svasdssvasds

ไม่ใช่เรื่องแปลกตีตรวน "ฮาคีม" อธิบดีคุก เผยเป็นระเบียบ ไม่ทำ จนท.ก็เสี่ยงคุกหากหลบหนี [คลิป]

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงการใส่กุญแจข้อเท้า "ฮาคีม" เป็นไปตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ ด้านผู้บัญชาการเรือนจำรับ งานราชทัณฑ์เสี่ยงละเมิดสิทธิมนุษยชน ถ้าไม่ทำ เจ้าหน้าที่ก็เสี่ยงถูกดำเนินคดีหาผู้ต้องขังหลบหนี

จากกรณีที่การตั้งข้อสังเกต และตำหนิการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ในการควบคุมตัว นายฮาคีม อัล อาไรบี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรน ไปขึ้นศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เพื่อสอบคำให้การกรณีส่งผู้ร้ายข้ามแดน พร้อมใส่กุญแจข้อเท้า โดย พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า การดำเนินการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนปกติที่สามารถกระทำได้ตาม มาตรา 21 ที่ระบุว่า ห้ามใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง แต่มียกเว้นหลายกรณี ทั้งนี้ในกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ดุลยพินิจ เป็นไปตามระเบีบบกฎหมาย ของ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ 2560

ไม่ใช่เรื่องแปลกตีตรวน "ฮาคีม" อธิบดีคุก เผยเป็นระเบียบ ไม่ทำ จนท.ก็เสี่ยงคุกหากหลบหนี [คลิป]

ขณะที่ นายกริช กระแสร์ทิพย์ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การใส่เครื่องพันธนาการ นายฮาคีม เป็นเรื่องที่ผู้ควบคุมเห็นแล้วว่าผู้ต้องขังเข้าข่ายสุ่มเสี่ยงหลบหนีเนื่องจากนายฮาคีม เป็นอดีตนักฟุตบอล เป็นผู้ต้องขังคดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องระหว่างประเทศ ผู้ควบคุมพิจารณาแล้ว จึงเห็นสมควรใส่กุญแจข้อเท้า ซึ่งเป็นเครื่องพันธนาการอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ดังนั้นจึงเห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลกในการใช้เครื่องพันธนาการ สำหรับข้อยกเว้นที่ผู้คุมจะไม่ใส่เครื่องพันธนาการ ก็คือ ผู้ต้องขังหญิง ผู้ต้องขังชายสูงอายุ หรือผู้ต้องขังที่มีร่างกายพิการ

ส่วนประเด็นการละเมิดสิทธิผู้ต้องขัง นายกริช ระบุว่า งานราชทัณฑ์สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมุษยชนอยู่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก็สุ่มเสี่ยงที่จะติดคุกเพราะทำผิดกฎหมายอาญาด้วยเช่นกัน เพราะหากผู้ต้องหลบหนีระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เจ้าหน้าที่รายนั้น ก็ต้องถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือ อาจโดนข้อหาละเว้น หรือละเลย ประมาท ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

ฉะนั้นการกระทำของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะทำอะไร ก็จะพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายมอบให้เป็นหลัก และพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ที่ใช้ก็เป็นหลักสากลที่หลายประเทศก็ใช้กัน

สำหรับ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 มาตรา 21 ระบุไว้ว่า ห้ามใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขังเว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

1.ผู้ต้องขังมีพฤติการณ์ที่จะทําอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น

2.ผู้ต้องขังมีพฤติกรรมหรืออาการส่อว่าเป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตไม่สมประกอบซึ่งอาจจะทํา อันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น

3.ผู้ต้องขังมีพฤติการณ์ที่น่าจะหลบหนีการควบคุม

4.เมื่อผู้ต้องขังถูกคุมตัวไปนอกเรือนจําและเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ควบคุมเห็นเป็นการสมควร ที่จะต้องใช้เครื่องพันธนาการ

5.เมื่ออธิบดีสั่งว่าเป็นการจําเป็นต้องใช้เครื่องพันธนาการ เนื่องจากสภาพของเรือนจําสภาพของท้องถิ่น หรือเหตุ จําเป็นอื่น

ไม่ใช่เรื่องแปลกตีตรวน "ฮาคีม" อธิบดีคุก เผยเป็นระเบียบ ไม่ทำ จนท.ก็เสี่ยงคุกหากหลบหนี [คลิป]

Hakeem al-Araibi (C), a Bahraini refugee and Australian resident, is escorted to a courtroom in Bangkok on February 4, 2019. - Hakeem al-Araibi, who was detained by Thai immigration authorities in late November 2018 after arriving in Bangkok for a vacation with his wife, fears torture and even death if he is returned to his homeland. (Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)

[caption id="attachment_435262" align="alignnone" width="800"] ไม่ใช่เรื่องแปลกตีตรวน "ฮาคีม" อธิบดีคุก เผยเป็นระเบียบ ไม่ทำ จนท.ก็เสี่ยงคุกหากหลบหนี [คลิป] Hakeem al-Araibi, a Bahraini refugee and Australian resident, is escorted to a courtroom in Bangkok on February 4, 2019. - Hakeem al-Araibi, who was detained by Thai immigration authorities in late November 2018 after arriving in Bangkok for a vacation with his wife, fears torture and even death if he is returned to his homeland. (Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)[/caption]

ไม่ใช่เรื่องแปลกตีตรวน "ฮาคีม" อธิบดีคุก เผยเป็นระเบียบ ไม่ทำ จนท.ก็เสี่ยงคุกหากหลบหนี [คลิป]

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่ใช่เรื่องแปลกตีตรวจ “ฮาคีม” อธิบดีคุก เผยเป็นระเบียบ ไม่ทำ จนท.ก็เสี่ยงคุกหากหลบหนี

ทั่วโลกกดดันไทยส่งตัว “ฮาคีม” กลับออสเตรเลีย ขึ้่นอันดับ1ทวิตเตอร์ [คลิป]

นานาชาติส่งกำลังใจ “ศาลไทย” นัดตรวจหลักฐาน “ฮาคีม” 22 เม.ย.

“ฮาคีม” เครียด! วอนทุกฝ่ายให้การช่วยเหลือ ไม่อยากถูกส่งตัวกลับบาห์เรน

related