svasdssvasds

ธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise โมเดลธุรกิจทางเลือกสู่ความอย่างยั่งยืน

ธุรกิจเพื่อสังคม เน้นเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก จะเป็นโมเดลที่ตอบสนองเรื่องกำไรได้จริง หรือเป็นเพียงโมเดลในอุดมคติที่เอาไว้บนหิ้ง

ธุรกิจเพื่อสังคม SE หรือ Social Enterprise โมเดลธุรกิจที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับการสร้างผลกำไร เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน และเปลี่ยนแปลงแก้ปัญหาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

ยุคนี้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับปัญหาของสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธุรกิจเพื่อสังคมจึงเข้ามามีบทบาทและน่าจับตามอง แต่สิ่งสำคัญไปกว่านั้น คือกิจการเพื่อสังคมก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้คนเป็นวงกว้าง ทั้งการกระจายรายได้คืนกลับสู่สังคมชุมชน เพิ่มการจ้างงานในชุมชน และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยจากสถานการณ์โควิด-19 การดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดและยั่งยืน เป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก

 

ธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise โมเดลธุรกิจทางเลือกสู่ความอย่างยั่งยืน

ธุรกิจการท่องเที่ยวกับ Social Enterprise

ประเทศไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว ควรค่าอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน อาจสร้างโอกาสเศรษฐกิจได้จากชุมชน พลิกสถานการณ์หลังวิกฤตโควิด-19 เป็นหัวใจหลักขับเคลื่อนการฟื้นกลับของการท่องเที่ยวในประเทศไทยได้

มีผลสำรวจเกี่ยวกับแนวโน้มการท่องเที่ยวของคนไทยที่น่าสนใจว่าผู้คนจะมองหาการท่องเที่ยวที่ “มีความหมาย” และเที่ยวอย่างมี “วัตถุประสงค์” อย่างการท่องเที่ยวธรรมชาติ วิถีชีวิต ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน เหมือนอยู่กับครอบครัว และคนไทยจะเริ่มให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ในมุมนักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ลองคิดดูว่าจะตื่นเต้นสนุกสนาน ได้รับประสบการณ์ดีๆ แค่ไหน ถ้าเราได้เที่ยวอย่างลึกซึ้งที่สุด ได้ไปดู ได้ไปเห็น ได้ทำในสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตของชุมชน ในสถานที่ที่เป็นใจ ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมดี อากาศดี น่าจะตอบโจทย์การเที่ยวอย่างมีความหมายได้

ธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise โมเดลธุรกิจทางเลือกสู่ความอย่างยั่งยืน

“ธุรกิจ” และ “ชุมชน” ดูจะเป็นสองเรื่องที่สวนทางกัน อย่างนักธุรกิจเข้าไปหาผลประโยชน์ในพื้นที่ของชุมชน หรือแม้แต่การทำธุรกิจในชุมชนทำให้เกิดมลพิษ สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในชุมชน หรือแม้แต่เข้าไปบริจาคสิ่งของ เข้าไปพัฒนาชุมชนแบบชั่วคราว ไม่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน แต่ไม่ใช่สิ่งที่ Local Alike ทำ โลเคิล อไลค์ กิจการเพื่อสังคมด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นโดยอาศัยการท่องเที่ยว ให้ชุมชนเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชน เกิดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์ 

 

ถึงแม้ว่าธุรกิจเพื่อสังคมจะเป็นโมเดลธุรกิจที่ต้องใช้เงิน ใช้เวลา และใช้ความตั้งใจอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับ คุณไผ สมศักดิ์ บุญคำ ผู้ก่อตั้ง Local Alike  ที่เดินหน้าผลักดัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการท่องเที่ยวและส่งผลเชิงบวกแก่สังคม คุณไผ กล่าวว่า " ถึงแม้จะไม่สวยงาม เซ็กซี่ในสายตานักลงทุน แต่ Local Alike กิจการเพื่อสังคมด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้สะท้อนให้เห็นแล้วว่า การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและสร้างผลกระทบทางบวกทำได้จริง ทุกฝ่ายได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่มีค่าร่วมกัน ชุมชนถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ดีทุกมิติ " 

Local Alike มุ่งหวังทำการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เน้นที่ชุมชนต้องมีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อกำหนดทิศทางการท่องเที่ยวภายในหมู่บ้านของพวกเขาเอง โดยใช้ Startup เป็นเครื่องมือในการไปให้ถึงเป้าหมายที่ต้องการให้ชุมชนมีช่องทางการตลาดที่ง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยี และได้รับประโยชน์สูงสุด

 

เพราะการท่องเที่ยวไม่ใช่แค่ถ่ายรูป แต่เพื่อสัมผัสวิถีชีวิต

การท่องเที่ยวในวิถีเดิมยังกระจุกตัวอยู่ในที่ซ้ำ ๆ รูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ที่เข้าถึงวิถีชุมชนจึงเป็นหลักคิดเริ่มต้น ไปในที่ ๆ ไม่น่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่าง 1 Day Trip ชุมชนคลองเตย , ชุมชนผาหมีเส้นทางที่เคยเป็นสีเทา และทำนาออนไลน์ ดูดาว ชมปลาสาทฟาง Banana Land แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเมืองเลย

 

เชื่อไหมว่าการท่องเที่ยวแก้ปัญหาสังคมได้ ?

การท่องเที่ยวที่สามารถแก้ปัญหาฝุ่นควันจากการเผาที่บานนาน่าแลนด์ จ.เลย , แก้ปัญหาตัดเส้นทางการค้ายาเสพติด , สร้างอาชีพให้ชุมชนคลองเตย ปรับภูมิทัศน์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เหล่านี้เกิดจากการทำงานร่วมกับชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเป้าหมาย ความมุ่งมั่นของ Local Alike ทำให้เห็นว่า การสร้างความรู้ความเข้าใจแบบรูปธรรมคือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา เพราะ Local Alike , Local Aroi , Local Alot เน้นไปที่การทำความเข้าใจร่วมกับชุมชนอย่างจริงจัง และค่อยเข้าไปพัฒนาเพิ่มมูลค่าสร้างอาชีพ ที่สำคัญสอดคล้องกับแนวโน้มของโลกที่เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องธุรกิจเพื่อสังคมมากขึ้น ในแง่ของการเพิ่มมูลค่าของสินค้าพื้นถิ่น การสร้างงานในชุมชน สร้างผลกระทบเชิงบวก สร้างคุณค่าที่ยั่งยืน

 

ชุมชนได้ประโยชน์จากการที่ Local Alike เข้าไปพัฒนา ส่วน Local Alike ได้ประโยชน์จากการมีนักท่องเที่ยวร่วมทริป ด้านนักท่องเที่ยวได้ประโยชน์จากการได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่มีค่า เป็นการท่องเที่ยวที่วินทุกฝ่าย และเป็นท่องเที่ยวที่มีความหมายอย่างแท้จริง ดูคลิปเต็มที่ลิงค์ด้านล่าง และสามารถติดตามรายการอยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 และสปริงออนไลน์

related