svasdssvasds

ควบคุมโควิด 19 ให้ได้ ลดอัตราการตายให้มากที่สุด

ควบคุมโควิด 19 ให้ได้ ลดอัตราการตายให้มากที่สุด

นับวัน จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ (Omicron) เพิ่มขึ้นทั่วโลก และหลายประเทศก็มีตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึงหลักแสน แม้อัตราการเสียชีวิตลดลง แต่ก็ไม่อาจวางใจได้ แล้วสถานการณ์ประเทศไทยในตอนนี้เทียบกับอังกฤษแล้วเป็นอย่างไร วางแผนเตรียมการไว้แค่ไหน ต้องอ่าน!

สถานการณ์ทั่วโลกกลับมาน่าเป็นห่วงอีกครั้ง เพราะมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อ Omicron เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา 

ควบคุมโควิด 19 ให้ได้ ลดอัตราการตายให้มากที่สุด

สถานการณ์ Omicron ระบาดในอังกฤษ เป็นได้ทั้งตัวอย่างและบทเรียน

หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้เชื้อโควิดแพร่กระจายอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ คือ ละเลยมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล เช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้าน กินดื่มใกล้ชิดโดยไม่เว้นระยะห่าง 

ดูอย่างผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอังกฤษที่เพิ่มสูงถึง 113,628 ราย ในวันคริสต์มาสเพียงวันเดียว ส่วนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมี 1,281 ราย สอดคล้องกับ Report 50: Hospitalisation risk for Omicron cases in England โดย Imperial College London ที่บ่งชี้ว่า อัตราการติดเชื้อผันแปรกับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ระหว่าง Omicron และ Delta ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Delta 

  • เข้ารักษาในโรงพยาบาล 50%
  • นอนโรงพยาบาล 1 วันขึ้นไป 61%

ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron 

  • เข้ารักษาในโรงพยาบาล 20-25% 
  • นอนโรงพยาบาล 1 วันขึ้นไป 40-45%

ควบคุมโควิด 19 ให้ได้ ลดอัตราการตายให้มากที่สุด

สรุปสถานการณ์โรคโควิด-19 ในไทย โดย กระทรวงสาธารณสุข

  • มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อยืนยัน ผู้ป่วยอาการหนัก ผู้เสียชีวิตลดลง ขณะที่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron เพิ่มขึ้น จากผู้เดินทางมาจากประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง
  • ทุกภาคส่วนช่วยกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด สถานการณ์โรคโควิด-19 หลังปีใหม่ คาดการณ์ว่า อาจพบการติดเชื้อและเสียชีวิตไม่เพิ่มสูงมาก ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565
  • ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ รายที่มีอาการป่วยจะคล้ายไข้หวัด และสามารถติดเชื้อในผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มได้ 
  • จำนวนผู้ติดเชื้อ Omicron ที่จำเป็นต้องรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง หรือราว 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อ Delta

อัปเดตสถานการณ์ที่ต้องจับตา

Suvarnabhumi Airport (BKK)

3 สัญญาณเสี่ยงติด Omicron ที่พึงระวัง

  • การติดเชื้อจากต่างประเทศ ไม่ปฏิบัติตาม UP ขณะเดินทาง พำนักต่างประเทศ
  • คลัสเตอร์ในประเทศ จากการรับประทานอาหารและดื่มสุราในร้านที่เป็นระบบปิด/บาร์
  • เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ใกล้ชิดกันมาก

เตือนภัยโควิด 5 ระดับ ระดับไหนทำอะไรได้บ้าง

กระทรวงสาธารณสุขเผยว่าจัดทำระบบเตือนภัยโควิด 5 ระดับ และขณะนี้ไทยอยู่ ระดับ 3 
  1. ใช้ชีวิตตามปกติ (สีเขียว) เปิดทุกอย่างได้ภายใต้มาตรการ COVID Free Setting เดินทางเข้าประเทศได้ตามปกติ
  2. เร่งเฝ้าระวังคัดกรอง (สีเหลือง) จำกัดการเข้าสถานที่ปิด เริ่มระบบ Test &Go
  3. จำกัดการรวมกลุ่ม (สีส้ม) งดเข้าสถานที่ปิด ทำงานที่บ้าน คัดกรองก่อนเดินทาง เปิดระบบแซนด์บ็อกซ์
  4. ปิดสถานที่เสี่ยง (สีแดง) เปิดเฉพาะสถานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศแบบลดวันกักตัว
  5. จำกัดการเดินทางและกิจกรรม (สีแดงเข้ม) รวมกลุ่มได้ไม่เกิน 5 คน เพิ่มมาตรการเคอร์ฟิว และกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศทุกราย

5 ระดับของการเตือนภัยโควิด

เด็กจะติดโควิดเพิ่มขึ้น ให้จัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์สำหรับเด็ก รวมถึงเตียงในโรงพยาบาลสำหรับเด็กที่มีอาการรุนแรง

ฉากทัศน์การแพร่ระบาดกับแผนรองรับ

  • แบบที่ 1 สถานการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดมากที่สุด (Least Favourable) อัตราการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของ Omicron ในประเทศ
    - ผู้ติดเชื้อรายใหม่อาจสูงถึงวันละ 30,000 ราย
    - อัตราการเสียชีวิตไม่เกินวันละ 180 ราย
  • แบบที่ 2 สถานการณ์ที่อาจจะเกิด (Possible) อัตราการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของ Omicron ในประเทศ
    - ผู้ติดเชื้อรายใหม่อาจสูงถึงวันละ 17,000 ราย 
    - อัตราการเสียชีวิตไม่เกินวันละ 100 ราย
  • แบบที่ 3 สถานการณ์ที่อยากให้เป็น (Most Favorable) อัตราการแพร่เชื้อของ Omicron ไม่สูงมาก เนื่องจากยังควบคุมการเร่งฉีดวัคชีนในทุกกลุ่มได้สูงขึ้น
    - ผู้ติดเชื้อรายใหม่อาจสูงถึงวันละ 13,000 ราย
    - อัตราการเสียชีวิตไม่เกินวันละ 55 ราย 

ยาและเตียง พร้อมแค่ไหน

  • ยาฟาวิพิราเวียร์ที่เตรียมไว้สำรองมีอยู่ประมาณ 15.6 ล้านเม็ด ใช้ได้อย่างน้อย 2 เดือน และทางองค์การเภสัชกรรมก็สามารถผลิตเพิ่มได้ถึง 60 ล้านเม็ด
  • ในด้านจำนวนเตียงมีอยู่ 178,139 เตียงทั่วประเทศ ใช้ไปแล้ว 13.7% หากคาดการณ์ถึงกรณีหนักที่สุด จะสามารถรับผู้ป่วยใหม่ได้วันละ 50,000 กว่าคน

กระทรวงสาธารณสุขสั่งมา ให้เตรียมรองรับสถานการณ์ ดังนี้

  • ให้ทุกพื้นที่เตรียมความพร้อม 
    • Home Isolation (HI) การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
    • Community Isolation (CI) การดูแลผู้ป่วยในชุมชน
  • ให้ทุกโรงพยาบาลอัปเดตจำนวนเตียง ระดับ 2 และ 3 
  • ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและ สปสช.ปรับเกณฑ์ค่าใช้จ่าย Hospitel  
  • ให้แรงงานต่างด้าวได้รับการดูแลรักษาใน Factory Isolation เพื่อแบ่งเบาการใช้เตียง

ควบคุมโควิด 19 ให้ได้ ลดอัตราการตายให้มากที่สุด
กางแผนรองรับในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

  • มีเตียงรองรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่เกินวันละ 8,000 คน 
  • ในจำนวน 8,000 คน อาจมีอาการรุนแรง 100 คน 
  • เด็กจะติดโควิดเพิ่มขึ้น ให้จัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์สำหรับเด็ก รวมถึงเตียงในโรงพยาบาลสำหรับเด็กที่มีอาการรุนแรง
  • ภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า Home Isolation จะเป็นแนวทางหลัก
  • ผู้ว่าฯ กทม. ให้ทุกเขตเตรียมทำ Home Isolation, Community Isolation

ย้ำเตือน 7 ข้อที่ต้องขอความร่วมมือจากทุกคน 

ถ้าไม่อยากให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะวิกฤต ต้องขอความร่วมมือจากพวกเราทุกคนให้ทำตาม 7 ข้อนี้

ขอความร่วมมือจาก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ Omicron

1. เน้นย้ำ VUCA ป้องกันโควิด-19 ทุกสายพันธุ์

2. ให้สวมหน้ากาก 100% ขณะอยู่กับผู้อื่น เว้นระยะห่างจากผู้อื่น ระลึกเสมอว่าผู้อื่นมีโอกาสเสี่ยงที่แพร่เชื้อโควิด-19 ให้

3. รีบไปรับการฉีดวัคซีนทั้งเข็ม 1, 2 และเข็ม Booster สำหรับกลุ่ม 607 เพื่อลดการป่วยหนักหากติดเชื้อโควิด-19

4. ชะลอเดินทางไปต่างประเทศโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นให้ใช้มาตรการ UP ขณะเดินทางและพำนักต่างประเทศ ตรวจหาเชื้อก่อนกลับประเทศ และขณะกักตัว

5. เลี่ยงการร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก โดยเฉพาะในสถานที่ระบบปิด หรือที่มีโอกาสถอดหน้ากากเกิน 30 นาที เช่น ทานอาหารในร้านอาหารห้องปรับอากาศ สถานบันเทิง กิจกรรมทางศาสนาที่รวมคนจำนวนมาก

6. ให้ปฏิบัติตามมาตรการ UP ขณะโดยสารขนส่งสาธารณะ หากโดยสารเกิน 4 ชั่วโมง ให้ตรวจ ATK ก่อน

7. เลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง ทั้งคนในครอบครัว และคนที่รู้จักกัน รวมทั้งคัดกรองตรวจหาเชื้อ ก่อนกลับมาทำงานหลังเทศกาลปีใหม่

...................................

ที่มา 

related