svasdssvasds

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100%

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100%

ปัจจุบันชุมชนต่างๆ ในกทม. ได้หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาจำนวนขยะกันมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ชุมชนคลองลัดภาชี เจ้าของรางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ที่มีแนวคิดลดปริมาณขยะทั่วไปให้ได้ 100% ประกอบกับมีการจัดการที่ดี ทำให้จำนวนขยะลดลงอย่างต่อเนื่อง

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100% ชุมชนต้นแบบที่มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

ชุมชนต้นแบบการคัดแยกขยะ อย่าง ชุมชนคลองลัดภาชี ซอยเพชรเกษม 48 แยก 4-7 เป็นชุมชนเมืองตามระเบียบกรุงเทพมหานคร มีผู้อยู่อาศัย 79 หลังคาเรือน ประชากร 337 คน เป็นชุมชนที่มีการบริหารจัดการขยะ มีการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ นำกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ขยะรีไซเคิล คัดแยกขายที่ธนาคารขยะของชุมชน บางส่วนนำมาทำสิ่งประดิษฐ์ ขยะอินทรีย์ ขยะเศษอาหาร คัดแยกจากในครัวเรือนนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ เศษผักผลไม้นำมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ ส่งเสริมการคัดแยกน้ำมันเก่าที่ใช้แล้วจากคนในชุมชนส่งขายเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล 

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100% ปัจจุบันชุมชนคลองลัดภาชีมีการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เพื่อใช้ในการช่วยกำจัดขยะเศษอาหารให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น ขยะอันตรายคัดแยกและส่งให้เขตฯ นำไปกำจัด ขยะติดเชื้อและหน้ากากอนามัยคัดแยกใส่ถังรองรับขยะติดเชื้อและส่งให้เขตฯ นำไปกำจัด 

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100% สำหรับปริมาณมูลฝอย ในปี 2564 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2564 มีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย 5,500 กิโลกรัม/เดือน หรือ183 กิโลกรัม/วัน เขตฯ เข้าเก็บขนมูลฝอย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ปัจจุบันตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนสิงหาคม 2565 มีปริมาณมูลเฉลี่ย 2,100 กิโลกรัม/เดือน หรือ 70 กิโลกรัม/วัน เขตฯ เข้าจัดเก็บมูลฝอย 2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยเป้าหมายในอนาคตชุมชนคลองลัดภาชี ต้องการลดปริมาณขยะทั่วไปให้ได้ 100 % เพื่อความเป็นระเบียบในชุมชนและลดภาระการจัดเก็บของสำนักงานเขต เป็นชุมชนปลอดถังขยะในอนาคต และเป็นแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนหรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งนี้ ในปี 2565 เขตฯ ได้คัดเลือกชุมชนคลองลัดภาชีเข้าร่วมประกวดในโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ซึ่งเป็นโครงการของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับกลุ่มชุมชนขนาดเล็ก (S) ซึ่งชุมชนคลองลัดภาชี ได้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบที่ 1 (รอบเอกสาร) ได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล 

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100%

ดูแลเรื่องความปลอดภัยในชุมชน

ในชุมชนมีการส่งสายตรวจเทศกิจปิดช่องโหว่จุดเสี่ยงอาชญากรรมใต้สะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ สำหรับจุดเสี่ยงภัยอาชญากรรมบริเวณใต้สะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ เป็นพื้นที่เปลี่ยวจุดอับลับสายตา โดยเฉพาะเวลากลางคืน มักมีบุคคลเร่ร่อนมาจับกลุ่มดื่มสุรา อาศัยหลับนอนและขับถ่าย สร้างความสกปรกส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่เดินทางผ่านไปมา โดยเขตฯ ได้จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจตราดูแลความเรียบร้อย เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน ในช่วงเวลา 08.00-18.00 น. และในช่วงเวลา 18.00-08.00 น. (ของวันรุ่งขึ้น) โดยจัดสายตรวจชุดปฏิบัติการชุดกลางคืน ดูแลรับผิดชอบต่อจากชุดกลางวัน มีการลงลายมือชื่อการตรวจและถ่ายภาพส่งผ่านไลน์กลุ่มเทศกิจ และรายงานผ่านกลุ่มไลน์โครงการบูรณาการสำนักเทศกิจเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100%

จัดสรรพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจสาธารณะ

จากการลงพื้นที่ในวันนี้ รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ ได้มอบหมายให้ เขตฯ ประสานกรมทางหลวงชนบท เพื่อขอใช้พื้นที่บริเวณใต้ BTS บางหว้า จัดทำเป็นสถานที่ออกกำลังกาย หรือสำหรับประชาชนทำกิจกรรมสันทนาการ โดยมี นายยุทธนา ป่าไม้ ผู้อำนวยการเขตภาษีเจริญ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตภาษีเจริญ ประชาชนในชุมชนคลองลัดภาชี และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100%

ชุมชนคลองลัดภาชี คว้ารางวัลชุมชนปลอดขยะ Zero Waste แนวคิดลดขยะให้ได้ 100% จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่เขตภาษีเจริญเพื่อติดตามงานตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจพื้นที่จัดทำสวน 15 นาที บริเวณเกาะกลางถนนพุทธมณฑล สาย 1 ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างสำหรับการออกกำลังกายใกล้ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ขนาดพื้นที่ 1,200 เมตร และสวนแห่งรอยยิ้มและพื้นที่สุขภาวะ พื้นที่ 400 เมตร โดยเขตฯ มีแนวคิดจะปรับปรุงสวนทั้ง 2 แห่ง โดยปรับปรุงพื้นสนาม ปลูกต้นไม้เพิ่มเติม ปรับระดับดิน ปูหญ้า แผ่นทางเดิน ที่นั่ง และซ่อมแซมวัสดุในแต่ละสวนที่ชำรุดทรุดโทรม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาใช้บริการออกกำลังกาย และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนพื้นที่ปลูกต้นไม้ถนนเพชรเกษม ช่วงปากทางถนนพุทธมณฑล สาย 1 เขตฯ จะดำเนินการปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกัน คือ ต้นทองอุไร ตั้งแต่คลองบางกอกใหญ่ถึงคลองราชมนตรี ระยะทาง 4.7 กิโลเมตร จำนวน 720 ต้น บริเวณเกาะกลางถนนเพชรเกษม โดยปลูกเพิ่มเติมระหว่างต้นพิกุล 

related