svasdssvasds

11 ต.ค. 2476 ครบรอบ 88 ปี "กบฏบวรเดช" กบฏแรกหลัง "ปฏิวัติสยาม"

11 ต.ค. 2476 ครบรอบ 88 ปี "กบฏบวรเดช" กบฏแรกหลัง "ปฏิวัติสยาม"

11 ต.ค. 2476 "กบฏบวรเดช" ครบรอบ 88 ปี กบฏแรกหลังเปลี่ยนแปลงปกครอง นำโดย พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า

ครบรอบ 88 ปี "กบฏบวรเดช" เกิดขึ้นเมื่อ 11 ต.ค. 2476 นับเป็นกบฎแรกสุดในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่มี "การปฏิวัติสยาม" หรือ "การเปลี่ยนแปลงปกครอง" โดย "คณะราษฎร" เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475

พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

กบฏบวรเดช ดำเนินการโดย "คณะกู้บ้านกู้เมือง" มี พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า นำทหารจำนวนมากจากหัวเมืองต่างๆ มีทั้ง พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา อุบลราชธานี สระบุรี อยุธยา ปราจีนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี บุกเข้ามากรุงเทพมหานคร บริเวณดอนเมือง

พระยาพหลพลพยุหเสนา

ณ ตอนนั้นฝ่ายรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา (นายกรัฐมนตรีคนที่ 2) ได้ส่ง พันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ เข้าไปเจรจาให้ฝ่ายกบฏบวรเดชเลิกรา รวมไปถึงการขอพระราชทานอภัยโทษให้ด้วย แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ และพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ถูกจับเป็นตัวประกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

พระยาพหลพลพยุหเสนา จึงได้แต่งตั้งพันโทหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม-ยศขณะนั้น) ไปทำการต่อต้านกบฏบวรเดช

ทั้งนี้ กบฏบวรเดช ได้ส่งหนังสือยืนเงื่อนไขทั้งหมด 6 ข้อ คือ

  1. ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน
  2. ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก
  3. ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลายและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง
  4. การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง
  5. การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือก
  6. การปกครองกองทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง

ฝ่ายรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ไม่ยินยอมที่จะทำตาม จึงเกิดการปะทะขึ้นระหว่างทั้งสองฝ่ายกินเวลาหลายวัน จนท้ายที่สุดฝ่ายกบฏบวรเดชพ่ายแพ้ไปในวันที่ 16 ต.ค. 2476 ทว่า พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงลี้ภัยไปต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. ก่อนแล้ว

ทั้งนี้ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว รัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ ตั้งอยู่บริเวณหลักสี่ บางเขน กรุงเทพฯ ซึ่งหลายคนเรียกว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" หรือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฏ" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช

related