svasdssvasds

INNOVATION THAILAND ALLIANCE ประกาศชัด ไทยต้องขึ้นแท่น Top 30 นวัตกรรมโลก!

INNOVATION THAILAND ALLIANCE  ประกาศชัด ไทยต้องขึ้นแท่น Top 30 นวัตกรรมโลก!

สรุปประเด็นจากงานแถลงข่าวเปิดตัว “เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย หรือ INNOVATION THAILAND ALLIANCE พลังความร่วมมือระหว่างหน่วยงานชั้นนำของประเทศจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน สถาบันการศึกษา และสมาคมธุรกิจ เพื่อร่วมกัน “พลิกฟื้นประเทศ…ด้วยนวัตกรรมไทย”

ประเทศไทยมาถึงจุดนี้ได้ยังไง? ถ้าพูดประโยคนี้ ต่างคนคงต่างนึกถึงประเด็นปัญหาแบบต่างกรรมต่างวาระ แต่ไม่ว่าจะมองในมุมเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา คุณภาพชีวิต หรืออื่นๆ โลกเร่งให้เราต้องพัฒนาตัวเอง พัฒนาประเทศ และยืนหยัดด้วย "เทคโนโลยี" และ "นวัตกรรม" ที่เราสร้างขึ้นเอง แต่ด้วยหลายปัจจัยทำให้ไทยไม่สามารถก้าวสู่ประเทศนวัตกรรมได้ง่ายนัก จึงเกิดความร่วมมือในลักษณะ เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย หรือ INNOVATION THAILAND ALLIANCE ขึ้น 

INNOVATION THAILAND ALLIANCE คืออะไร สำคัญยังไง?

Innovation Thailand Alliance _ Fb live

INNOVATION THAILAND ALLIANCE

INNOVATION THAILAND ALLIANCE เป็นเครือข่ายความร่วมมือระดับประเทศ ซึ่งมี 4 ภาคส่วนมาร่วมกันพัฒนานวัตกรรมไทย เพื่อคนไทย ได้แก่ 

  • ภาครัฐ 
  • ภาคเอกชน 
  • ภาคสถาบันการศึกษา 
  • ภาคสังคม

โดยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA แนะนำและเล่าที่มาที่ไปของ "เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย" (INNOVATION THAILAND ALLIANCE) ทั้งยังร่วมเสวนาในหัวข้อ "พันธมิตรนวัตกรรมไทย...สู้วิกฤตโลก" ผ่าน FB Live : NIA ร่วมกับ

  • ขัตติยา อินทรวิชัย
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
    อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์ มาลัย
    ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ถ้าชอบตามเทรนด์ เทคโนโลยี นวัตกรรม คุณอาจสนใจบทความเหล่านี้

speaker INNOVATION Thailand 6 กันยายน 2564

Innovation Thailand Alliance ดร.พันธุ์อาจ Virtual

ทางรอดของชาติคือ "พลิกฟื้นประเทศ...ด้วยนวัตกรรมไทย"

ดร.พันธุ์อาจ เปิดประเด็นว่า เมืองไทยเคยโดดเด่นด้านนวัตกรรมจนติดท็อป 28 ของดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index : GII) เนื่องจากคนไทยรับสิ่งใหม่ๆ ได้เร็ว เป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่บุคลากรด้านงานวิจัยของไทยติดปัญหา กล่าวคือ พอได้ไปเรียนรู้งานจากต่างประเทศ ได้ฝึกทักษะสตาร์ทอัพ แต่เมื่อกลับมาทำงานในไทยมักถูกดึงไปเป็นผู้บริหารระดับสูง จึงไม่สามารถสร้างทีม ทำงานกับพาร์ทเนอร์อื่นๆ ในลักษณะสตาร์ทอัพได้ 

ขณะนี้มีมากกว่า 73 องค์กรที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในเครือข่ายนวัตกรรม ดร.พันธุ์อาจเผยว่า ประเทศไทยตั้งเป้าหมายในปี 2570 ว่าจะติดอันดับท็อป 30 ของ GII หรือดัชนีนวัตกรรมโลก องค์กรจึงต้องร่วมมือกัน และแก้ปัญหาสำคัญ 3 ด้าน

  • 1) ปัญหากับดักรายได้ปานกลาง
  • 2) ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
  • 3) ปัญหาสิ่งแวดล้อม

"มีตัวอย่างเกือบ 200 เมืองทั่วโลกที่ใช้คำว่า นวัตกรรม ดึงคนเข้าไปทำงาน ทำให้เมืองเหล่านี้มีคนสร้างนวัตกรรมอยู่มาก สำหรับเมืองไทย เรามี Startup Visa มีต่างชาติบินมาเกาะพะงันเพื่อทำธุรกิจบล็อกเชน"

ดังนั้น เราต้องดึงดูด นวัตกร หรือคนที่มีความสามารถทั่วโลกเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย และคนไทยเองก็ต้องออกไปสู่ตลาดโลกด้วย

"เพราะโฟกัสเราชัดเจน คือ ไทยต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เราต้องออกไปต่างประเทศเยอะขึ้น ต้องเน้นการสื่อสาร ขยันสื่อสาร สร้างเครือข่ายระดับองค์กรทุกภาคส่วน ต้องมี Use cased ออกมาเยอะๆ แล้วเรียนรู้กันและกัน ว่าบริษัทสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี ใช้/ควรใช้นวัตกรรมแบบไหน"

ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าวต่อในประเด็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่ ดร.พันธุ์อาจกล่าว

"เราไม่สามารถรักษาคนให้อยู่ในสายงานนวัตกรรมได้ และไม่รองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างมีอิสระ เมื่อมีพาร์ทเนอร์ชิพ เครือข่ายพร้อม แต่การที่จะประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยแรกคือ เราต้องโฟกัส ต้องมุ่งมั่น ทำงานเจาะ ไม่ใช่ทำงานแล้วนั่นมาใหม่ นี่มาใหม่ และอีกปัจจัยคือ เราต้องมี Commitment ปีหน้าต้องตั้งเป้าเลยว่า จะอยู่ตรงไหน เราต้องไต่ขึ้นอันดับที่ Top 30 ด้านนวัตกรรมให้ได้ภายในปี 2570 ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จ"

และยังเผยความได้เปรียบว่า พื้นที่ที่มีโอกาสที่จะเกิดนวัตกรรมมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัย เพราะมีต้นทุน "พอไปได้" ดังนี้

  • มหาวิทยาลัยมีบุคลากรอยู่แล้ว มีการส่งคนไปเรียนต่างประเทศ ไปทำงานในบริษัทดังๆ จึงมีประสบการณ์ในต่างแดน
  • มีอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม
  • มีพื้นที่สำหรับสร้างสรรค์งาน

กรอบความร่วมมือ "เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย" มีด้านใดบ้าง?

พลิกฟื้นประเทศ ด้วยนวัตกรรมไทย

1. การร่วมสื่อสารเผยแพร่นวัตกรรม 

หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA ร่วมกันนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นหรือให้การสนับสนุนมาสื่อสารเผยแพร่ให้คนไทยทั่วโลก เกิดความตื่นตัวและรับรู้คุณค่าใหม่ทางนวัตกรรมฝีมือคนไทย ที่ทำให้ชีวิตที่ดีขึ้นสร้างรายได้ส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ ด้านนวัตกรรมให้แก่ประเทศไทย

2. การร่วมสร้างแรงบันดาลใจนวัตกรรม 

หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA ร่วมกันนำนวัตกรรมที่โดดเด่น มาถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งจะสร้างภาพลักษณ์การเป็นหน่วยงานชั้นนำด้านนวัตกรรม ของประเทศ และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมขั้นในองค์กรทุกภาคส่วนของประเทศไทย

3. การร่วมพัฒนาศักยภาพนวัตกรรม 

หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA ร่วมกันพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมของบุคลากรและหน่วยงานในเครือข่ายฯ ให้เกิดการเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่องค์กรได้และก้าวสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร

4. การร่วมพัฒนาต่อยอดและขยายผลนวัตกรรม 

หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA นำนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่มีศักยภาพมาร่วมกันขยายผลให้เกิดการพัฒนา นวัตกรรม การต่อยอดธุรกิจนวัตกรรมให้เกิดการลงทุนจับคู่ธุรกิจและขยายตลาดนวัตกรรม

5. การร่วมเชื่อมโยงข้อมูลนวัตกรรม 

หน่วยงานเครือข่ายฯ และ NIA ร่วมกันเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการสร้างแดชบอร์ดข้อมูล นวัตกรรมประเทศไทยที่โดดเด่น เพื่อใช้สื่อสารสร้างภาพลักษณ์นวัตกรรมของประเทศไทยและนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ

สรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับ INNOVATION THAILAND ALLIANCE ได้ดังภาพนี้

INNOVATION THAILAND ALLIANCE infographic

เนื่องจากรายละเอียดของ INNOVATION THAILAND ALLIANCE ยังมีอีกหลายด้านที่ต้องเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน โอกาสต่อไป SPRiNG จะนำ แดชบอร์ดนวัตกรรมประเทศไทย (INNOVATION THAILAND DASHBOARD) มาสรุปให้คนไทยและเยาวรุ่นทั้งหลายรับรู้ถึงโมเดลการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ

 
related