svasdssvasds

อัปเดตสถานการณ์พลาสติกโลก คุณสร้างขยะพลาสติกไปมากแค่ไหนในหนึ่งสัปดาห์

อัปเดตสถานการณ์พลาสติกโลก คุณสร้างขยะพลาสติกไปมากแค่ไหนในหนึ่งสัปดาห์

ทำไมเราต้องรู้เรื่องราวของพลาสติก ขยะพลาสติกส่งผลกระทบอย่างไรต่อมนุษย์ เราใช้พลาสติกไปเท่าไหร่แล้ว ทำไมคุณต้องรู้เรื่องนี้ Springnwes ชวนอัปเดตสถานการณ์พลาสติกโลก ทำไมคุณต้องรู้

ธรรมชาติสร้างมนุษย์ มนุษย์สร้างพลาสติกและพลาสติกทำลายธรรมชาติ วัฏจักรใหม่ของการดำรงอยู่ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ดำเนินมายาวนานหลายศตวรรษและกำลังคร่าทุกสิ่งมีชีวิตโดยที่มนุษย์ได้เพิกเฉยมันไป และรับรองได้ว่าเราเองยังไม่มีความรู้มากพอที่จะต่อสู้กับสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา

หลายคนตั้งคำถาม เราต้องรู้สถิติของพลาสติกไปทำไม ทำไมเราต้องคอยนับว่าเราใช้ไปเท่าไหร่ ทำไมเราต้องเข้าใจปัญหามลพิษของพลาสติก ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนรู้ดีถึงปัญหาของพลาสติกและเรื่องราวความร้ายกาจของสิ่งเหล่านี้ และเราอยากบอกว่า ‘ขอบคุณ’ ที่คุณรับรู้เรื่องราวของมัน แต่ในทางกลับกันผู้คนที่ตั้งคำถามเหล่านี้ก็ไม่ผิดที่จะไม่สงสัยในปัญหาที่ตัวเองไม่ได้เผชิญอย่างซึ่งหน้า แต่เรามีคำตอบให้คุณว่าทำไมคุณจำเป็นต้องรู้เรื่องราวของพลาสติก

หลายคนเกิดมาก็พบกับบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย หลากสีสัน หลากรูปร่างและต่างคุณประโยชน์ ขวดนมที่แม่เราใช้ชงนมให้เราดื่มยามหิว ของเล่นต่างๆที่เราหัวเราะร่าไปกับมัน รถเข็นที่พาเราออกสู่โลกกว้างและอีกมากมายที่สร้างความบันเทิงและความสะดวกสบายให้แก่เรา ในความเป็นจริงเราอยากให้คุณรู้จักกับประวัติศาสตร์ของพลาสติกก่อน แต่ไม่เป็นไร หากอยากรู้สามารถไปศึกษาต่อได้หลังจากอ่านบทความนี้จบแล้ว ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ >>> 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

มนุษย์เราเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

จากปีค.ศ.1950 ถึงปี 1970 ในช่วงนั้นมีอัตราการผลิตพลาสติกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และด้วยเหตุนี้ ขยะพลาสติกจึงถูกจัดการได้ค่อนข้างดีและเรายังมองไม่เห็นปัญหาของมัน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างปีค.ศ.1970 ถึง 1990 จู่ๆการสร้างขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ด้วยเหตุผลที่ว่ามันสะดวกสบายต่อมนุษย์เราซะเหลือเกิน การผลิตพลาสติกสร้างกำไรและเม็ดเงินมหาศาลให้กับนายทุนที่มองเห็นโอกาสเหล่านั้น

จนในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ปริมาณขยะพลาสติกที่เราสร้างขึ้นภายในทศวรรษเดียวมีปริมาณมากกว่า 40 ปีที่ก่อนหน้า จนถึงวันนี้ เราผลิตขยะพลาสติกไปแล้วประมาณ 400 ล้านตันทุกปี

เราทุกคนรู้ดีว่าพลาสติกนั้นมีชีวิตที่อมตะขนาดไหน เราจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ปี 1970 อัตราการผลิตพลาสติกเติบโตเร็วกว่าวัสดุอื่นๆ ซึ่งหากแนวโน้มการเติบโตในอดีตยังคงดำเนินต่อไป มีการคาดการกันว่า การผลิตพลาสติกขั้นต้นทั่วโลกจะสูงถึง 1,100 ล้านตันภายในปี 2050

มนุษย์เรากำลังเสพติดพลาสติก

พบไมโครพลาสติกในเส้นเลือด, นักวิทย์เผยงานวิจัยพบไมโครพลาสติกในปอด, รู้หรือไม่เราบริโภคพลาสติกปริมาณเท่าบัตรเครดิตทุกๆ 1 สัปดาห์ ฯลฯ ทั้งหมดที่ว่ามานี้คือข่าวสารเกี่ยวกับการเตือนภัยเรื่องพลาสติก คุณจะเห็นได้ว่างานวิจัยเหล่านี้เริ่มคืบคลานเข้ามาอยู่ภายในร่างกายของเราแล้ว และการค้นพบแบบนี้ปฏิเสธได้หรือไม่ว่ามนุษย์เราเสพติดพลาสติกหรือเปล่า

อาหารที่เรากิน น้ำที่เราดื่ม อากาศที่เราหายใจ และสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราล้วนผสมปนเปไปด้วยพลาสติก หากคุณอยากรู้ที่มาของไมโครพลาสติกล่ะก็ เราขอแนะนำบทความก่อนหน้านี้ที่ได้อธิบายถึงที่มาไมโครพลาสติกว่ามันแฝงอยู่ที่ไหนบ้าง อ่านต่อได้ที่ >>> ไมโครพลาสติก ภัยร้ายล่องหน มันคืออะไรและอันตรายมากไหม? หรือจะดูจากคลิปนี้ก็ได้

จะไม่ให้บอกว่าเสพติดได้อย่างไร ในเมื่อไปไหนก็มีพลาสติกติดตัวเราไปทุกที่ และกลายเป็นของจำเป็นในชีวิตประจำวันไปแล้ว เราไม่ได้บอกหรือกล่าวหาผู้คนที่พกพาพลาสติกหรอกนะ เราแค่กำลังบอกว่ามันอยู่ทุกหนทุกแห่ง กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราไปแล้ว เดินทางไปแห่งหนไหนก็เจอตลอด พลาสติกมีอยู่ทุกที่จริงๆ ว่าไหมล่ะ?

งานวิจัยเขาว่าไว้

มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศออสเตรเลีย พบว่าเราใช้พลาสติกขนาดเล็กประมาณ 2,000 ชิ้นทุกสัปดาห์ นั่นคือประมาณ 21 กรัมต่อเดือน หรือเพียง 250 กรัมต่อปี

นักวิทยาศาสตร์หลายสำนักยอมรับว่า เรื่องของพลาสติกที่มีผลกระทบต่อมนุษย์นั้นยังไม่ได้รับการยืนยันที่แน่นอนว่ามันส่งผลกระทบด้านใดต่อเราบ้าง เรายังไม่เข้าใจผลที่ตามมาของการบริโภคพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งของเรา แต่ที่ทราบอย่างชัดเจนคือ มันสร้างพิษแก่เราแน่นอน

สิ่งที่เรารู้คือการรั่วไหลของมลภาวะพลาสติกสู่ธรรมชาติและท้ายที่สุดแล้วในอากาศที่เราหายใจ อาหารที่เรากินและน้ำที่เราดื่มเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งนี้น่าตกใจ และจนถึงขณะนี้ รัฐบาลทั่วโลกต่างเผชิญกับการตอบสนองที่ไม่เพียงพอ สิ่งนี้จะต้องได้รับการแก้ไขทันที

เราบริโภคส่วนประกอบพลาสติกทุกวันแบบไม่รู้ตัว มีการซื้อขวดพลาสติกหนึ่งล้านขวดทั่วโลกทุก ๆ นาที ในขณะที่มีการใช้ถุงพลาสติกมากถึง 5 ล้านล้านใบทั่วโลกทุกปี โดยรวมแล้ว ครึ่งหนึ่งของพลาสติกที่ผลิตได้ทั้งหมดได้รับการออกแบบสำหรับวัตถุประสงค์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

พลาสติกรวมถึงไมโครพลาสติกมีอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเรา พวกมันกำลังเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกฟอสซิลของโลกและเป็นเครื่องหมายของ Anthropocene ซึ่งเป็นยุคทางธรณีวิทยาของเราในปัจจุบัน พวกเขายังให้ชื่อของพวกเขากับที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ทางทะเลใหม่ที่เรียกว่า "plastisphere"

หรือหากจะให้อธิบายง่ายๆแบบเห็นภาพเลยคือ พลาสติกตอนนี้เปรียบเสมือซากฟอสซิลได้แล้ว มีอายุยืนนอน ไม่ย่อยสลายหายไป หลงเหลือร่องรอบไว้เพียบ แต่ต่างกันคือ ไม่ต้องรอการขุดค้นพบ เราก็พบกับมันได้

ขยะแบบไหนเยอะที่สุดกันนะ ฉันอยากรู้?

จากขยะพลาสติกจำนวน 7 พันล้านตันที่เกิดขึ้นทั่วโลกจนถึงขณะนี้ มีการรีไซเคิลน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ขยะพลาสติกหลายล้านตันสูญเสียสิ่งแวดล้อม หรือบางครั้งส่งหลายพันกิโลกรัมไปยังจุดหมายปลายทางซึ่งส่วนใหญ่ถูกเผาหรือทิ้ง

ก้นบุหรี่ ซึ่งมีตัวกรองเป็นเส้นใยพลาสติกขนาดเล็ก เป็นขยะพลาสติกประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดในสิ่งแวดล้อม เครื่องห่ออาหาร ขวดพลาสติก ฝาขวดพลาสติก ถุงพลาสติกของชำ หลอดพลาสติก และเครื่องกวน เป็นสินค้าทั่วไปรองลงมา พวกเราหลายคนใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทุกวันโดยไม่ได้คิดว่าพวกมันจะลงเอยที่ใด นอกจากถังขยะ แล้วปลายทางสุดท้ายล่ะ เจ้าจะได้ไปที่ใดกันนะ?

อัปเดตสถานการณ์พลาสติกโลก คุณสร้างขยะพลาสติกไปมากแค่ไหนในหนึ่งสัปดาห์ คงคา สายเลือดของขยะพลาสติกสู่มหาสมุทร

ปัจจุบันมีขยะพลาสติก 75 ถึง 199 ล้านตันที่พบในมหาสมุทรของเรา ปริมาณขยะพลาสติกที่เข้าสู่ระบบนิเวศทางน้ำอาจเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจาก 9-14 ล้านตันต่อปีในปี 2016 เป็น 23-37 ล้านตันต่อปีภายในปี 2040 เว้นแต่ว่าเราจะเปลี่ยนวิธีการผลิต ใช้ และกำจัดพลาสติก

แม่น้ำของโลกทำหน้าที่เป็นท่อส่งขยะโดยตรงลงสู่ทะเลสาบและมหาสมุทร โดยคาดว่าแม่น้ำ 1,000 สาย มีส่วนเกือบ 80% ของการปล่อยขยะพลาสติกจากแม่น้ำประจำปีทั่วโลกลงสู่มหาสมุทร ซึ่งอยู่ในช่วง 0.8 ถึง 2.7 ล้านตันต่อปี โดยแม่น้ำสายเล็กในเมืองมีมลพิษมากที่สุด

  • แม่น้ำมิสซิสซิปปี้ไหลผ่านแผ่นดินใจกลางของอเมริกา สร้างท่อสำหรับทิ้งขยะไปยังอ่าวเม็กซิโก และท้ายที่สุดก็คือมหาสมุทร
  • น้ำหนักรวมของขยะพลาสติกที่รวบรวมในอำเภอโขงชัยมีมากกว่าขยะในอำเภอโพธิ์ไทรถึง 2 เท่า เนื่องจากอำเภอโขงชัยตั้งอยู่ปลายน้ำ หลังจากจุดเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขง

ทำอย่างไรดี?

อย่างที่บอกการที่คุณจะใช้พลาสติกนั้นไม่ผิด แต่มันควรลดและมีวิธีการจัดการที่ดีกว่า และการทดแทนที่เหมาะสม

เราไม่แน่ใจว่า คุณอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ หรืออ่านแล้วรู้สึกอย่างไร คำตอบของหัวข้อที่ว่า เรารู้เรื่องพลาสติกไปทำไม เราไม่แน่ใจว่าคุณเข้าใจหรือยัง แต่เราหวังว่าปริมาณที่เยอะ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะพอเป็นกล่องลังที่เมื่อคุณเหยียบขึ้นไปจะพอมองออกได้ว่ามันหนักหนาเพียงใด

สิ่งที่นักวิจัยจากหลายองค์กรแนะนำคือ การร่วมมือและการสร้างความตระหนักรู้ในทุกๆคน เราสร้างพลาสติกได้ เราก็ทำลายพลาสติกได้เช่นกัน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้งอยู่แล้ว เราขอบคุณคุณมากๆ คุณเป็นคนหนึ่งที่เห็นความสำคัญของปัญหาเหล่านี้แล้ว หรือหากใครยังไม่ได้เริ่ม เราขอให้บทความนี้เป็นการ์ดเชิญให้คุณได้ลองทำดูสักครั้งเพื่อช่วยโลก ลองเปลี่ยนพฤติกรรมพกถุงผ้าไปไหนมาไหนตลอด พกแก้วน้ำ หลอด และกล่องข้าวไปเอง หรือลองทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกถังดูก็ดีมากเลยล่ะ

แต่ในเมื่อคุณทำได้ คุณต้องไม่ใช่คนเดียวที่เปลี่ยน บริษัทเอกชนและรัฐบาลต้องเริ่มลงมือทำด้วย นโยบายของคุณมีความหมายต่อเราและต่อโลก คุณสามารถทำได้ในขณะที่คุณเองก็สร้างกำไรไปด้วยได้ รัฐบาลหลายฝ่ายคุณคือคนของประชาชน อย่างน้อยก็คสรจัดระเบียบในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง เป็นระเบียบมากขึ้นและสามารถสร้างองค์ความรู้และความตระหนักสู่ผู้คนและชุมชนให้ได้ นี่คือภารกิจของเราทุกคน

ขอบคุณที่อ่านบทความนี้จนจบแล้วพบกันใหม่บทความหน้า ติดตามได้ทุกช่องทางของ Springnews

ที่มาข้อมูล

https://www.unep.org/interactives/beat-plastic-pollution/

https://wwf.panda.org/wwf_news/?348371/Could-you-be-eating-a-credit-card-a-week

https://www.bbc.com/news/science-environment-61393078

related