svasdssvasds

“วิศวกรดีแทค” ผู้อยู่เบื้องหลัง คืนแห่งความสุขในวันเคาต์ดาวน์

“วิศวกรดีแทค” ผู้อยู่เบื้องหลัง คืนแห่งความสุขในวันเคาต์ดาวน์

ปี 2566 ถือเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปีที่การจัดงานเคานต์ดาวน์และบรรยากาศแห่งความสุขกลับมาอีกครั้ง หลังจากสถานการณ์ต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ กรุงเทพฯ ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 10 จุดหมายเคานต์ดาวน์ของโลก

ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมายังประเทศไทยในปีนี้กว่า 10 ล้านคน เพื่อจดจำและส่งต่อช่วงเวลาแห่ง “ความสุข” ให้กับครอบครัวและคนที่เขารัก

สุทธิพล วรางฤทธิ์ แม่ทัพแห่งศูนย์ปฏิบัติการโครงข่าย (NOC: Network Operation Center) ของดีแทค ได้บอกเล่าถึงการเตรียมความพร้อมและเบื้องหลังคืนเคาต์ดาวน์ให้ฟังว่า ปีใหม่ถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มีความคึกคักอย่างมาก

เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขหลังจากทำงานกันอย่างเหน็ดเหนื่อยตลอดทั้งปี ผู้คนเดินทางท่องเที่ยว บ้างก็กลับภูมิลำเนา บ้างก็เลี้ยงสังสรรค์ แต่ที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลปีใหม่ก็คือ กิจกรรม “เคาต์ดาวน์” โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ

โดยจุดที่เป็นไฮไลท์สำคัญคือ งาน Amazing Thailand Countdown 2023 ที่จัดขึ้นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ห้างสรรพสินค้าไอคอนสยามและงาน centralwOrld Bangkok Countdown 2023 ที่เรียกได้ว่าเป็น Times Square of Asia ถือเป็นความท้าทายของผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่างดีแทค ที่ต้องเตรียมพร้อมและทำงานอย่างหนัก เพื่อเติมเต็มความสุขแก่ลูกค้าในเทศกาลนี้

และช่วงเวลา 00.00 ถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่ผู้คน ส่งความสุขผ่านคำอวยพร ซึ่งมีวิวัฒนาการตั้งแต่ ส่งคำอวยพรผ่านการ์ด สคส., เพจเจอร์, SMS, MMS จนถึงปัจจุบันที่นิยมส่งคำอวยพรผ่านแอปแช็ต และแอปโซเชียลต่างๆ  

หากยังจำได้ในยุคของ SMS จะเกิดปัญหา “คอขวด” จากการส่ง SMS ปริมาณมากๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ในปัจจุบันเราเปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นการ “การไลฟ์สด”  แนวโน้มปัญหาก็จะเปลี่ยนมาเกิดที่ “ดาต้า” แทน  

โดยเฉพาะช่วง peak hour ที่อยู่ระหว่างเวลา 23.30 น. ถึง 00.30 น. ของคืนปีใหม่สำหรับในพื้นที่ที่มีจัดงานเคานต์ดาวน์มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

 

ตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา ดีแทคมีกาารพัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการ 5G บนคลื่น 700 MHz ที่ช่วยปิดจุดอ่อนเรื่องความครอบคลุมของสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และเสริมจุดแข็งให้กับการใช้งานภายในอาคารให้ดียิ่งขึ้น

โดยมีการติดตั้งสถานีฐาน 5G บนคลื่น 700 MHz แล้วทั้งสิ้น 18,800 สถานี (ข้อมูล ณ ไตรมาส 3/2565) นอกจากนี้ยังได้เพิ่มความจุ (Capacity) และติดตั้งเทคโนโลยี Massive MIMO ในที่จุดที่มีการใช้งานหนาแน่น ได้แก่ ขนส่งมวลชน  สถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า

สำหรับจุดที่มีการจัดงานเคานต์ดาวน์ปีใหม่ เราได้วางแผนล่วงหน้าโดยเพิ่มสถานีฐานชั่วคราว เช่น รถโมบาย และ Small cell  

นอกจากนี้ทาง NOC  ยังมีการจัดตั้ง “วอร์รูม” ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการมอนิเตอร์ โดยรวบรวมทีมงานจากหลายส่วนงานไม่ว่าจะเป็น ทีม Core Network, Radio,Transport, IT  ทั้งทีมด่านหน้าอยู่ในพื้นที่และทีมสนับสนุนรวมหลายร้อยชีวิต เพื่อทำหน้าที่บทบาทของการเป็น “ตัวกลาง” ส่งต่อความสุขให้ดีที่สุด

เอกรินทร์ ปัทมขจร หัวหน้าส่วนผู้ดูแลห้อง NOC กล่าวเสริมว่า ห้อง NOC ถือเป็นหัวใจสำคัญของงานมอนิเตอร์ที่ทำให้เห็นภาพรวมการใช้งานโครงข่ายและสื่อสารกับทีมด่านหน้าเพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที โดยจะมีการปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง แบ่งทีมงานออกเป็น 2 ชุด นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ในการประสานกับทีมสนับสนุน รวมถึงพาร์ทเนอร์ด้านโครงข่ายอื่นๆ อีกด้วย

สำหรับคืนปีใหม่นั้น ทีมห้อง NOC จะมีการสลับจัดเวรไม่ให้ซ้ำกันในแต่ละปี หลายคนจะไม่ได้ไปร่วมฉลองปีใหม่กับครอบครัว แต่ที่ห้อง NOC ก็มีการจัดกิจกรรมปีใหม่ มีสังสรรค์ทานข้าว จับฉลากของขวัญร่วมกัน ก่อนที่จะกลับไปทำงาน มอนิเตอร์เครือข่ายจนถึงเช้า

“อาจจะเสียดายอยู่บ้าง ที่หลายปีเราไม่ได้ไปเฉลิมฉลองกับครอบครัว แต่ผมก็มีความสุขมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลและให้บริการลูกค้า โดนเฉพาะในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองเช่นนี้ ที่สำคัญ เรายังมีผู้บริหาร เช่น พี่ประเทศ พี่ธงชัย คอย standby  ทุกปี พร้อมเป็นกำลังใจให้กับพวกเราวิศวกรดีแทคที่ทำหน้าที่อยู่ ทั้งหน้างานและ back office”

การทำงานในคืนข้ามปี ถือว่าเป็นภาระที่คนทำงานต้องแบกรับแม้จะต้องพลาดการสังสรรกับคนในครอบครัว แต่ก็เป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นปีละครั้ง

 

related