svasdssvasds

กทม. VS คมนาคม สรุปปมปัญหา ค่ารถไฟฟ้าฯ พุ่งเป็น 104 บาท ?

กทม. VS คมนาคม สรุปปมปัญหา ค่ารถไฟฟ้าฯ พุ่งเป็น 104 บาท ?

เปิดที่มาของศึกขยายสัมปทานรถไฟฟ้า ระหว่าง กทม.กับกระทรวงคมนาคม ที่ไปๆ มาๆ ประชาชนอาจต้องรับเคราะห์ จ่ายค่ารถไฟฟ้าแพงระยับ 104 บาท

ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่กระทบกับคนกรุง และผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านปริมณฑลเป็นอย่างมาก จากกรณี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ประกาศอัตราค่ารถไฟฟ้า สูงสุด 104 บาท ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 16 ก.พ. นี้

เมืองไทยมาถึงวันนี้ได้อย่างไร ? ที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไป-กลับ สำหรับคนที่ต้องเดินทางจากต้นทาง ไปยังปลายทาง คิดแล้วเท่ากับ 70 % ของอัตราคาจ้างขั้นต่ำ และมีแนวโน้มว่าจะแพงที่สุดในโลก ! สปริงสรุปปมปัญหาให้เข้าใจง่ายๆ ดังต่อไปนี้

กทม. VS คมนาคม สรุปปมปัญหา ค่ารถไฟฟ้าฯ 

1. กทม. จะเสนอสัญญาขยายสัมปทานรถไฟฟ้า BTS เป็นเวลา 30 ปี จากปี 2572 - 2602 ให้ ครม. พิจารณา โดยตอนแรกจะเข้าที่ประชุม ครม. ตั้งแต่ปี 2562

2. แต่ “สัญญาขยายสัมปทานรถไฟฟ้า BTS เป็นเวลา 30 ปี” ก็ยังเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ไม่ได้ เพราะกระทรวงคมนาคม ทักท้วง

3. เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายเสร็จสมบูรณ์ เมื่อปลายปี 2563 ก็มีข่าวว่า อัตราค่าโดยสารจะสูงถึง 158 บาท จากปัจจุบัน 59 บาท โดย กทม.อ้างว่า ที่ผ่านมา ได้เปิดให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายฟรี ตั้งแต่ปี 2561 เมื่อมีการเก็บค่าบริการ ค่าโดยสารจึงต้องสูงขึ้น รวมถึงอ้างภาระหนี้จากการว่าจ้างต่างๆ ที่ กทม. ต้องแบกรับ

กทม. VS คมนาคม สรุปปมปัญหา ค่ารถไฟฟ้าฯ พุ่งเป็น 104 บาท ?

4. ต่อมาช่วงกลางเดือนมกราคม 2564 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ก็ประกาศค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีเขียวอัตราใหม่ สูงสุด 104 บาท จะมีผลบังคับใช้วันที่ 16 ก.พ. นี้

แต่จากการชี้แจงหลังจากนั้น ก็มีการพูดถึงการต่อสัญญาสัมปทานว่า ตามเงื่อนไขแล้ว จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียว มีอัตราสูงสุด 65 บาท

5. ประเด็นเรื่องค่าโดยสาร 65 บาท ถ้าต่อสัญญาสัมปทาน ก็กลายเป็นเผือกร้อนโยนไปยังกระทรวงคมนาคม ทันที โดยมีการโยงว่า เพราะกระทรวงคมนาคม ทักท้วง ทำให้เรื่องการต่อสัญญาสัมปทาน ไม่สามารถเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ได้

6. แต่ถ้ามองดีๆ ประเด็นนี้ไม่ได้อยู่ที่ค่าโดยสาร 104 บาท หรือ 65 บาท แต่อยู่ที่ว่า เงื่อนไขในสัมปทาน ค่าโดยสาร 65 บาท ยังถือว่าแพงเกินไป และจะสร้างภาระให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก ฉะนั้น กระทรวงคมนาคม จึงต้องทักท้วง เพื่อให้ราคาค่าโดยสารต่ำลง  

7. ต่อมากระทรวงคมนาคม ได้มีการเผยแพร่หนังสือเรียกร้องให้ กทม. ระงับการประกาศอัตราค่ารถไฟฟ้า สายสีเขียว สูงสุด 104 บาท แต่เนื่องจาก กทม. ขึ้นตรงกับมหาดไทย กระทรวงคมนาคม จึงไม่สามารถสั่งการอะไรได้

และหลายฝ่ายประเมินว่า การขึ้นราคาบ้าดีเดือดครั้งนี้ อาจเป็นเกมเพื่อกดดันกระทรวงคมนาคม ไม่ให้ทักท้วง การต่อสัญญาสัมปทานจะได้เข้า ครม. และได้รับการอนุมัติสักที

8. แต่กระทรวงคมนาคม ก็ยังยืนยัน การต่อสัมปทานฯ ค่าโดยสารต้องไม่ใช่ 104 บาท และต้องต่ำกว่า 65 บาท

ส่วนเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร วันที่ 16 ก.พ. อัตราค่าโดยสารสูงสุด รถไฟฟ้าสายสีเขียว อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 104 บาท หรือไม่ ? ก็ต้องติดตามกันต่อไป

กทม. VS คมนาคม สรุปปมปัญหา ค่ารถไฟฟ้าฯ พุ่งเป็น 104 บาท ?

เปิด 5 เหตุผล กรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร มีมติไม่เห็นด้วย ที่ กทม. ประกาศอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า

 และเมื่อวันที่ 21 มกราคม ที่ผ่าน กมธ. คมนาคม มีมติไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของทาง บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และมีมติให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เลื่อนการขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว (15-104 บาท) ที่จะมีผลวันที่ 16 ก.พ. โดยคณะกรรมาธิการได้พิจารณาแล้วมีเหตุผล 5 ข้อ ดังนี้

1. อายุสัมปทานยังเหลืออีก 8 ปี ซึ่งมีเวลาเพียงพอในการพิจารณาให้รอบคอบ

2. เรื่องความโปร่งใสในการต่ออายุสัมปทาน

3. การพิจารณาไม่ได้ผ่านหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. วินัยทางการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้การดำเนินการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐ ให้จัดทำงบประมาณการสูญเสียรายได้และผลประโยชน์ที่ได้รับเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้วย

4. ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท (ในสัญญาการขยายสัมปทาน) ไม่สามารถชี้แจงได้ว่าคำนวณมาจากฐานใด รวมถึงไม่มีข้อมูลจำนวนผู้โดยสารหรือความคุ้มค่าการลงทุน โดย กทม. ระบุว่า แค่สอบถามความเห็นของประชาชนแล้วเป็นอัตราที่ประชาชนรับได้

5. ความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ประชาชนได้ ซึ่งหน่วยงานที่เข้ามาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ ไม่สามารถชี้แจงได้ว่า หากไม่ต่อสัมปทานในครั้งนี้ รัฐและประชาชนจะเสียประโยชน์อะไรและได้รับประโยชน์อย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจาะลึก ตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว แพงเว่อร์ 104 บาท ปัญหาเกิดจากอะไร ?

 

related