svasdssvasds

“แพทองธาร” ปลื้ม 6 ภาพยนตร์ไทยได้ฉาย Osaka Asian Film Festival โดยรัฐสนับสนุน

“แพทองธาร” ปลื้ม 6 ภาพยนตร์ไทยได้ฉาย Osaka Asian Film Festival โดยรัฐสนับสนุน

“อิ๊งค์ แพทองธาร” แสดงความยินดี 6 ภาพยนตร์ไทย ได้ฉายในงานเทศกาล Osaka Asian Film Festival ย้ำทุกเรื่องได้รับการสนับสนุนงบจากรัฐบาล ชี้ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอีก แย้มเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรมที่สร้างซอฟต์พาวเวอร์

SHORT CUT

4. หุ่นพยนต์ (Hoon Payon)

หุ่นพยนต์ กำกับโดย  ภณธฤต โชติกฤษฎาโสภณ ธาม ดั้นด้นเดินทางมาหาพี่ชาย ที่วัดบนเกาะดอนสิงธรรม เพื่อแจ้งข่าวร้ายกับการจากไปของพ่อและแม่ เมื่อธามเดินทางมาถึงก็ได้พบกับ เจษ หลานชายของเจ้าอาวาสคนเก่า และมีข่าวลือว่าพี่ชายของเขาได้หนีหายสาบสูญหลังจากลงมือฆ่าอดีตเจ้าอาวาสจนมรณภาพ ธามไม่เชื่อกับข่าวลือพอๆ กับการไม่นับถือหุ่นปั้นพ่อปู่สิงธรรมที่ดูเหมือนภูติผีมากกว่าเทพที่คอยปกปักรักษา

หุ่นพยนต์ (Hoon Payon)

จนกระทั่งเกิดเหตุอาเพศในหมู่บ้าน เมื่อมีหญิงสาวคนหนึ่งสูญหาย สัตว์ร้ายออกเพ่นพ่าน ผีตายโหงออกอาละวาด ชาวบ้านโกรธแค้นเตรียมตั้งพิธีกรรมสาปแช่งถึงมือมืด เตรียมตัวเผชิญหน้ากับความน่ากลัวครั้งใหม่ ถ้าเล่นกับความงมงาย ท้าทายกับศรัทธา ต้องกล้าเผชิญหน้ากับสิ่งที่มองไม่เห็น!

5. แว่วเสียงไฟ (Blazed Away) กำกับโดย ศุภามาศ บุญนิล

6. How We Say Goodbye กำกับโดย ธันยชนก อภิสัมโพธิ์กุล

โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอแสดงความยินดีเป็นพิเศษกับ เพื่อน(ไม่)สนิท (Not Friends) และ ทะเลของฉันมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง (Solids by the Seashore) ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลใหญ่ของเทศกาล ทั้ง Grand Prix และ Most Promising Talent Award หวังว่าเราทุกคนจะได้ยินข่าวดีกัน 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ภาคเอกชนจะเดินทางไปเทศกาลนานาชาติด้วยตัวเอง โดยแทบไม่ได้มีการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงไม่มีการประชาสัมพันธ์อัตลักษณ์ภาพยนตร์ไทยสู่สายตาชาวโลก แต่ครั้งนี้รัฐบาลได้จัดโปรแกรมภาพยนตร์ และภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ได้ไปฉายจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ เพราะถือว่าไปในนามรัฐบาล และการสนับสนุนเช่นนี้เป็นผลจากการรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนคนทำภาพยนตร์

เรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยหากเทียบกับภารกิจอีกมากมายของรัฐบาล แต่มีความหมายมากสำหรับคนทำภาพยนตร์ จุดเปลี่ยนเล็กๆ ครั้งนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ในอนาคต ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดที่ภาครัฐมีต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยไปตลอดกาลค่ะ เพราะกว่าจะมีการสนับสนุนเป็นเรื่องยากมากๆ แต่เกิดขึ้นแล้วก็จะต้องมีครั้งต่อๆไป 

นอกจากงานเทศกาล Osaka Asian Film Festival รัฐบาลยังสนับสนุนภาพยนตร์ไทยที่ไปฉายในเทศกาลนานาชาติอื่นๆ นั่นคือ International Film Festival Rotterdam (เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเตอร์ดัม) และที่ Berlin International Film Festival (เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน) อีกด้วย

สำหรับงานเทศกาลภาพยนตร์ คือโอกาสต่อยอดทางธุรกิจที่สำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การฉายภาพยนตร์ แต่เป็นโอกาสที่จะทำให้ต่างชาติได้เห็นศักยภาพในการสร้างภาพยนตร์ของไทย รวมถึงมีโอกาสได้พูดคุยเรื่องการซื้อขายภาพยนตร์ การซื้อขายลิขสิทธิ์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกันในอนาคตอีกด้วย ความสำเร็จนี้เป็นการทำงานร่วมกันของหลายส่วน ทั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านภาพยนตร์ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการต่างประเทศ ที่ทำงานกันอย่างเข้มข้น ฝ่าฟันอุปสรรคโดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณที่ต้องขออนุมัติเร่งด่วน

“ผลงานนี้เกิดขึ้นเพราะการทำงานแบบเอกชนเป็นผู้นำ และรัฐบาลเป็นผู้ซัพพอร์ตค่ะ นี่คือตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่เราได้เปลี่ยนแปลงจากการทำงานในช่วงเริ่มต้น หลังจากนี้ความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ จะเกิดขึ้นอีก และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ขึ้น และใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรมที่สร้าง Soft Power อยากให้ทุกท่านติดตามการทำงานของเราต่อไปนะคะ”

ที่มา : Ing Shinawatra 

“อิ๊งค์ แพทองธาร” แสดงความยินดี 6 ภาพยนตร์ไทย ได้ฉายในงานเทศกาล Osaka Asian Film Festival ย้ำทุกเรื่องได้รับการสนับสนุนงบจากรัฐบาล ชี้ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอีก แย้มเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรมที่สร้างซอฟต์พาวเวอร์

วันที่ 28 มกราคม 2567 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Ing Shinawatra ระบุว่า

ขอแสดงความยินดีกับภาพยนตร์ไทยทั้ง 6 เรื่อง ที่ได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ Osaka Asian Film Festival 2024 โดยรัฐบาลสนับสนุนจัดโปรแกรมภาพยนตร์ไทยในชื่อ Thai Cinema Kaleidoscope 2024

6 ภาพยนตร์ไทยได้ฉาย Osaka Asian Film Festival

สำหรับภาพยนตร์ไทยทั้ง 6 เรื่อง มีดังนี้ 

1. สัปเหร่อ (The Undertaker)

ภาพยนตร์ลำดับที่ 6 ภาคแยกในจักรวาลไทบ้านเดอะซีรีส์ เป็นภาพยนตร์สยองขวัญ ตลก ดราม่า โดยผู้กำกับธิติ ศรีนวล ภาพยนตร์ได้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของความเชื่อพื้นถิ่น วิถีชีวิตของอาชีพสัปเหร่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับคนตายที่สัมพันธ์กับคติธรรมเรื่องของการปล่อยวาง

ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนของภาพยนตร์ไทยท้องถิ่นอีสาน เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ภาพยนตร์ ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ ที่เข้าฉายเมื่อปี พ.ศ. 2557 

เพื่อน(ไม่)สนิท (Not Friends) กำกับโดย อัตตา เหมวดี

รวมถึงเป็นหนึ่งในสิบอันดับภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุด ซึ่งเป็นภาพยนตร์จากบริษัทผู้สร้างอิสระเรื่องเดียวที่ติดอันดับดังกล่าว ทำเงินเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 244.95 ล้านบาท (ทำเงินรวมทั่วประเทศ 729.6 ล้านบาท) จากทุนสร้าง 15 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์จากจักรวาลไทบ้านที่ทำเงินเปิดตัวได้สูงสุดและทำรายได้สูงสุด

 

 

 

 

2. เพื่อน(ไม่)สนิท (Not Friends) กำกับโดย อัตตา เหมวดี

ภาพยนตร์แนวตลกดราม่าในรั้วโรงเรียนของ GDH กำกับโดย อัตตา เหมวดี

เป้ เด็ก ม.6 ที่กำลังถูกพ่อกดดันในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้รู้ข่าวการรับนักศึกษาเข้าเรียนโดยการทำหนังสั้นส่งประกวด เขาจึงเกิดไอเดียในการนำเรื่องของ โจ เพื่อน(ไม่)สนิทที่นั่งโต๊ะติดกัน แต่ดันโชคร้ายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ มาทำเป็นหนังสั้นด้วยความเชื่อที่ว่า "ทำหนังเกี่ยวกับคนที่จากไป ยังไงแม่งก็ซึ้ง" แต่เรื่องก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเป้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำหนังเลย แถมยังเจออุปสรรคจาก โบเก้ เพื่อนสนิทตัวจริงของโจ ที่โชว์สปิริตเสนอตัว ขอมาช่วยทำหนังสั้นเรื่องนี้แบบที่เป้ไม่รู้ว่าจะปฏิเสธยังไงดี

เพื่อน(ไม่)สนิท (Not Friends)

ภารกิจในการทำหนังสั้นที่มีอนาคตของเป้เป็นเดิมพันจึงเริ่มต้นขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากคณะเด็กเนิร์ดหนังประจำห้องโสต ท่ามกลางการรับรู้ของคนทั้งโรงเรียนและแรงกดดันจากครอบครัวของโจ ที่เฝ้ารอชมผลงานหนังสั้นสุดประทับใจของคนที่จากไป

แต่ในเวลาเดียวกัน การถ่ายหนังสั้นให้เพื่อนไม่สนิทของเป้ครั้งนี้ กลับทำให้เขาได้ค้นพบ ความลับ อะไรบางอย่างที่โจซ่อนเอาไว้ ซึ่งอาจจะกระทบต่อความทรงจำ และก้อนความสัมพันธ์ที่อยู่ในใจ ซึ่งพวกเขาเคยมีให้เพื่อนคนสำคัญคนนี้ไปตลอดกาล

3. ทะเลของฉันมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง (Solids by the Seashore) 

กำกับโดย ปฏิภาณ บุณฑริก บอกเล่าเรื่องราวของ "ชาตี" หญิงสาวชาวมุสลิมในจังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคใต้ ได้พบกับ "ฝน" ศิลปินหญิงที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะเกี่ยวกับเขื่อนหินกั้นคลื่น ทั้งคู่สนิทสนมกันจนเกิดความรู้สึกบางอย่างขึ้นในใจ ท่ามกลางกระแสคลื่นที่ซัดกระทบเขื่อนหินและกัดเซาะชายหาดในเวลาเดียวกัน เมื่อบางครั้งสิ่งที่สร้างมาเพื่อป้องกัน แต่กลับเป็นตัวการทำลายชายหาดเสียเอง

ทะเลของฉันมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง (Solids by the Seashore) 

"ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง" สามารถคว้าสองรางวัล ได้แก่ LG OLED New Currents Award และ NETPAC Award จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 28 (BIFF) มาครองได้สำเร็จ

 

related