น้ำมันดิบรั่วในทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านใดบ้าง
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลังน้ำมันดิบรั่วไหลลงสู่มหาสมุทร เป็นการทับถมปัญหามลพิษทางทะเลให้แก่ระบบนิเวศมากขึ้น อุบัติเหตุที่ไม่มีใครอยากให้เกิด
จากเหตุการณ์ น้ำมันดิบรั่ว กลางทะเลระยอง 400,000 ลิตรนั้น ถือเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ต้องเร่งสกัดเก็บกวาดให้เร็วที่สุดก่อนจะขึ้นไปชายหาด เพราะจะยากต่อการทำความสะอาด และแน่นอนว่าการรั่วไหลในทะเลนั้น เป็นมลพิษทางน้ำต่อสัตว์ทะเลแน่นอน รวมถึงอาจกระจายไปยังบนหาดและนกบริเวณดังกล่าวได้ด้วย
ความกังวลหลายด้านหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ส่งผลกระทบทางตรงต่อระบบนิเวศ แม้จะไม่เกิดขึ้นในทันที แต่ก็จะยังคงอยู่ระยะยาวและค่อยๆซึมลึกสู่ใต้น้ำและหาดทรายจากสารพิษตกค้าง อีกทั้งการกำจัดไม่ง่ายที่จะขจัดให้หมดจดในคราวเดียว
หนึ่งแผลใหญ่ของเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งหนึ่ง คือการรั่วไหลของน้ำมันในแคลิฟอร์เนียทำให้สัตว์ป่าเสียชีวิตและคุกคามพื้นที่คุ้มครอง สำหรับในประเทศไทย เคยเกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วครั้งใหญ่อยู่ 2 ครั้งคือ เมื่อปี 2544 ท่อขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ว จำกัด ท่าเรือมาบตาพุด ระยอง และปี 2548 บริเวณทุ่นผูกเรือ SBM ของบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อ.ศรีราชา ชลบุรี
วิธีการกำจัดมีอยู่หลายวิธี เช่น การปล่อยให้สลายไปตามธรรมชาติ (ต้องคำนึงถึงสิ่งที่รั่วไหล และยากที่จะใช้วิธีนี้ได้) การกักเก็บ การใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน (ไทยใช้วิธีนี้) การเผา และการทำความสะอาดชายฝั่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-
น้ำมันรั่วมาบตาพุด สู่ย้อนเหตุการณ์ ถอดบทเรียนน้ำมันรั่ว ครั้งสำคัญของโลก
-
สรุปให้ "น้ำมันดิบรั่ว" กลางทะเลระยอง 400,000 ลิตร ห่วงกระแสลมพัดเข้าฝั่ง
ยกตัวอย่างที่ใกล้เหตุการณ์กับไทยมากที่สุดตอนนี้คือ การรั่วไหลของแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งของ Amplify Energy Corp ผู้ผลิตน้ำมันดิบในฮูสตัน ได้ปล่อยน้ำมันดิบมากกว่า 572,800 ลิตรไหลไปตามแนวชายฝั่งยาว 24 กิโลเมตร ผลกระทบที่ตามมานั้นคือเกิดการคุกคามของน้ำมัน ต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ อุตสาหกรรมการค้าและการประมงท้องถิ่น จนต้องผิดพื้นที่ไปหลายเดือน อีกทั้งที่มันขยายใหญ่เป็นวงกว้างเช่นนี้ เปนเพราะเจ้าของท่อไม่แจ่งผิดทันทีและไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบเป็นเวลานานกว่า 6 ชั่วโมง ทำให้การตอบสนองล่าช้า
เรามาลองดูกันว่า ผลกระทบจากอุบัติเหตุลักษณะนี้ ส่งผลต่ออะไรบ้าง
ผลกระทบต่อสัตว์น้ำ
สิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นสัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศทางทะเล สัตว์ทะเลที่แหวกว่ายในน้ำลึกได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลน้อยลง แต่ภัยพิบัติจากน้ำมันใกล้ชายฝั่งมักจะสร้างความเสียหายให้กับนกชายฝั่งและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณชายทะเลและบนพื้นผิวของมหาสมุทรมากที่สุด และต่อไปนี้คือตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
นก
นกที่ออกหากินตามชายฝั่งอาจมีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากน้ำมันปกคลุมพื้นผิวมหาสมุทร ที่พวกมันกินเข้าไปและน้ำมันที่ไหลซึมอยู่ตามชายหาดที่มันเดินหาอาหาร และรังของมันที่มีคราบน้ำมันไปเกาะ เมื่อนกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำมัน มันจะทำให้ขนนกไร้ประโยชน์ เพราะมันไปทำให้ฉนวนบนขนนกลดประสิทธิภาพลง ความอบอุ่นในร่างกายจึงลดลง ซึ่งเรื่องฉนวนบนขนสัตว์นี้ ใช้ได้กับหล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีจนในทะเลด้วย อย่างเช่น นากทะเลและแมวน้ำ ที่มีขนให้ความอบอุ่นเช่นเดียวกัน หากตัวมันมีแต่น้ำมันที่ทำให้ประสิทธิภาพการอบอุ่นร่างกายลดลง พวกมันก็จะตายลงอย่างช้า การการที่ภูมิคุ้มกันตก
ปลา
น้ำมันที่หนากว่าบางชนิดจะจมลงสู่ก้นมหาสมุทร โดยที่พวกปลามักกินเข้าไป น้ำมันที่กินเข้าไปจะไม่ฆ่าพวกมันในทันที แต่จะมีสารพิษสะสมอยู่ในตับและอวัยวะอื่นๆ นานพอที่ชาวประมงจะจับขึ้นมาเพื่อมาเป็นอาหารซีฟู้ดให้กับเรา
ปูหรือหอยที่อาศัยอยู่ในทราย
น้ำมันที่มีความเข้มข้นสูงจะฆ่าปูที่โตเต็มวัย ในขณะที่ปริมาณที่น้อยกว่าอาจเป็นอันตรายต่อทารกและไข่ของพวกมัน สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศชายหาดของเราเพราะ "ทุกคนกินพวกมัน"
และสัตว์อื่นๆ เช่น เต่า โลมา วาฬ แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์เหล่านี้ล้วนได้รับอันตรายการการรั่วไหลของน้ำมัน แม้ว่าพวกมันจะรู้ตัวและหนีไปได้ทัน แต่ก็ยังเสี่ยงอยู่ดี
นอกจากนี้ผลกระทบต่อพืชทะเลนั้นก็สำคัญ เพราะเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ
การรั่วไหลของน้ำมันที่ล่องลอยอยู่เหนือผิวน้ำนั้น ส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและแสงส่องไม่ถึงพืชทะเล ในพื้นที่ทีมีพืชทะเลเติบโตอยู่ รวมไปถึงปะการัง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยงและชุมชน
ชุมชนและที่พัก ร้านค้าต่างๆจะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียนักท่องเที่ยว หลังเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว คนจะหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าสู้พื้นที่เสี่ยงภัยมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชนเป็นวงกว้าง
อาชีพประมงต้องหยุดชะงัก
หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แน่นอนว่าอาชีพประมงพาณิชย์หรือท้องถิ่นเองก็ตาม จะถูกสั่งห้ามเดินเรือทันที เพื่อลดความเสียหายของอุปกรณ์ทำกินและเพื่อป้องกันการจับสัตว์ที่อาจมีสารปนเปื้อนขนมาบริโภคหรือขายออกไป
ทุกวันนี้มลพิษทางทะเลก็เยอะมากพออยู่แล้ว เช่น ปัญหาขยะพลาสติก ปัญหาการทำประมงเกินขนาดการปล่อยน้ำเสียงลงสู่ทะเล และการก่อสร้างที่พักอาคารริมชายหาด การทำกำแพงกันคลื่น ฯลฯ เท่านี้ทะเลก็แทบไม่ได้หยุดพักในการฟื้นฟูธรรมชาติของตัวมันเองเลย เรื่องราวของน้ำมันรั่ว อาจเป็นอุบัติเหตุที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่นี่คือบทเรียนให้เราต้องระวังมากขึ้น เพื่อไม่ให้มันเกิดอีก พลังงานผิโตรเลียมนั้นยังคงจำเป็นอยู่ในยุคนี้ แต่ยุคหน้าก็หวังว่า เรากับธรรมชาติจะอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญหายไป และอยู่เกื้อหนุนกันอย่างพอดี ก็เพียงพอแล้ว
ที่มาข้อมูล
https://oceanservice.noaa.gov/facts/oilimpacts.html
https://www.noaa.gov/education/resource-collections/ocean-coasts/oil-spills
https://www.britannica.com/science/oil-spill#ref285985
https://edition.cnn.com/2021/10/05/us/oil-spills-wildlife/index.html
https://www.dw.com/en/california-oil-spill-disaster-cleanup/a-48095315