svasdssvasds

วิธีรับมือเมื่อสูญเสียสิ่งที่รัก ตามหลักนักจิตวิทยา

วิธีรับมือเมื่อสูญเสียสิ่งที่รัก ตามหลักนักจิตวิทยา

เมื่อเกิดการสูญเสีย หลายคนคงหาวิธีรับมือได้ค่อนข้างยาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียคนรัก สูญเสียคนในครอบครัว แม้กระทั่งการเลิกกับแฟนหรือการถูกไล่ออกจากงาน สัตว์เลี้ยงเสียชีวิต อะไรก็ตามแต่เหตุการณ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นการสูญเสียทั้งสิ้น

เมื่อการสูญเสียเกิดขึ้นเรามีวิธีรับมือกับมันอย่างไร

จริง ๆ ก่อนที่เราจะไปถึงวิธีรับมือเมื่อสูญเสีย ต้องทำความเข้าใจกับจิตใจของตัวเราเองก่อน ว่าพอเราเจอเรื่องนี้เข้ามา เราอยู่ในขั้นไหน สภาวะจิตใจที่จะนำไปสู่การยอมรับได้อย่าง

  • ปฏิเสธ

เวลาเราเจอเหตุการณ์บางสิ่งบางอย่างเรามักจะปฏิเสธเรื่องราวที่เกิดขึ้น ความสมดุลของสภาวะจิตใจ บางคนมารูปแบบของการช็อก มันเกิดขึ้นเหรอ มันมาแล้วจริง ๆ เหรอ จะเห็นชัดเมื่อเราเห็นคนใกล้ชิดเสียชีวิต สิ่งเหล่านั้นเรียกว่ากลไกป้องกันตนเอง เพื่อให้จิตใจค่อย ๆ ปรับสมดุล

  • โกรธ

พอหลังจากเราปฏิเสธ เราเริ่มมีอารมณ์รับรู้ว่ามันเกิดขึ้นจริง จะมาในเรื่องของรูปแบบอารมณ์โกรธ จะเริ่มโกรธเรื่องราวที่เกิดขึ้น บางทีนำมาสู่การโกรธตัวเอง ถ้าในเรื่องของการสูญเสียคนในครอบครัวจะเกิดการเปรียบเทียบ เช่น ถ้าเราดูแลเขาได้มากกว่านี้จะโกรธตัวเองที่ไม่ไปดูแล ในช่วงเวลาแบบนั้น บางคนอาจรู้สึก ทำไมต้องนอกใจ ถ้าเรื่องอกหัก หลังจากที่เราเริ่มโกรธ เป็นช่วงที่คนรอบข้างต้องระวัง ต้องคอยมองอยู่ห่าง ๆ ปล่อยให้อยู่ในอารมณ์ภาวะโกรธของเขา จนสามารถเริ่มตระหนักจากอารมณ์โกรธของตัวเองได้

  • ต่อรอง

ต่อมาจะเริ่มต่อรองกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นมา ไม่เป็นไรหรอกเดี๋ยวค่อย ๆ แก้ไป สุดท้ายก็อาจกลับมาเป็นปกติ ร้องไห้ได้ ทำสิ่งที่สบายใจแล้วจะกลับมาเป็นปกติ บางคนจะเริ่มมีการต่อรอง เช่น บางคนต่อรองกับตัวเองในลักษณะของ การบอกกับตัวเอง ถ้าเป็นแบบนี้ จะต้องทำแบบนี้ จะมีคำว่า ถ้า... ต้อง... ในการต่อรองให้เรื่องราวเหล่านั้นดีขึ้น

  • เข้าใจ

เมื่อต่อรองแล้วไม่ได้ผล ช่วงต่อรองจะเป็นเหมือนกับการรับมือ ต่อสู้ เมื่อต่อรอง กับตัวเองได้สักพักเราจะเลิกเศร้า เราจะเข้าสู่การที่ทำความเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นจริงมันเป็นแบบนั้นจริง ๆ แล้ว เรื่องนั้นมันเกิดขึ้นจริง บางคนก็เศร้าจนจดจ่อกับอะไรไม่ได้เลย ซึ่งถ้าผ่านตรงนี้ไปได้จะมีความเข้าใจตัวเองมากขึ้น แต่หลายหลายคนที่อยู่ในภาวะความเศร้า ปล่อยตัวเองเศร้าจนไม่จัดการต่ออารมณ์ ปล่อยให้เศร้าจนดำดิ่งลงไป จนไปสู่ความรู้สึกว่า ฉันไม่มีค่าพอแต่ถ้าเราก้าวผ่านความเศร้าตรงนี้ไปได้ จะนำไปสู่ความเข้าใจ

ความเข้าใจในที่นี้ ไม่ได้แปลว่าเราไปปิดเรื่องราวที่มันเกิดขึ้น แต่เราเข้าใจแล้วว่าเหตุการณ์นั้นมันเกิดขึ้นกับเราจริง ๆ

ยกตัวอย่าง เช่น การสูญเสียเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงบางทีเราโทษตัวเอง ว่าดูแลไม่ดี ให้เวลาไม่มากพอ หรือไม่ได้ใส่ใจในอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ท้ายที่สุดแล้วก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ในที่สุดจะยอมรับได้ว่าสัตว์เลี้ยงของเราไม่อยู่แล้ว บางคนใช้วิธีการทดแทน โดยการซื้อสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้จัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น

related