svasdssvasds

เพลงกรุงเทพมหานคร Bangkok จากอัสนี - วสันต์ ศิลปะแห่งการจำจด ทำชื่อยาว จำง่าย

เพลงกรุงเทพมหานคร Bangkok จากอัสนี - วสันต์ ศิลปะแห่งการจำจด ทำชื่อยาว จำง่าย

เพลงกรุงเทพมหานคร (Bangkok) จาก อัสนี - วสันต์ โชติกุล บทเพลงที่รวมอยู่ในชุด ฟักทอง ซึ่งออกมาในปี พ.ศ.2532 (1989) ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ศิลปะแห่งการจำจด เป็นการทำชื่อยาวๆยากๆ ให้จำง่ายขึ้น เพลงแค่ใส่ทำนองเข้าไป

"กรุงเทพ​มหานคร" ใช้ได้ทั้ง Krung​Thep​ Maha​ Nakhon​ และ​ Bangkok 

นับเป็นประเด็นที่พูดถึงในวงกว้าง เมื่อ ราชบัณฑิตยสภา มีประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงใหม่ ให้ถูกต้องและชัดเจน โดยเมืองหลวงของประเทศไทย ให้แก้ไขจาก Bangkok (อ่านว่า แบงค็อก,บางกอก) เป็น Krung Thep Maha Nakhon (อ่านว่า กรุงเทพมหานคร) , ขณะที่ ชื่อเดิม  (Bangkok) ไว้ในวงเล็บ แต่ยังคงใช้ Krung Thep Maha Nakhon หรือ Bangkok ได้เช่นเดิม โดยสรุปแล้ว แปลว่า คำว่า "กรุงเทพมหานคร" ใช้ได้ทั้งสองคำ นั่นคือ  Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันมาจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
.
สำหรับ ชื่อของกรุงเทพฯ นั้น ถือได้ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นที่น่าจดจำ เพราะ The Guinness World Records กินเนสบุ๊ค เวิลด์ เรคคอร์ด เคยจัดอันดับให้กรุงเทพมหานคร มีชื่อเมืองหลวงที่ยาวที่สุด ด้วยจำนวนตัวอักษรภาษาอังกฤษ 168 ตัวอักษร ดังนี้ krungthepmahanakhonamonrattanakosinmahintharaayuthayamahadilokphopnoppharatratchathaniburiromudomratchaniwetmahasathanamonpimanawatansathitsakkathattiyawitsanukamprasit
เพลง กรุงเทพมหานคร จาก อัสนี - วสันต์ ศิลปะแห่งการจำจด ทำชื่อยาว ให้จำง่าย
.
ขณะที่ ภาษาไทย ชื่อเต็มกรุงเทพ เขียนได้ดังนี้  “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศิลปะแห่งการจดจำ 
.
แน่นอนว่า การที่ชื่อเต็มของกรุงเทพฯ Bangkok มีความยาวมากมายขนาดนี้ ย่อมเป็นเรื่องยากต่อการจดจำ อย่างไรก็ตาม สื่ออังกฤษอย่างเทเลกราฟ Telegraph เคยลงบทความเสนอวิธีการจดจำสิ่งต่างๆ ให้ได้ดีขึ้น 7 ข้อ ดังนี้
.
1. ใช้ Memory Palace (ความทรงจำต่อสถานที่) ด้วยวิธีการ ฝาก ความจำไว้ในสถานที่ที่เราคุ้นเคย อาทิ เราเห็นประตูเข้าออกบ้าน เราอาจจดจำได้ว่า เราจะต้องนำ ขยะ ไปทิ้งทุกๆวัน 
2. ทบทวนซ้ำๆ เรื่อยๆ 
3. เชื่อมโยง 
4. ใช้ตัวย่อ (ผนงรจตกม เป็นต้น) 
5. ใช้คำคล้องจอง (เช่น ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ...)
6. ใช้เพลง อาทิ การช่วยให้ท่องตารางธาตุ เป็นต้น
7. ใช้สามัญสำนึก เช่น วางของที่คิดว่าจะลืมไว้ตรงที่เราเห็น 
.
ในอดีตที่ผ่านมา ชื่อเต็มของกรุงเทพฯ Bangkok เคยถูกใช้กลวิธี มาใส่ทำนอง ทำเป็นบทเพลง "ร่วมสมัย" มาแล้วในอดีต และที่สำคัญผลลัพธ์ของการ นำศิลปะมาจับ ตรงประเด็นนี้ ส่งผลให้ ผู้คนจดจำชื่อเต็มของกรุงเทพ ได้อย่างง่ายดาย และเหลือเชื่อมากๆ 

เพลงกรุงเทพมหานคร เพลงติดหูข้ามยุคสมัย จากอัสนี - วสันต์
.
ย้อนกลับไปในปี 1989 (พ.ศ. 2532) มีบทเพลงที่เคยใช้ชื่อเต็มของ กรุงเทพมหานคร Bangkok มาสร้างปรากฏการณ์ความแปลกใหม่ในสังคมไทยมาแล้ว โดยบทเพลงนี้ เกิดจากการทำทำนองและเรียบเรียงจาก อัสนี โชติกุล 
.
ไม่น่าเชื่อว่า เพลงกรุงเทพมหานคร ที่มีความยาวมากกว่า 6 นาที 20 วินาที  ของ อัสนี - วสันต์ โชติกุล ที่รวมอยู่ในชุด ฟักทอง (ยอดขายพุ่งไปถึง 1 ล้านอัลบั้ม อัลบั้มแรกของอัสนี - วสันต์ แต่เป็นสตูดิโอ) จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของป๊อปคัลเจอร์ในยุค 1980s-ต้นยุค 1990s  เพราะด้วยความยาวที่ยาวมากกว่าการเป็น "เพลงฮิต" ทั่วไป ที่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3-4 นาที  เพราะการที่เพลงยาวขนาด 6 นาทีนั้น การจะเปิดแต่ละครั้ง ย่อมกินเวลาสถานีวิทยุ รวมถึงกินเวลา ส่วนมิวสิควิดีโอก็จะกินแอร์ไทม์ในการออกอากาศทางทีวีเป็นอย่างมาก  
.
แต่ คนที่เติบโตมาในยุคนั้นย่อมเคยได้ยินเพลงเพลงนี้ และไม่มากก็น้อยๆ เพลงเพลงนี้ ทำให้ ผู้คนจดจำ "ชื่อเต็มกรุงเทพ" ได้ จากการใส่ทำนองเพลงร็อก ซาวน์ดนตรีที่ความเป็นร็อก แต่เนื้อหาที่ไม่ได้เกี่ยวกับความรัก แต่สุดท้าย เพลงกรุงเทพมหานคร ก็กลายเป็นเพลงฮิต ผ่านกาลเวลามาได้ และนับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่ศิลปิน ได้ใช้ "ศิลปะ" ผ่านบทเพลง ผ่านทำนอง ทำให้ การจำชื่อยากๆ ยาวๆ ของกรุงเทพ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น...
 Credit : Youtube JaMes Soulless
ปกอัลบั้ม ฟักทอง ที่มี เพลง กรุงเทพมหานคร จาก อัสนี - วสันต์ ถือเป็นอีกหนึ่ง ศิลปะแห่งการจำจด ทำชื่อยาว ให้จำง่าย

related