25 ก.พ. 2564 เวลา 5:21 น.
มีแนวโน้มว่า จะกลายเป็นปมปัญหาระดับมหากาพย์ กรณีการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ล่าสุด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ได้ยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
โดยรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่อยู่ในการกำกับดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. สังกัดกระทรวงการคมนาคม ได้ถูกนำไปอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในฐานะ รมว.การคมนาคม
แต่ถ้าให้ตัดเกรดแล้ว ก็ต้องขอบอกว่า หลายๆ ประเด็น นอกจากนายศักดิ์สยามจะชี้แจงได้ไม่เคลียร์ ยังก่อให้เกิดความฉงนสงสัยเพิ่มขึ้นไปอีก !
ซึ่งจากการที่สปริงเกาะติดปมรถไฟฟ้าอย่างติดหนึบ เห็นความพิสดารพันลึกต่างๆ มากมาย ที่ยิ่งเจาะยิ่งค้น ก็ยิ่งเกิดคำถาม และต่อไปนี้ คือ 5 คำถามที่นายศักดิ์สยามต้องตอบ เพื่อสร้างความกระจ่างให้กับสังคม
การเปลี่ยนเกณฑ์ประเมินการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม คือจุดเริ่มต้นแห่งปมปัญหา ซึ่งได้มีการเปิดให้เอกชนที่สนใจ ซื้อเอกสารการประมูล เมื่อวันที่ 10 - 24 กรกฎาคม 2563 และมีเอกชนซื้อเอกสาร 10 ราย เส้นทางสายเดือด ก่อนล้มประมูล ! “สามารถ” เปิดปมปัญหา รถไฟฟ้าสายสีส้ม
ต่อมาได้มีเอกชนรายหนึ่ง ยื่นคำร้องขอให้เปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินใหม่ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็มีมติเห็นชอบ ทำให้ BTSC ซึ่งเป็น 1 ในเอกชนที่ซื้อเอกสารการประมูล เห็นว่าไม่เป็นธรรม จึงยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563
ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้เกณฑ์ประเมินใหม่ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ต่อมา รฟม. ได้ยื่นอุทธรณ์กับศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563
สิ่งที่สร้างความข้องใจให้กับสังคมก็คือ ในกรณีที่ประกาศหลักเกณฑ์ประเมิน และมีผู้สนใจซื้อเอกสารฯ ไปแล้ว สามารถปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ภายหลังได้ด้วยหรือ ?
อีกทั้งการยื่นคำร้องขอให้เปลี่ยนหลักเกณฑ์ ก็มีเพียงเอกชนรายเดียวเท่านั้นจากทั้งหมด 10 ราย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้ง และถูกตั้งข้อสงสัยว่า จากศึกรถไฟฟ้าสายสีส้ม ได้ลุกลามไปยังการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวด้วยหรือไม่ ?
จากช่วงจังหวะเวลาระหว่างปัญหาการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม กับปัญหาการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สอดคล้องกันอย่างน่าฉงน ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มันเป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ หรือ ? ศึกรถไฟฟ้าสายสีส้ม สะเทือนการต่อสัมปทานรถไฟสายสีเขียว ?
การพิจารณาต่อสัญญาสัมปทานให้กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2562 ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ที่มีกระทรวงมหาดไทยเป็นต้นสังกัด
โดยมีคำสั่ง คสช. ให้ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ต่อมากระทรวงมหาดไทย ต้นสังกัดของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นเจ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็ได้ส่งหนังสือขอความเห็นชอบ ในการต่อสัมปทานให้กับ BTS หรือ BTSC จากปี 2572 - 2602
วันที่ 24 ตุลาคม 2562 กระทรวงการคมนาคม ได้ส่งหนังสือแจ้งว่า เห็นชอบในการต่อสัมปทาน และได้ส่งหนังสือยืนยันว่าเห็นชอบ อีก 2 ครั้ง คือวันที่ 30 มีนาคม 2563 กับวันที่ 9 มิถุนายน 2563 รวมเป็นทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งทุกครั้งลงชื่อ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.การคมนาคม
เรื่องกำลังจะเข้าสู่ ครม. จ่ออนุมัติอยู่รอมร่อ แต่แล้วจู่ๆ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงคมนาคม ก็มีข้อทักท้วง 4 ข้อ ประกอบด้วย
- การดำเนินการไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ
- อัตราค่าโดยสาร 65 บาท ยังสูงเกินไป
- การขยายสัมปทาน อาจทำให้รัฐไม่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
- ควรรอผลการตัดสินจาก ป.ป.ช. ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบย้อนหลัง
ข้อทักท้วงของกระทรวงการคมนาคม ถือว่ามีเหตุผลที่ฟังขึ้น โดยเฉพาะเรื่องราคา 65 บาท ที่สูงเกินไป แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ก่อนหน้านั้น 3 ครั้ง ทำไมกระทรวงคมนาคมจึงเห็นชอบมาโดยตลอด แต่กว่าจะมีข้อทักท้วง ก็ปาไปปีกว่าๆ นับจากได้รับหนังสือขอความคิดเห็นครั้งแรก ศึกรถไฟฟ้าสายสีเขียว ! เปิด 4 ประเด็น คมนาคม ค้าน กทม. ต่อสัญญาสัมปทาน
อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากเส้นไทม์ไลน์ จุดเริ่มต้นของความข้อแย้งการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2563 หลังจากคณะกรรมการคัดเลือก ประกาศเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การประเมินใหม่ ทำให้ BTSC ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง กระทั่งมีคำสั่งจากศาลให้ทุเลา และมีการยื่นอุทธรณ์ตามมา สามารถ ชี้ ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกณฑ์ประเมินเดิม ดีกว่าเกณฑ์ใหม่
แต่การประมูลก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยมีการประกาศให้ยื่นซองประมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน โดยมีเอกชน 2 รายที่เข้าร่วมประมูล ได้แก่ BEM กับ BTSC
แต่พอถึงกำหนดวันเปิดซองประมูล ช่วงเดือนพฤศจิกายน คณะกรรมการคัดเลือกฯ ของ รฟม. ก็ประกาศเลื่อนการเปิดซองออกมาไป ซึ่งเป็นจังหวะใกล้ๆ กับกระทรวงคมนาคม ต้นสังกัดของ รฟม. มีหนังสือทักท้วงการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับ BTSC
จึงก่อให้เกิดข้อสงสัยว่า การทักท้วงที่เกิดขึ้น เป็นการเอาคืน กดดันให้คู่กรณีถอยจากศึกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มหรือไม่ ?
การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ผ่านมา จะใช้หลักเกณฑ์ประเมินเดิมมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นโครงการของ รฟม. เช่น โครงการสายสีเหลือง สายสีชมพู หรือ โครงการของ รฟท. เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ฯลฯ
โดยหลักการของเกณฑ์การประเมินเดิม จะพิจารณาทีละขั้นตอน รวม 3 ขั้นตอนคือ เริ่มจากคุณสมบัติ ถ้าผ่านก็จะไปเรื่องเทคนิค ถ้าผ่าน ก็จะเปิดซองราคา
แต่หลักเกณฑ์ใหม่ จะมีการพิจารณา 2 ขั้นตอน คือ เริ่มต้นจากการพิจารณาคุณสมบัติ ถ้าผ่านก็จะสู่ขั้นตอนที่ 2 ที่พิจารณาเรื่องเทคนิค+ราคา โดยให้เปอร์เซ็นต์คะแนนเรื่องเทคนิค 30 % ส่วนเรื่องราคาให้ 70 % ใครได้คะแนนรวมสูงสุด ก็ชนะการประมูลไป
ซึ่ง ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้ข้อมูลว่า “อันที่จริง รฟม.เคยใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทนมาก่อน (เกณฑ์ประเมินใหม่) แต่เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว
โดยใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ หลังจากนั้น รฟม.ไม่ใช้เกณฑ์นี้อีกเลย เพราะรู้ว่าเกณฑ์นี้ลดความสำคัญของข้อเสนอด้านเทคนิค ไม่เหมาะสมกับโครงการที่มีความซับซ้อน
“ดังนั้น ในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าต่อมา รฟม.จึงเลือกพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากสอบผ่านจึงจะพิจารณาข้อเสนอผลตอบแทน หากสอบตกก็จะไม่พิจารณาข้อเสนอผลตอบแทน ซึ่งถือว่าเป็นการให้ความสำคัญต่อข้อเสนอด้านเทคนิคอย่างแท้จริง ทำให้ได้ผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง และให้ผลตอบแทนแก่ รฟม.สูงที่สุดด้วย
“แต่อะไรทำให้ รฟม. ต้องกลับไปใช้เกณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับโครงการที่มีความซับซ้อน ดังเช่นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มอีก ?” สามารถ ชี้ ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกณฑ์ประเมินเดิม ดีกว่าเกณฑ์ใหม่
หลังจาก BTSC ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง และศาลฯ มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ ก่อนที่ รฟม. จะยื่นอุทธรณ์กับศาลปกครองสูงสุด ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ต้องใช้หลักเกณฑ์การประเมินเดิม เพราะศาลปกครองสูงสุด ยังไม่มีคำตัดสินลงมา
และในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ก็มีเอกชน 2 ราย ยื่นซองประมูล ตามหมายกำหนดการ แต่พอใกล้ถึงวันเปิดซองประมูล 23 พฤศจิกายน 2563 คณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ประกาศเลื่อนการเปิดซองออกไปอย่างไม่มีกำหนด สามารถ ถาม ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำไมไม่รอศาลฯ ตัดสิน ?
จึงก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า การกระทำดังกล่าว ต้องการยื้อการประมูลออกไป ด้วยวัตถุประสงค์ใด ?
การแก้ปัญหาของ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ เข้าข่าย ยิ่งแก้กลับยิ่งเพิ่มปัญหา โดยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 คณะกรรมการการคัดเลือกฯ ได้ประกาศยกเลิกการเปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มสร้างข้อกังขาให้กับสังคมเป็นอย่างมาก
เพราะเรื่องที่ รฟม. ยื่นอุทธรณ์ ก็ยังไม่ได้รับการตัดสินจากศาลปกครองสูงสุด แต่จู่ๆ ก็ล้มการประมูลดื้อๆ โดยอ้างว่า เพื่อให้การประมูลดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่มีการล้มการประมูลโครงการใหญ่ระดับหลักแสนล้านบาท และล่าสุด BTSC ได้ยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ผลสรุปของการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะลงเอยอย่างไร รวมถึงศักดิ์สยาม ในฐานะ รมว.การคมนาคม จะออกมาตอบคำถามเหล่านี้อย่างชัดๆ ให้สังคมได้หายข้องใจ...หรือไม่ ?
บทความและข่าวที่เกี่ยวข้อง
BTSC ฟ้อง รฟม.-บุคคลเกี่ยวข้องล้มประมูลสายสีส้ม
สามารถ ชี้ ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกณฑ์ประเมินเดิม ดีกว่าเกณฑ์ใหม่
เงื่อนปมที่ซับซ้อน ค่าโดยสารถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 ก่อน กทม.ประกาศถอย
สามารถ ถาม ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำไมไม่รอศาลฯ ตัดสิน ?
ค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีเขียว อัตราสูงสุดเท่าไหร่ ? อยู่ที่ 3 แนวทางนี้
เส้นทางสายเดือด ก่อนล้มประมูล ! “สามารถ” เปิดปมปัญหา รถไฟฟ้าสายสีส้ม
บังเอิญหรือไม่ ค้านต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว กับล้มประมูลสายสีส้ม ?
ศึกรถไฟฟ้าสายสีส้ม สะเทือนการต่อสัมปทานรถไฟสายสีเขียว ?
สรุปให้ "บีทีเอส" ทวงหนี้ "กทม." กว่า 3 หมื่นล้าน ให้ชำระภายใน 60 วัน
บีทีเอส ตอบทุกข้อสงสัย ปมดราม่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้า อัตราใหม่ 104 บาท
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ ค่าตั๋วรถไฟฟ้า 104 บาท แพงเกินไป
ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทำอย่างไรให้ถูกกว่า 65 บาท ?
ศึกรถไฟฟ้าสายสีเขียว ! เปิด 4 ประเด็น คมนาคม ค้าน กทม. ต่อสัญญาสัมปทาน
กทม. VS คมนาคม สรุปปมปัญหา ค่ารถไฟฟ้าฯ พุ่งเป็น 104 บาท ?
เจาะลึก ตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว แพงเว่อร์ 104 บาท ปัญหาเกิดจากอะไร ?