ด่วน! ศาล รธน.มติเอกฉันท์สั่ง ‘ทวี สอดส่อง’ หยุดปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกำกับดูแล ‘ดีเอสไอ’ หลังถูกร้อง สอบคดีฮั้ว สว.มิชอบ ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องส่งข้อมูลเพิ่มใน 15 วัน
วันที่ 14 พ.ค. 2568 ศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสาร เรื่องพิจารณาที่ 8/2568 กรณีประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระพรวงกลาโหม ผู้ถูกร้องที่ 1 และพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (8) และ (5) หรือไม่
กรณีนี้สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เข้าชื่อเสนอคำร้องต่อประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) โดยกล่าวอ้างว่า การที่ผู้ถูกร้องทั้งสองมีมติให้การกระทำความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2597 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) เป็นการแทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเครื่องมือแทรกแชงกระบวนการตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นการกลั่นแกล้ง กดดัน ข่มขู่ และครอบงำสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจและฝ่าฝืนหลักนิติธรรม จึงถือได้ว่าผู้ถูกร้องทั้งสองไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีพฤติกรรมเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ ฉบับลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 และวันที่ 14 พฤษภาคม 2568
ล่าสุด ศาลมีรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสกสารหลักฐานตามประเด็นที่ ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
สำหรับกรณีปรากฎข้อเท็จจริงตามคำร้องเพิ่มเพิ่มเติมของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 พร้อมเอกสารประกอบ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีญคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยถึงที่สุด ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังไม่ปรากฎเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้องที่จะสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หยุดปฏิบัติหน้าที่
ส่วนผู้ถูกร้องที่ 2 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่และอำนาจในการสั่งและปฏิบัติราชการในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการกระทรวงยุติธรรมอันรวมไปถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามคำร้องเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ ปรากฎเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 มีกรณีตามที่ถูกร้อง จึงสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 2 หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษและรองประธานกรรมการคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2568 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย