svasdssvasds

4 เดือน ทัพหน้ารวมพลังต่อสู้ COVID-19 คนไข้เยอะ จนต้องเลี้ยงดูด้วยมาม่า(มีคลิป)

เปิดใจผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร เผยทุกขั้นตอนการเตรียมรับมือ COVID-19 ช่วงที่ยากลำบากและเหนื่อยที่สุดของทีมบุคลากรทางการแพทย์ แต่สำคัญคือกำลังใจจากประชาชนเป็นพลังให้ร่วมกันต่อสู้เชื้อร้ายโควิด 19

นพ.อภิชาต วชิรพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวห้องสืบสวนว่า ทางสถาบันบำราศนราดูรได้เริ่มดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อโควิด19มาตั้งแต่เดือนมกราคมจนปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า4เดือนแล้วทั้งนี้เป็นนโยบายของกรมควบคุมโรคและการทำงานประสานกับสำนักงานระบาดวิทยากรมควบคุมโรค

 

ทางคณะทำงานได้เริ่มต้นวางแผนจัดสรรระบบตั้งแต่พบว่ามีข่าวการระบาดของโรคปอดอักเสบในประเทศจีนซึ่งการระบาดที่ประเทศจีนถือว่าน่าเป็นห่วงเพราะมีความใกล้ชิดกับประเทศไทยมากเนื่องด้วยมีคนจีนเดินทางมาประเทศไทยจำนวนมากในแต่ละปีทีมแพทย์ที่สถาบันได้มีการเตรียมการตั้งแต่ตอนปลายเดือนธันวาคมในการเตรียมระบบเตรียมคนเตรียมของ

 

นพ.อภิชาต กล่าวต่อว่าทางสถาบันฯได้มีการรับผู้ป่วยเข้ามาพิสูจน์ทราบการติดเชื้อตั้งแต่วันที่ 5 มกราคมจนมีผู้ป่วยจริงซึ่งป่วยเป็นโควิด19คนแรกของประเทศไทยซึ่งรับมาวันที่ 8 มกราคมและพิสูจน์ทราบได้วันที่13 มกราคม ซึ่งในช่วงมกราคม กุมภาพันธ์ บุคลากรการแพทย์ที่สถาบันฯได้ทำหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพแต่พอถึงเดือนมีนาคมผู้ป่วยเริ่มมีมากขึ้นจึงได้มีการกระจายผู้ป่วยให้กับเครือข่ายของโรงพยาบาลต่างๆโดยในผู้ป่วยประมาณ 3,000 รายที่ประเทศไทยให้การรักษาในจำนวนนั้นรักษาอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูรประมาณ200คน

 

ในช่วงเดือนมีนาคมมีประชาชนเดินทางมาที่สถาบันบำราศนราดูรจำนวนมากซึ่งในบางวันให้การรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงประมาณ700-800คนในผู้ป่วยจำนวนหนึ่งได้รับคำแนะนำให้สังเกตอาการอยู่ที่บ้านแต่ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีการรับเข้าพิสูจน์ทราบว่าเป็นโควิด19หรือไม่ ในช่วงที่คนไข้มากๆบางรายต้องมานั่งรอเพื่อตรวจพิสูจน์ทราบ2-3ชั่วโมงในหลายๆรายที่มาต้องมีการดูแลเป็นพิเศษเช่นต้องให้บริการน้ำดื่มให้บริการอาหารบางช่วงไม่มีต้องให้มาม่าไปทานเพื่อที่คนไข้จะได้ไม่ต้องเครียดมากหนัก

 

นพ.อภิชาตกล่าวว่าผู้ให้บริการของช่วงนั้นรับภาระงานหนักการที่ภาระงานหนักบวกกับคนไข้ที่มีความเครียดอยู่ถ้าอยู่ด้วยกันอาจจะเกิดบริการที่ไม่ดีทางสถาบันเองก็ต้องดูแลทั้งสองฝ่าย ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดมีผู้ป่วยที่อายุน้อยสุดคือเด็กอ่อนวัย 47วัน ผู้ป่วยที่อายุมากสุดของคืออายุ 83ปี

 

“ผู้ป่วยโควิด1รายไม่ได้แปลว่ามีแต่คุณหมอคุณพยาบาลมีตั้งแต่รปภ.คอยกันพื้นที่ให้ผู้ป่วยลงจากรถเดินทางพนักงานเข็นเปลที่ต้องพาผู้ป่วยเดินทางซึ่งนั้นก็สำคัญกับผู้ป่วยเหมือนกันเจ้าหน้าที่คัดกรองซึ่งคัดกรองผู้ป่วยที่หน้าห้องตรวจหน้าอาคารก็มีความเสี่ยงเหมือนกันในส่วนการรักษามีคุณหมอคุณพยาบาลซึ่งในช่วงนั้นคุณหมอบางท่านก็ภรรยาท้องอยู่คุณหมอบางท่านก็ลูกพึ่งคลอดน้องพยาบาลบางท่านก็ยังมีลูกเล็กอยู่ที่บ้านถ้าถามว่ากลัวไหมก็มีความกังวลนะครับแต่ว่าเรื่องนั้นไม่ได้ทำให้พลังของการทำงานของเราลดน้อยไป”นพ.อภิชาตกล่าว

 

โดยก่อนหน้านี้การให้บริการทั่วไปของทางสถาบันเปิดให้บริการเป็นปกติมีคนไข้เฉลี่ยวันละ1200คนที่มารับบริการที่สถาบันบำราศนราดูรแต่เมื่อเริ่มมีการรับผู้ป่วยโควิดมากขึ้นผู้ป่วยเหล่านี้ก็จะลดลงไปอัตโนมัติจะเหลือประมาณวันละ200-300ท่าน

 

“พลังที่สำคัญของพวกเราเกิดจากกำลังใจของพี่น้องประชาชนถาบันบำราศนราดูรก็ได้กำลังใจจากพี่น้องประชาชนจำนวนมากนะครับถามว่ามากแค่ไหนมากจนเราคิดไม่ถึงมีไปรษณียบัตรเฟซบุ๊กและคนที่มาที่เราเองด้วยเจตนาจะมาเยี่ยมชมจะมาให้กำลังใจจะมาคุยจะมาบริจาคตั้งแต่ของชิ้นเล็กๆน้อยๆจนมาถึงจำนวนมากเป็นร้อยๆแพคหรือจะบริจาคเรื่องมือทางการแพทย์จำนวนมากทั้งหมดนี้ผมเชื่อว่าเป็นพลัง”นพ.อภิชาตกล่าว

related