svasdssvasds

โมโนโคลนอล แอนติบอดี้ คือ? ราชวิทยาลัยฯ เตรียมใช้ลดจำนวนผู้ป่วยหนักโควิด19

Monoclonal Antibody ยาโมโนโคลนอล แอนติบอดี คืออะไร? ทางเลือกใหม่ในการรักษาผู้ป่วยโควิด19 ที่ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมใช้ลดจำนวนผู้ป่วยหนักโควิด19

       วันนี้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดงาน แถลงข่าวออนไลน์ เรื่องการรับมือต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยมีหมอผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมาให้ความรู้ นำโดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดหาและนำเข้า ยาโมโนโคลนอล แอนติบอดี ตัวนี้เข้ามาใช้กับผู้ป่วยโควิด19  เพื่อลดผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน ใช้อุปกรณ์มากมาย ซึ่งเป็นภาระหนักของระบบสาธารณสุขไทย
 

อาจจะยังไม่ได้ใช้ทุกคน
       ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สิ่งที่เราต้องทำคือลดจำนวนคนไข้รายใหม่ หรือ ลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก ด้วย 3 อย่าง คือ

มาตรการลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

วัคซีนให้ครอบคลุมประชากร

ยาในการรักษา

       ปัจจุบัน เรื่องยายังมีการถกเถียงกันมาก และทั่วโลกยังใช้หลายตัวในการบรรเทาดูแลผู้ป่วยโควิด เช่น ฟ้าทะลายโจร เรมเดซิเวียร์ ฟาวิพิราเวียร์ และล่าสุด โมโนโคลนอล แอนติบอดี วันนี้เราจะมารู้จัก ยาทางเลือก ตัวนี้กัน 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โมโนโคลนอล แอนติบอดี คืออะไร?

       เป็นยาที่สร้างมาใช้สู้กับโควิด19 โดยตรง ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 1 ครั้ง จะเข้าไปจับส่วนหนามของไวรัสทำให้มันอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายสู้กับเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการรุนแรงในผู้ป่วย ซึ่ง อ.ย.ไทย รับรองยานี้ให้สามารถใช้ในฉุกเฉินได้แล้ว

 

ใช้กับใครบ้าง?

- ผู้ป่วยโควิดระยะเริ่มต้น ที่ติดเชื้อไม่เกิน 10 วัน

- มีอาการเล็กน้อย - ปานกลาง

- เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ อ้วน หรือ โรคประจำตัว 7 โรคกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ป่วยที่เสี่ยงจะมีอาการรุนแรงขึ้น

 

ต่างจากวัคซีนโควิด 19 อย่างไร?

- วัคซีนโควิด ถูกใช้ในผู้ที่ยังไม่ได้รับเชื้อ ยังไม่ติดโควิด ไปกระตุ้นให้ร่างสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

- โมโนโคลนอล แอนติบอดี ใช้รักษาในคนที่ติดเชื้อแล้ว 
 

ผลข้างเคียงที่พบได้

อาการแพ้มักเกิดได้ภายในหนึ่งชั่วโมง

เช่น มีผื่นคัน มีไข้ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ความดันต่ำ

แต่พบได้น้อยมาก
 

ข้อควรระวังสตรีมีครรภ์ ให้นมบุตร หรืออายุต่ำกว่า 12 ปี
 

related