svasdssvasds

นักวิทย์เตือน โลกร้อน น้ำแข็งละลาย เชื้อไวรัสใหม่อาจอุบัติขึ้น

นักวิทย์เตือน โลกร้อน น้ำแข็งละลาย เชื้อไวรัสใหม่อาจอุบัติขึ้น

ว่าด้วยเรื่องของเชื้อโรคล้านปีที่หลับไหลใต้ธารน้ำแข็ง นักวิทย์เตือน ภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดเชื้อระบาดใหม่ หลังมีการขุดค้นพบแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ในแอนตาร์กติกา

เป็นไปได้ไหมที่ในอดีตกาล โลกของเรามีเชื้อโรคแปลกๆหรือเชื้อราแบคทีเรียที่มองไม่เห็น ล่องลอยอยู่ในอากาศมากมาย ซึ่งได้สร้างโรคประหลาดให้กับสัตว์ เรื่องแปลกๆแบบนี้ เราซึ่งเป็นมนุษย์ในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครทราบหรอกว่าในอดีตมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ถึงแม้เราจะเป็นคนในอดีตกาลเราก็คงไม่รู้หรอกว่าสิ่งนี้อาจเป็นเชื้อโรคได้ จริงไหม? ดังนั้นบทความนี้จะบอกเล่าถึงการค้นพบใหม่เกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรียที่ถูกแช่แข็งซึ่งอายุนับล้านปี และอยากชวนผู้อ่านมาวิเคราะห์ว่าจะเป็นไปได้ไหม ถ้าโลกของเราร้อนขึ้น เชื้อแบคทีเรียที่ถูกแช่แข็งอาจจะโผล่ขึ้นมามากขึ้น

การหลอมละลายทุกหย่อมหญ้า

เวลาเราเอาน้ำแข็งไปตั้งบนเตาอุ่นๆ แน่นอนว่าน้ำแข็งต้องละลาย ตอนนี้โลกของเราเปรียบเสมือนถุงน้ำแข็งนั้น ที่กำลังโดนความร้อนจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก รนก้นถุงอยู่ เป็นผลทำให้ภูเขาน้ำแข็งหลายแห่งเริ่มละลาย จนการค้นพบมากมายผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด

แผ่นน้ำแข็งทั้งในกรีนแลนด์ แอนตาร์กติก รวมไปถึงภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อย่างเทือกเขาแอลป์ กำลังเปลี่ยนจากภูเขาสีขาวโพลนกลายเป็นภูเขาสีเขียวน้ำตาลสลับกันไป ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถมองเห็นได้อย่างแจ่มชัดจากอวกาศเลยด้วย ภูเขาที่อดีตเคยเป็นหนึ่งในราชาของความหนาวเย็น แต่บัดนี้กลายร่างและถูกปกคลุมไปด้วยพืชสีเขียวแทน

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นและปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นทำให้ฤดูปลูกยาวนานขึ้น โดยพืชใหม่ได้ตั้งรกรากบนภูเขาแทนหิมะไปแล้วกว่า 77% ตั้งแต่ปี 1984 และธารน้ำแข็งก็เริ่มห่างออกไปไกลเรื่อย ๆ แล้ว โดยผู้เผยแพร่นี้คือ ศาสตราจารย์ Sabine Rumpf จาก University of Basel อาจารย์ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science พร้อมกล่าวว่า ขนาดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ใหญ่มาก และมันกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

พื้นที่ภูเขามีความร้อนเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกประมาณ 2 เท่า แม้ว่าเทือกเขาแอลป์จะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นและสามารถช่วยเรากักเก็บคาร์บอนได้ แต่สิ่งนี้ก็มีแนวโน้มที่จะเกินสมดุลด้วยผลกระทบเชิงลบแทน รวมไปถึงการลละลายของชั้นดินเยือกแข็ง หิมะสะท้อนแสงแดดน้อยลง การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย และการอุบัติขึ้นของเชื้อโรคล้านปีที่หลับใหลให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง

Pizolgletscher ทางตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์ปี2006และ2018 Photos by Matthias Huss, GLAMOS / climate.copernicus.eu

ทำไมรายงานเหล่านี้เพิ่งโผล่มาทั้ง ๆ ที่เกิดมานานแล้ว

ศาสตราจารย์ Antoine Guisan จาก University of Lausanne อธิบายว่า เพราะว่าการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมก่อนหน้านี้ไม่ได้ระบุถึงแนวโน้มดังกล่าว แจเป็นเพราะความละเอียดของภาพถ่ายดาวเทียมไม่เพียงพอหรือเพราะระยะเวลาพิจารณาที่สั้นเกินไป แต่แม้ว่าข้อมูลที่มีความละเอียดสูงจะตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงของความลึกของหิมะ แต่การวัดจากพื้นดินได้แสดงให้เห็นการลดลงของความลึกที่ระดับความสูงต่ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

การละลาย กลายเป็นการปลุกให้ไวรัสร้ายพันปีตื่นขึ้นจริงเหรอ?

ว่าด้วยเรื่องของการอุบัติ คงไม่มีใครทราบถึงผลที่ตามมาได้อย่างชัดเป๊ะ แต่การค้นพบนั้นคือเรื่องจริง เพราะเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแบคทีเรียที่ถูกเรียกว่า “พลังมหาอำนาจ (Superpower)” ที่นักวิทย์กังวลว่าอาจก่อให้เกิดโรคระบาดร้ายแรงในทวีปแอนตาร์กติกาได้

นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่า แบคทีเรียตัวนี้มีภูมิต้านทานยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งอาจทำให้การรักษาในปัจจุบันไม่มีประโยชน์ นักวิจัยชาวชิลีได้ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจระหว่างการวิจัยว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอาจส่งผลต่อการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่ถูกแช่ในน้ำแข็งมาเป็นเวลาหลายพันล้านปีได้อย่างไร

นักวิทย์กำลังเก็บตัวอย่างดินเพื่อมองหาแบคทีเรีย Cr.Universidad de Chile/Newsflash/Australscope

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิทย์เตือนว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจทำให้พวกมันมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการแพร่กระจายไปไกลกว่าบริเวณขั้วโลก ซึ่งอาจส่งผลที่ร้ายแรงกว่านั้น ซึ่งอาจจะมากกว่าโควิด-19ที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Science of the Total Environment ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดย Andres Marcoleta นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิลี

แบคทีเรียร้ายจากคาบสมุทรแอนตาร์กติก

Andres กล่าวว่า ชื้นส่วนดีเอ็นเอนี้เคลื่อนที่ได้ มีพลังพิเศษที่จะสามารถพัฒนาตัวเองเพื่อต้านทานสภาวะที่รุนแรงและสามารถถ่ายโอนไปยังแบคทีเรียอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย

ดินในคาบสมุทรแอนตาร์กติก ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายมากที่สุด เป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรียที่หลากหลายและดินบางส่วนเป็นแหล่งที่อยู่ของยีนบรรพบุรุษที่มีความสามารถในการต้านยาปฏิชีวนะได้ โดยนักวิจัยได้เก็บตัวอย่างจำนวนหนึ่งมาจากคาบสมุทรแอนตาร์กติกในช่วงระหว่างปี 2017 ถึงปี 2019 และพวกเขาก็ต้องประหลาดใจเมื่อแบคทีเรียจำนวนมากที่เก็บมาได้นั้นไม่สามารถทำลายได้ในทางปฏิบัติ

แบคทีเรีย Pseudemonas เป็นหนึ่งในกลุ่มแบคทีเรียเด่นที่เก็บมาได้จากคาบสมุทรแอนตาร์ติก มันไม่ก่อให้เกิดโรคใดๆ แต่สามารถเป็นแหล่งที่อยู่ของยีนต้านทานได้ ซึ่งเราไม่สามารถหยุดยั้งมันโดยสารฆ่าเชื้อทั่วไปได้ เช่น ทองแดง (copper) คลอรีน (chlorine) หรือควอเทอร์นารีแอมโมเนีย (quaternary ammonium)

นอกจากนี้พวกเขายังพบว่าแบคทีเรียโพลาโรโมแนส มีความโดดเด่นในสภาพแวดล้อมแบบขั้วโลก มีศักยภาพในการยับยั้งยาปฏิชีวนะชนิดเบตา-แลคแทม ซึ่งจำเป็นสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อต่าง ๆ อะไรมันจะเก่งขนาดนั้น

จุลินทรีย์อายุ 830 ล้านปีในก้อนเกลือ

หากการค้นพบข้างต้นยังน่าตื่นเต้นไม่พอ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งการค้นพบที่ไล่ตามกันมาติดๆ กับการค้นพบจุลินทรีย์โบราณที่มีชีวิตเมื่อราว ๆ 830 ล้านปีก่อน ติดแหงกในผลึกเกลือจากออสเตรเลีย และมีความเป็นไปได้ที่จุลินทรีย์เหล่านี้อาจยังมีชีวิตอยู่

การรวมของเหลวในเฮไลต์กับจุลินทรีย์ (จุลิทนรีย์ในก้อนเกลือ) Cr.Courtesy Sara Schreder-Gomes เพื่อทำความเข้าใจกับสารเคมีได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้เขียนขออธิบายแบบนี้ว่า ปกติ เกลือมีคุณสมบัติในการถนอมอาหารและคงไว้ซึ่งความชุ่มชื้นบางส่วนได้ ซึ่งนี่ก็อาจเป็นเหตุผลที่ผลึกเกลือที่มีคุณสมบัติดังกล่าวและความเย็นจากน้ำแข็ง เมื่อมาบรรจบกัน สิ่งใดก็ตามที่มีชีวิตก็จะเหมือนแช่แข็งไปด้วย เหมือนการแช่แข็งอาหารทั่วไปเพื่อความสดใหม่ แต่ยิ่งเย็นมันก็อยู่ได้นานมากขึ้น เมื่อกลับสู่อากาศภายนอกอีกครั้งในสภาพอากาศที่เหมาะสม ก็มีโอกาสที่สิ่งมีชีวิตที่ถูกแช่แข็งจะกลับมามีชีวิตอีกครั้งได้

งั้นขอกลับมาอธิบายกรค้นพบต่อ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวถูกขังอยู่ในกระเป๋าของเหลวเล็ก ๆ ซึ่งเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมมนุษย์ เกลือเหล่านี้ก่อตัวมาจากหินตะกอน จุลินทรีย์ที่ค้นพบนั้นมีชีวิตอยู่เมื่อราวๆ 1 พันล้านปีก่อนในสภาพแวดล้อมทางทะเลที่เค็มและตื้น หรือในทะเลสาบน้ำเค็ม

นักวิจัยค้นพบชีวิตโบราณนี้โดยการมองเข้าไปในผลึกเกลือโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ซึ่งหมายความว่าพวกมันจะไม่รบกวนกระเป๋าของเหลว และไม่ทราบสถานะของชีวิตภายในพวกมัน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ได้อ้างว่าก่อนหน้านี้พวกเขาได้ชุบชีวิตจุลินทรีย์ดึกดำบรรพ์ที่พบในผลึกเกลือได้ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตจากออสเตรเลียอาจยังมีชีวิตอยู่

การศึกษาที่เป็นอันตรายและเพิ่มความเสี่ยง

จุลินทรีย์โบราณเคยพบในผลึกเกลือมาก่อน โดยมีอายุเก่าแก่ที่สุดในยุคเปอร์เมียนเมื่อประมาณ 250 ล้านปีก่อน การศึกษาส่วนใหญ่ของคริสตัลเหล่านี้เป็นอันตราย นักวิจัยสกัดของเหลวที่ถูกขังอยู่ในผลึกด้วยหลอดฉีดยา บดหรือละลายผลึกเพื่อเข้าถึงความลึกลับภายใน

นักวิจัยไม่สามารถระบุชนิดของจุลินทรีย์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าจะดูเหมือน Dunaliella ซึ่งเป็นสาหร่ายที่ชอบเกลือที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่มีรสเค็มในสมัยโบราณและสมัยใหม่ จุลินทรีย์ที่ชอบกินเกลือเป็นผู้รอดชีวิต สามารถอยู่เฉยๆ หรือเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญเพื่อให้มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่น้ำรอบ ๆ ตัวแห้ง

ในปี 2000 นักวิทยาศาสตร์อ้างว่าได้ชุบแบคทีเรียอายุ 250 ล้านปีจากเกลือ แม้ว่าพวกเขาจะไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าแบคทีเรียซอมบี้ของพวกมันไม่ใช่สิ่งปนเปื้อนสมัยใหม่ จุลินทรีย์ที่เก่าแก่อื่นๆ ได้รับการฟื้นฟูด้วยความมั่นใจมากขึ้น รวมถึงแบคทีเรียอายุ 101.5 ล้านปีจากตะกอนใต้ท้องทะเล ณ จุดนี้นักวิจัยยังไม่ได้เจาะผลึกเพื่อค้นหาว่าจุลินทรีย์ในออสเตรเลียอาจมีโอกาสมีชีวิตเป็นครั้งที่สองหรือไม่

การเปลี่ยนแปลงของผุณหภูมิโลกทำให้ภูเขาน้ำแข็งเริ่มละลายเร็วขึ้น โดยเฉพาะฤดูร้อน Cr. University of Manchester บทสรุปจากผู้เขียน

แม้จะดูเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างเข้าใจยากไปสักหน่อย สำหรับผู้อ่านบางคนกับเรื่องของสารเคมีปริศนา แต่แน่นอนว่าการศึกษาเรื่องใหม่ ๆ แบบนี้มีประโยชน์อยู่บ้างในแง่ของการเตรียมตัวป้องกัน หรือเป็นแนวทางในการคิดค้นยาประเภทใหม่ที่จะสามารถต่อต้านไวรัสที่แข็งแกร่งมากกว่าปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งการค้นหาความจริงของจุลินทรีย์นอกโลก เผื่อวันใดเราค้นพบสิ่งแปลกปลอมนอกโลก การค้นพบเพื่อหาทางต้านก็อาจจะมีประโยชน์เข้าสักวัน

เรื่องราวของเชื้อแบคทีเรียและจุลินทรีย์ในบทความนี้ กล่าวโดยรวมว่าพวกมันถูกแช่แข็งมาเป็นเวลานับล้านปีแล้ว ซึ่งก็ยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่าใต้ผืนน้ำแข็งอีกหลายแห่งทั่วโลกจะมีอะไรโผล่ขึ้นมาอีกบ้าง ส่วนหนึ่งเพราะวิกฤตการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้น้ำแข็งละลายและนำไปสู่การปลุกฟื้นคืนชีพของสิ่งมีชีวิตจากโลกดึกดำบรรพ์ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจ

และแน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้ไวรัสรุนแรงเกิดอุบัติขึ้นมาอีก ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตาม เพราะแค่โควิด-19 ตัวเดียวก็ทำมนุษย์ไขว้เขวไปพักใหญ่พอสมควร แต่หากเราไม่อยากให้ไวรัสมันอุบัติขึ้นมาจากการหลับใหล ก็คงต้องช่วยกันทำให้โลกไม่ร้อนกันไปมากกว่านี้ ด้วยกันหันมาสนใจข่าวสารและคำแนะนำด้านสิ่งแวดล้อมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศกันมากขึ้น

ที่มาข้อมูล

https://www.livescience.com/ancient-life-salt-crystals

https://au.news.yahoo.com/experts-warning-strains-of-superpower-bacteria-antarctica-074503639.html

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11057666/

https://www.sciencedaily.com/releases/2022/06/220602140840.htm?fbclid=IwAR1Y0wwgx1sRGP3y_LvrRnLW_NW6fF0CzCO0738UKFXTtLWVba_Cig7f5w4

related