svasdssvasds

คนจีนแจกอั่งเปา (ดิจิทัล) เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้รับ

คนจีนแจกอั่งเปา (ดิจิทัล) เท่าไหร่  ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้รับ

เมื่อก่อน คนจีนนำเงินใส่ ซองสีแดง หรือที่เรียกว่า อั่งเปา (红包) ให้พ่อแม่ ให้ลูกให้หลานกันตรงๆ แต่อั่งเปาในศตวรรษที่ 21 พัฒนาเป็น Virtual Red-envelope (虚拟红包) หรือ อั่งเปาเสมือน และนิยมแจกผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มาหลายปีแล้ว

ธรรมเนียมจีนเกี่ยวกับการแจกอั่งเปานั้นมีอยู่หลายข้อ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง จำนวนเงินขั้นต่ำที่ให้กัน, ตัวอย่างการแจกอั่งเปาดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม และการแจกอั่งเปาเพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้หยวนดิจิทัลตามยุทธศาสตร์ชาติจีน

มาดูกันว่า คนจีนให้อั่งเปากันเท่าไหร่

Source : Chinahighlights.com

  • กรณีที่ให้อั่งเปาพ่อแม่/ปู่ย่าตายาย 500 - 2,000 หยวน คิดเป็นเงินไทยราว 2,500 - 10,000 บาท
  • กรณีที่พ่อแม่ให้อั่งเปาลูกๆ 100 หยวน คิดเป็นเงินไทยราว 500 บาท
  • กรณีที่ให้อั่งเปาคนที่อายุน้อยกว่าซึ่งยังไม่มีรายได้ หรือเป็นเพื่อน/ญาติ/หลาน 50 - 200 หยวน คิดเป็นเงินไทยราว 250 - 1,000 บาท
  • กรณีที่ให้อั่งเปาแก่เด็กทั่วไป 20 - 50 หยวน คิดเป็นเงินไทยราว 100 - 250 บาท
  • กรณีที่ให้อั่งเปาพนักงานบริษัท 100 - 1,000 หยวน คิดเป็นเงินไทยราว 500 - 5,000 บาท

จำนวนเงินที่ปรากฏในบทความนี้เป็นเพียง "ขั้นต่ำ" ที่คนจีนมอบให้กัน แต่หากใครมีฐานะดีหน่อยก็มักจะแจกอั่งเปาเกินหลักหมื่นบาท

เรื่องควรรู้ : จำนวนเงินที่ใส่ซองไม่ควรเป็นเลข 4 เช่น 40 หยวน หรือ 400 หยวน เพราะการออกเสียง 四 (sì) เลข 4 ในภาษาจีน  พ้องเสียงกับคำว่า 死 (sì) ที่แปลว่า ตาย 

รอบรู้เรื่องธรรมเนียมจีน

คนจีนแจกอั่งเปาผ่านช่องทางไหน

ในช่วงตรุษจีน คนจีนมักจะแจกอั่งเปาเสมือนผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลของสองบิ๊กเทค นั่นคือ Alipay กับ WeChat โดย Alipay เป็นผู้พัฒนาให้ใช้งานอั่งเปาได้ก่อน นับตั้งแต่ปี 2555 

ตัวอย่างการพัฒนาแพลตฟอร์มแจกอั่งเปาโดยนำเทคโนโลยี AR เข้ามาใช้ จากคลิป Alipay Launches AR Red Envelopes in China (2560) ของ CCTV

การแจกอั่งเปาผ่าน WeChat มีมาตั้งแต่ 2557

ในแอป WeChat มีฟีเจอร์โอนเงินตามปกติ (WeChat Transfer) และฟีเจอร์แจกอั่งเปาออนไลน์ (WeChat Red-envelope) ให้ผู้ใช้งานเลือกได้ โดยความต่างระหว่าง การโอนเงินผ่านแอป WeChat ตามปกติ กับ การโอนเงินผ่านฟีเจอร์อั่งเปา มีดังนี้ 

  • อั่งเปา - มีลิมิตการโอนอยู่ที่ 200 หยวน หรือราว 1,000 บาท
  • แอป WeChat - โอนได้สูงสุดไม่เกินวันละ 2 แสนหยวน หรือราว 1 ล้านบาท

Source : Xinhua

ฟีเจอร์ที่ต่างกัน 

  • อั่งเปา - ต้องเข้าไปกดยอมรับ จึงจะรู้จำนวนเงิน และสามารถใส่ข้อความหรือรูปภาพได้
  • แอป WeChat - โอนโดยระบุจำนวนเงินอีกหน้าต่างหนึ่ง และสามารถใส่ข้อความสั้นๆ ได้ไม่เกิน 10 ตัวอักษร 

กรณีที่ไม่กดรับ

  • อั่งเปา - ถ้าไม่กดรับอั่งเปา เงินในอั่งเปาก็จะคืนเข้าบัญชีเจ้าของเงินอัตโนมัติภายใน 24 ชั่วโมง
  • แอป WeChat - เลือกโอนเงินคืนได้โดยกด "ปฏิเสธรับเงิน" แพลตฟอร์มก็จะคืนเงินเข้าระบบภายใน 24 ชั่วโมงเช่นกัน

 รู้หรือไม่ รัฐบาลจีนก็แจกอั่งเปาออนไลน์

Source : Xinhua

ในปี 2564 สำนักบริหารและกำกับดูแลการเงินท้องถิ่นปักกิ่งของจีน แจกเงินในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัลให้แก่ผู้บริโภคท้องถิ่นผ่านระบบลอตเตอรี่ 40 ล้านหยวน หรือราว 194 ล้านบาท ให้แก่ผู้ชนะรางวัลลอตเตอรี่ใน โครงการนำร่องสกุลเงินเหรินหมินปี้ (RMB) ฉบับดิจิทัล โดยแบ่งเป็นอั่งเปาดิจิทัล 200,000 ซอง และแต่ละซองแดงมีเงิน 200 หยวนดิจิทัล หรือราว 1,000 บาท 

มาในปี 2565 สำนักพาณิชย์นครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน เตรียมแจกบัตรกำนัลเป็นเงินหยวนดิจิทัล (e-CNY) เพื่อการจับจ่ายใช้สอยในช่วงตรุษจีนที่กำลังจะมาถึง รวมมูลค่ากว่า 25 ล้านหยวน หรือราว 130 ล้านบาท

......................................

ที่มา 

related