมีการปล่อยเชื้อ Vibrio ออกมากับอุจจาระเป็น ระยะได้

ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค

related