svasdssvasds

หลุมหลบภัย สาธารณะในไทย ร่องรอยและบทเรียนประวัติศาสตร์ในช่วงสงคราม

หลุมหลบภัย สาธารณะในไทย ร่องรอยและบทเรียนประวัติศาสตร์ในช่วงสงคราม

ใครจะคิดว่าในศตวรรษที่ 21 เช่นนี้ ยังมี ภัยสงครามและการรุกรานระหว่างประเทศกันอยู่ เพราะบทเรียนจากทั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ก็มีการถอดประสบการณ์และต่างรับรู้ถึงพิษภัยความเสียหายทั้งบ้านเมืองและชีวิตไปอย่างสูญเปล่า

เพราะทุกสงครามจบลงด้วยการตั้งโต๊ะเจรจาเพื่อหาสันติภาพร่วมกันแล้วเหตุใดโลกของเรายังมีประเทศที่กล้าลุกขึ้นมาบุกดินแดนอื่นอยู่ 

นอกเหนือจากนั้นบรรพบุรุษได้มอบบทเรียนและป้องก้นไว้ให้แก่เราบ้าง เช่น ในประเทศ ยูเครน ที่กำลังเผชิญหน้ากองทัพรัสเซียอยู่นี้ หลายๆชีวิต หลายๆ ครอบครัวเลือกที่จะปักหลักในประเทศ ด้วยการเข้าไปหลบใน หลุมหลบภัย ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยสงครามในอดีต รวมถึงใช้ทั้งสถานีรถไฟในยามปกติ

คลิปประชาชนหนีภัยสงคราม ในหลุมหลบภัยที่ประเทศยูเครน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 แล้วในไทยเองที่ในอดีตก็มีการสู้รบและผ่านสงครามมาแล้วเช่นกัน ก็มีการสร้าง หลุมหลบภัย ไว้ตามจุดสำคัญๆ ของกรุงเทพและบริเวณโดยรอบ เพื่อใช้เป็นสถานที่ให้ประชาชนเข้าไปหลบเมื่อมีการโจมตีทางอากาศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเริ่มขึ้น เมื่อ พ.ศ.2482 ไทยตกเป็นเป้าหมายของฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะถือข้างฝ่ายญี่ปุ่นในขณะนั้น 

มาดูกันว่าหน้าตาหลุมหลบภัยในตอนนั้นและปัจจุบันหลงเหลือร่องรอยไว้อย่างไรกันบ้าง 

  • หลุมหลบภัย สวนสัตว์เขาดินวนา (เดิม) 

ได้มีการสร้าง หลุมหลบภัย สาธารณะขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2488 สามารถจุได้ 60 คนในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อรองรับเหตุการณ์โจมตีฉุกเฉินทางอากาศ ต่อมาได้มีการปรับปรุงให้เป็นนิทรรศการจัดแสดงสื่อนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของ สงครามมหาเอเชียบูรพาและจำลองชีวิตในหลุมหลบภัย
ภาพภายนอกหลุมหลบภัยในบริเวณเขาดิน จาก dusitzoothailand
 

  • หลุมหลบภัย สถานีรถไฟหัวลำโพง 

ปัจจุบันใครที่ผ่านไปผ่านมาคงไม่ทันได้สังเกตเห็นเพราะ หลุมหลบภัย ดังกล่าวได้มีการปรับปรุงให้กลายเป็นลานน้ำพุหัวช้างไปแล้ว แต่ในอดีตเป็นอีก 1 หลุมหลบภัยทางอากาศของกรุงเทพฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเช่นกัน สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2482 เหตุผลที่สร้างไว้หน้าสถานีรถไฟแห่งนี้ก็เพราะเป็นเส้นทางการคมนาคมหลักในสมัยนั้น จึงตกเป็นเป้าหมายโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร

ภาพหลุมหลบภัยในอดีตบริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง ภาพจาก The State Railway of Thailand

ภาพลานน้ำพุในปัจจุบันที่เคยเป็นที่ตั้งหลุมหลบภัย

  • หลุมหลบภัย หน้าโรงเรียนศึกษานารี

ปัจจุบันยังเหลือเค้าโครงของหลุมเดิมอยู่แต่ดัดแปลงเป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ทั้งนี้หลุมจมไปในดินกว่าครึ่งนึงแล้ว

  • หลุมหลบภัย เอเชียทีค

ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ถนนสายแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1941-1945 (พ.ศ.2482- พ.ศ.2488)

ภาพหลุมหลบภัยในอดีตที่ยังหลงเหลืออยู่บริเวณเอเชียทีค

  • หลุมหลบภัย ปทุมธานี

จากคำบอกเล่าของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในขณะนั้น กล่าวว่าในตอนนั้น จอมพลป.พิบูลสงคราม ได้สร้าบ้านพัก 2 หลังและหลุมหลบภัย 1 แห่งที่สามารถจุคนได้ 15-20 คน ปัจจุบันได้มีการอนุรักษ์ให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มาศึกษาหาความรู้เรื่องราวในอดีต

  • หลุมหลบภัย พระประแดง

ตั้งอยู่บริเวณอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2584 มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง สามารถบรรจุคนได้ 60 คน และ 100 คน ปัจจุบันทรุดโทรมและมีน้ำท่วมขัง ไม่ได้รับการดูแล

ที่มา

1 2 3 4 5

related