svasdssvasds

ทิศทางโซเชียล และภูมิทัศน์สื่อปี 2566 "สื่อออนไลน์-วิดีโอสั้น" ยังไปได้ไกล

ทิศทางโซเชียล และภูมิทัศน์สื่อปี 2566 "สื่อออนไลน์-วิดีโอสั้น" ยังไปได้ไกล

สื่อยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายแง่มุม ทั้งจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป บทบาทของอัลกอริธึมในโซเชียลมีเดีย ความรวดเร็วของเทคโนโลยี และการแข่งขันที่เข้มข้น ส่องแนวโน้มและภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566

สังคมโซเชียลมีเดียโลกปัจจุบันเปลี่ยนไปแบบไม่หยุดนิ่ง เมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่ปรับตัว หรือปรับตัวช้า เราอาจจะตกเทรนด์ได้ง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 ผ่อนคลายลง  ความเคลื่อนไหวและแนวโน้มสื่อไทยเปลี่ยนไปอย่างมาก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สื่อยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายแง่มุม ทั้งจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป บทบาทของอัลกอริธึมในโซเชียลมีเดีย ความรวดเร็วของเทคโนโลยี และการแข่งขันที่เข้มข้น

 รายงาน “ภูมิทัศน์สื่อไทย ปี 2565-2566” หรือ “Thailand Media Landscape 2022-2023” โดยอินโฟเควสท์ ผู้ให้บริการด้านมีเดียอินเทลลิเจนซ์ ได้รวบรวมข้อมูลและบทสัมภาษณ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟนักวิชาการ บรรณาธิการบริหาร ผู้บริหารสื่อ และผู้บริหารพีอาร์เอเจนซี่ เพื่อนำเสนอความเคลื่อนไหว แนวโน้ม และสถิติของสื่อประเภทต่าง ๆ ตลอดจนมุมมองที่มีต่อสื่อ ผู้บริโภค และแพลตฟอร์มที่จะช่วยตอบคำถามดังกล่าว

ทิศทางสื่อโซเชียล และภูมิทัศน์สื่อปี 2566 "สื่อออนไลน์-วิดีโอสั้น" ยังรอด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฟซบุ๊ก และ ไลน์ นั่งแท่นโซเชียลมีเดียที่ครองใจคนไทยมากที่สุด

จากข้อมูลในรายงานนั้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดหรือใกล้จะผ่านพ้นการระบาดของโควิด-19 ไปแล้ว โซเชียลมีเดียยังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุด

โดยเฟซบุ๊กเป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยนิยมใช้เป็นอันดับ 1 รองมาคือ ไลน์ (LINE) ที่ระดับ 92.7% นอกจากเฟซบุ๊กและไลน์แล้ว ติ๊กต๊อกก็เป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไทย โดยจำนวนผู้ใช้ติ๊กต๊อกในไทยปี 2565 เพิ่มขึ้นถึง 24.8% เมื่อเทียบกับปี 2564 

เมื่อผู้บริโภคนิยมใช้โซเชียลมีเดีย อัลกอริธึมของสื่ออย่างโซเชียลมีเดียจึงมีบทบาทกับภาคธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระแสโซเชียลคอมเมิร์ซ (Social commerce) หรือการใช้โซเชียลมีเดียส่งเสริมการซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ที่ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญของนักชอปชาวไทย โดยวันเดอร์แมน ธอมสัน เปิดเผยในรายงาน “ฟิวเจอร์ ช้อปเปอร์” (Future Shopper) ว่า ไทยมีผู้ซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซในสัดส่วนสูงที่สุดในโลก คือ 88% 

ทิศทางสื่อโซเชียล และภูมิทัศน์สื่อปี 2566 "สื่อออนไลน์-วิดีโอสั้น" ยังรอด

เกาะกระแสฮ็อตแห่งปีกับ “วิดีโอสั้น”

ด้วยสัดส่วนการใช้งานโซเชียลมีเดียที่อยู่ในระดับสูง และ “วิดีโอสั้น” (Short-Form Video หรือ Short VDO) ที่ได้รับความนิยม จึงทำให้สื่อ อินฟลูเอนเซอร์ และแบรนด์ หันมานำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอสั้นกันอย่างแพร่หลาย ดังจะเห็นได้จากสื่อทั้งสำนักข่าว อินฟลูเอนเซอร์ ต่างนำเสนอข้อมูลและทำคอนเทนต์ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้น ๆ กันแทบทั้งนั้น เพราะวิดีโอสั้นเป็นคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้บริโภคที่นิยมใช้โซเชียลมีเดีย

โดยรูปแบบ Short-Form Video ที่ได้รับความนิยม มีจุดขายที่สำคัญ คือ การเป็นวิดีโอในลักษณะแนวตั้ง อัตราส่วนกว้าง : ยาว เป็น 9:16 เหมาะแก่การชมผ่านโทรศัพท์มือถือมากที่สุด ตอบรับกับยุคสมัยที่ผู้คนสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้สะดวก

ทิศทางสื่อโซเชียล และภูมิทัศน์สื่อปี 2566 "สื่อออนไลน์-วิดีโอสั้น" ยังรอด ทีวีดิจิทัลกับอนาคตที่สดใสจากแรงหนุนรายการข่าวและละคร

ขณะที่ทีวีดิจิทัลและ OTT TV เป็นสื่อที่ได้รับอานิสงส์ในช่วงการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากผู้บริโภคใช้เวลาอยู่ที่พัก เสพความบันเทิง และติดตามข้อมูลข่าวสารผ่าน 2 ช่องทางดังกล่าว แต่เมื่อโควิด-19 คลี่คลายลงแล้ว ผู้บริโภคได้ออกเดินทางท่องเที่ยวและทำกิจกรรมกันมากขึ้น ทีวีดิจิทัลและ OTT TV จึงได้ผลิตคอนเทนต์เพื่อดึงความสนใจจากกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย แต่จะได้ผลหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป 

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ทีวีดิจิทัลได้รับงบโฆษณาและความนิยมจากคนดูเพิ่มขึ้นนั้น มาจากรายการข่าวและละคร ซึ่งถือเป็นคอนเทนต์หลักที่ช่วยดันเรตติ้งและดึงโฆษณาให้กับทีวีดิจิทัล ทีวีดิจิทัลเกือบทุกช่องจึงให้ความสำคัญกับรายการข่าว โดยมีการปรับผังรายการและนำผู้ประกาศข่าวที่สามารถดึงดูดความสนใจผู้ชมมานำเสนอ รวมทั้งผลิตคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างละครมาสร้างความบันเทิงผ่านทางสถานีและแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Over-the-Top TV (OTT TV) และสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม

ทิศทางสื่อโซเชียล และภูมิทัศน์สื่อปี 2566 "สื่อออนไลน์-วิดีโอสั้น" ยังรอด เว็บไซต์กับบทบาทที่มองข้ามไม่ได้

ส่วนสื่อออนไลน์นั้น เว็บไซต์ยังคงเป็นสื่อที่ไปต่อได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ การทำและเสนอคอนเทนต์ แม้ว่าในปัจจุบันผู้บริโภคจะนิยมเสพข้อมูลข่าวสารจากโซเชียลมีเดียเป็นหลัก แต่เมื่อต้องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหรือต้องการรายละเอียดมากขึ้น ผู้บริโภคยังคงเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์เพราะรู้สึกมั่นใจมากกว่า

อีกหนึ่งจุดเด่นที่ทำให้เว็บไซต์ยังคงมีความสำคัญคือ การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ทำได้ง่ายกว่าโซเชียลมีเดีย เพราะมีการแบ่งหมวดหมู่เนื้อหาชัดเจน และมีช่องสำหรับค้นหาข้อมูลโดยใช้คีย์เวิร์ด ซึ่งแสดงผลได้อย่างแม่นยำและครอบคลุม

ส่วนโซเชียลมีเดียนั้นข้อมูลจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนหาข้อมูลเก่าได้ยากกว่า หากเว็บไซต์ยังคงคุณภาพในการผลิตคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายได้ โอกาสในการสร้างรายได้จากโฆษณาหรือแม้กระทั่งการเข้ามาลงทุนเพิ่มในเว็บไซต์ก็เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต 

ทิศทางสื่อโซเชียล และภูมิทัศน์สื่อปี 2566 "สื่อออนไลน์-วิดีโอสั้น" ยังรอด สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์นั้น แม้ว่าจะได้รับงบโฆษณาที่ต่ำกว่าสื่ออื่น ๆ แต่หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารยังคงเป็นสื่อที่ยังมีโอกาสในการเป็นช่องทางในการนำเสนอคอนเทนต์หรือผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในแคมเปญต่าง ๆ เช่น นิตยสารที่นำศิลปินที่ได้รับความนิยมมาขึ้นปก หรือแบรนด์สินค้าแฟชั่นไฮเอนด์จากต่างประเทศที่ยังต้องการลงคอนเทนต์ในนิตยสารอยู่

ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ใช้ติ๊กต๊อก ( TikTok) ปี 2565 ในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างมีนัยสำคัญ โดยจำนวนผู้ใช้ติ๊กต๊อกช่วงอายุ 16 – 64 ปี พุ่งแตะ 35 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 63.6% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อายุ 16 – 64 ปีในไทยทั้งหมด หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้ติ๊กต๊อกในปี 2564 แล้ว จำนวนผู้ใช้ในปี 2565 นั้น เพิ่มขึ้นถึง 24.8% และเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของผู้ใช้ติ๊กต๊อกในไทยตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2565 จะพบว่า ช่วงเวลา 3 ปีดังกล่าว จำนวนผู้ใช้ติ๊กต๊อกในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง

ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลภูมิทัศน์และสถานการณ์สื่อไทยปีล่าสุดได้ที่เว็บไซต์อินโฟเควสท์

 

related