svasdssvasds

ปฏิบัติการ Shell Game ทลายแก๊งคอลเซนเตอร์ อินเดีย เหยื่อสูญเงินกว่า 3 พันล้าน

ปฏิบัติการ Shell Game ทลายแก๊งคอลเซนเตอร์ อินเดีย เหยื่อสูญเงินกว่า 3 พันล้าน

เปิดปฏิบัติการ Shell Game ทลายองค์กรอาชญากรรมไซเบอร์ข้ามชาติ ค้น 9 จุด ใน 4 จังหวัด รวบเคลือข่ายแก๊งคอลเซนเตอร์อินเดีย กบดานในไทย ตุ๋นผู้สูงวัยชาวอเมริกันกว่า 300 ราย สูญเงินกว่า 3 พันล้านบาท

วันที่ 22 มี.ค. 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ร่วมกับตํารวจลับ สหรัฐอเมริกา (US Secret Service) และสํานักงานสอบสวนกลางสหรัฐอเมริกา(FBI) ได้ร่วมกันสืบสวนจับกุมผู้ร่วม ขบวนการทลายเครือข่าย แก๊งคอลเซนเตอร์ ชาวอินเดีย ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมไซเบอร์ และมีพฤติการณ์ หลอกลวงเหยื่อผู้สูงอายุในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยออกอุบายข่มขู่ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีทำให้เกิดความกลัวโดยให้เหยื่อโอนเงินไปตรวจสอบ รวมทั้งใช้วิธีการส่งไวรัสไปยังคอมพิวเตอร์ของเหยื่อและหลอกให้โอนเงิน ซึ่งในปี 2563-2564 พบสถิติ 72,000 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 3,000 ล้านบาทจํานวนมาก ซึ่งพบว่ามีหลาย 'อาชีพ' ที่ตกเป็นเหยื่อ

โดยเจ้าหน้าที่ได้เปิด ปฏิบัติการ Shell Game  เข้าตรวจค้น 9 จุด ใน 4 จังหวัด สามารถจับกุมผู้ร่วมขบวนการพร้อมกัน 20 ราย 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

พล.ต.อ.ดํารงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้สั่งการให้กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สืบสวนจับกุมเครือข่ายขบวนการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

ซึ่งได้เปิดปฏิบัติการทําการเข้าตรวจค้น 9 จุด เพื่อจับกุมเป้าหมาย 36 ราย ใน จ.ชลบุรี, จ.ระยอง, จ.ร้อยเอ็ด และ จ.สุราษฎร์ธานี โดยเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 66 เวลาประมาณ 06.00 น. ชุดสืบสวน บช.สอท. ได้เข้าทําการตรวจ ค้นจับกุม ผู้ร่วมขบวนการ โดยมี ผู้ต้องหารายสําคัญ คือ

1. นายเทวันชู นันดากิชอร์ โจชิ อายุ 42 ปี (Pass. Z4510485) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 784/66 ลง 20 มี.ค. 66

2. นายอวตาร์ ซิงห์ อายุ 36 ปี (Pass.Z4575135) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 785/2566 ลง 20 มี.ค. 66

3. นายโยเกซ กุมาร อายุ 34 ปี (Pass.Z4903616) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 777/2566 ลง 20 มี.ค. 66

4. นายการุณัลกุมาร์ กอทเช็กไพ โทปิวาลา อายุ 40 ปี (Pass Z4225980) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 786 /2566 ลง 20 มี.ค. 66

5. นายคีตาน ตรีภูวันเดช ปานจัล อายุ 53 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 787/2566 ลง 20 มี.ค. 66

6. ผู้ร่วมขบวนการชาวไทย 15 ราย

ทั้งนี้ ยังเหลือผู้ต้องหาตามหมายจับในขบวนการที่ยังอยู่ระหว่างติดตามจับกุมอีก 16 ราย พร้อมด้วยของกลาง

1. บัญชีธนาคาร 162 บัญชี

2. โทรศัพท์มือถือ 61 เครื่อง

3. รถยนต์ 2 คัน

4. อาวุธปืน 1 กระบอก

5. อสังหาริมทรัพย์หลายรายการ

ข้อหา "ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง, ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันนําเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, สมคบกันโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทําความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทําความผดิ ฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และร่วมกันฟอกเงิน"

พฤติกรรมแห่งคดีที่น่าสนใจ เมื่อประมาณปลายปี 2565 ชุดสืบสวนบช.สอท.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ สํานักงาน ปปง., ตํารวจลับสหรัฐ (US Secret Service), สํานักงานสอบสวนกลางสหรัฐอเมริกา(FBI) และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา สืบสวน ทราบว่า มีกลุ่มองค์กรอาชญากรรม Cyber ข้ามชาติชาวอินเดียร่วมกับชาวไทย ก่อเหตุเป็น แก๊ง Call Center หลอกลวงผู้สูงอายุ ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยข่มขู่ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีทําให้เกิดความกลัวโดยให้เหยื่อโอนเงินไปตรวจสอบ หรือ คนร้ายส่งไวรัส และ Hack เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อและหลอกให้โอนเงิน 

ซึ่งในปี 2563-2564 พบสถิติ 72,000 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคดีนี้รัฐบาลสหรัฐได้ ส่งคําร้องขอความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา จํานวน 365 คดี มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 3 พันล้านบาท โดยพบว่าขบวนการคนร้ายได้หลอกลวงเงินก้อนสุดท้ายในชีวิตของเหยื่อแต่ละราย

ซึ่งเหยื่อมีทั้ง อาชีพหมอ อาจารย์มหาวิทยาลัย ทันตแพทย์ ทหารและเจ้าของธุรกิจ โดยขบวนการมีลักษณะเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแบ่งหน้าที่กันทํางาน เพื่อยักย้ายถ่ายเทปกปิดซ่อนเร้นทรัพย์สินที่ได้จากการกระทําความผิด โดยใช้ประเทศไทย กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรต เปรูและโปแลนด์ เป็นแหล่งรับเงินที่ได้จากการหลอกลวง 

ชุดสืบสวนจับกุมจึงได้แฝงตัวเข้า ในระบบ เพื่อสืบสวนติดตามจับกุมตัวเครือข่ายผู้ร่วมขบวนการ ซึ่งจากการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ และได้ สืบสวนทางการเงินอย่างเป็นระบบ จนทราบว่า มีเงินหมุนเวียนในเครือข่ายกว่า 1 พันล้านบาท โดยพบบัญชีธนาคาร นิติบุคคลใน เครือข่าย ร้านทองและกิจการร้านอาหาร สถานบันเทิงในพื้นที่ จ.ชลบุรี หลายแห่งที่ใช้ใน การฟอกเงิน ให้กับเครือข่ายขบวนการ โดยใช้ในการโอน รับโอน ผลประโยชน์ที่ได้จากการหลอกลวงเหยื่อ ซึ่งพบว่ามียอดเงินหมุนเวียนกว่า 10 ล้านบาท ทุกเดือนในแต่ละบัญชี

เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้ลงพื้นที่สะกดรอยกลุ่มผู้ต้องหาแต่ละคนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติศาลอาญาออกหมายจับ กลุ่มผู้ต้องหา และขอหมายค้นเพื่อทําการตรวจยึดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง จนนําไปสู่การเปิด ปฏิบัติการ SHELL GAME ทลายองค์กรอาชญากรรมไซเบอร์ข้ามชาติเพื่อจับกุมดําเนินคดีกลุ่มผู้ต้องหาทั้งหมด

ซึ่ง บช.สอท. ช่วยเหลือประชาชนไม่ว่าเชื้อชาติใดและจะได้ประสานสํานักงาน ปปง.เพื่อขยายผลดําเนินคดี ฟอกเงิน เครือข่ายกลุ่มผู้ต้องหาทั้งหมด เพื่อยึดทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องจากการกระทําความผิดทั้งหมดต่อไป

ปฏิบัติการ Shell Game ทลายแก๊งคอลเซนเตอร์ อินเดีย เหยื่อสูญเงินกว่า 3 พันล้าน

ปฏิบัติการ Shell Game ทลายแก๊งคอลเซนเตอร์ อินเดีย เหยื่อสูญเงินกว่า 3 พันล้าน

ปฏิบัติการ Shell Game ทลายแก๊งคอลเซนเตอร์ อินเดีย เหยื่อสูญเงินกว่า 3 พันล้าน

related