svasdssvasds

"นายกสมาคมอีสปอร์ต" แนะรัฐบาลใหม่พัฒนา ต้องมองอีสปอร์ตให้เป็น "นวัตกรรม"

"นายกสมาคมอีสปอร์ต" แนะรัฐบาลใหม่พัฒนา ต้องมองอีสปอร์ตให้เป็น "นวัตกรรม"

กีฬาอีสปอร์ต ที่ไม่ใช่แค่การแข่งขันเกมเพื่อความสนุก โดยเราได้มีโอกาสสอบถามความเห็นของสันติ โหลทอง นายกสมาคมอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย เพื่อเปิดมุมมองและเรื่องจริงของวงการ E-Sports ที่รัฐบาลควรพัฒนาและแก้ไขปัญหา

อีสปอร์ต (E-Sports) การแข่งขันเกมที่ทั่วโลกยอมรับให้เป็นกีฬาประเภทหนึ่ง แต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนในประเทศไทยอย่างจริงจัง หลากหลายพรรคการเมืองได้นำเสนอนโยบายดิจิทัลและเทคโนโลยีมากมาย รวมถึงมีการพูดถึงอีสปอร์ตกันในนโยบายต่างๆ เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ความคิดเห็น ปัญหาของวงการอีสปอร์ต และรัฐบาลและพรรคการเมืองควรพัฒนาอย่างไรบ้าง

"นายกสมาคมอีสปอร์ต" แนะรัฐบาลใหม่พัฒนา ต้องมองอีสปอร์ตให้เป็น "นวัตกรรม"

คุณสันติ โหลทอง กล่าวว่า ไม่ว่าจะรัฐบาลหรือรัฐบาลไหนก็ตาม ถ้าจะออกกฎหมายใดๆก็ตาม ออกมาแล้วเพื่อพัฒนาประเทศ มันก็ต้องให้เกิดพัฒนาจริงๆ และอ่านให้ขาด

ถ้าจะมองว่าอีสปอร์ตแค่ "กีฬา" หรือเป็นแค่การแข่งเกมอย่างเดียว ก็จะทำให้คุณค่าของอีสปอร์ตน้อยลงไป อีสปอร์ตไม่ใช่แค่การเล่นเกม หรือการแค่เอาใจเด็ก ซึ่งหากคิดแบบนี้จะทำให้หลงผิดหลงทางในการพัฒนากีฬาอีสปอร์ต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

อย่างประเทศอื่น เขาแยกกีฬาอีสปอร์ตมาพัฒนาในเชิงนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมก็คือ คุณมีคอมพิวเตอร์ มีมือถือ หรือเครื่องเล่นเกม ก็ถือเป็นการนั่งฝึกฝนฝีมือ เอาเทคโนโลยีมาต่อยอดและพัฒนา ซึ่งจะต่อยอดให้เกิดประโยชน์หรือต่อยอดไปธุรกิจ ซึ่งต้องมองให้ชัดว่า E-Sports คือนวัตกรรม 

"นายกสมาคมอีสปอร์ต" แนะรัฐบาลใหม่พัฒนา ต้องมองอีสปอร์ตให้เป็น "นวัตกรรม" ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมักหลงประเด็นว่าอีสปอร์ตคือสินค้า แต่ไม่ใช่แข่งขันในด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ และถ้าจะพัฒนาส่วนนี้ ก็ต้องลงทุนจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับประชากรในประเทศ คนเล่นเกมมี 28-30 ล้านคน แต่ไม่ใช่อีสปอร์ตทั้งหมด ดังนั้นจะไปเทงบประมาณให้อีสปอร์ตทั้งหมดไม่ได้ ซึ่งรัฐบาลควรมีผู้ชำนาญการจริงๆ มิเช่นนั้นก็จะใช้เงินผิดวิธี

 

คุณสันติ โหลทอง กล่าวเสริมว่า รัฐบาลต้องมองในด้านเทคโนโลยี เราเป็นผู้ซื้อและนำเข้าจากต่างประเทศมาโดยตลอด ปัจจุบันคอมพิวเตอร์นำเข้ามาจากต่างประเทศ 80% ผลิตได้เองเพียง 20% และส่วนที่ผลิตได้นั้นเป็นเพียงแค่ Mousepad หรือแผ่นรองเมาส์เท่านั้น 

ประเทศไทยจึงควรมีศูนย์วิเคราะห์ว่าเทรนด์ของชิ้นส่วนซอฟต์แวร์ต่างๆ ทำไมประเทศไต้หวันทำได้ไม่ว่าจะเป็น ชิปเซ็ต, เมนบอร์ด แต่ทำไมประเทศไทยถึงทำไม่ได้ ซึ่งเราทำได้แค่ พัดลม, ตู้เย็น ทำไมเราไม่มีสินค้าพวกนี้ผลิตในประเทศ 

จึงเกิดคำถามว่า "ทำไมรัฐบาลไม่หนุนในเกิดการพัฒนาการผลิตอุปกรณ์เหล่านี้" และหากรัฐบาลมองว่าตรงนี้ไม่ใช่ E-Sports ก็จะไม่เกิดการพัฒนาด้านต่างๆในส่วนนี้ด้วย

หากเราไม่สามารถผลิตชิปเองได้ รัฐบาลก็ควรจะเปิดโอกาสหรือสนับสนุน เช่น ลดภาษีนำเข้าที่ถูกลงเพื่อสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีและควรจะมองเทคโนโลยีว่าเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศ

"นายกสมาคมอีสปอร์ต" แนะรัฐบาลใหม่พัฒนา ต้องมองอีสปอร์ตให้เป็น "นวัตกรรม" ย้อนมาพูดถึงการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนในประเทศไทยเราก็จะบอกว่า เด็กต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ถึงจะมีโอกาสเลือกเองได้ แต่ไม่ใช่ทุกบ้าน บางบ้านต้องไปถึงปริญญาโท กว่าครอบครัวจะปล่อยให้เลือกสิ่งที่ชอบ 

เพราะฉะนั้น เด็กๆควรจะได้รับการชี้แนะ ถ้ามาสายเทคโนโลยีแล้ว คุณครูจะต้องมองอาชีพใหม่ๆให้ทันสมัยกว่านี้ โลกในอนาคตมันไม่ใช่ของครูในวันนี้ เช่น อาชีพ Graphic Designer, Content Creator และเด็กควรต้องเรียนอะไรเพื่อสานฝันสิ่งที่ชอบตั้งแต่ยังเรียนอยู่ประถมศึกษาแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น เด็กมีความฝันที่จะเป็นนักกีฬาอีสปอร์ต ควรจะต้องได้เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็กแล้ว ซึ่งเด็กจะได้ภาษาและต่อยอดไปสู่สกิลที่พร้อมจะสานฝันในด้านนี้ รวมถึงกระทรวงวัฒนธรรมต้องมองวัฒนธรรมใหม่ๆ ว่าประเทศไทยควรจะแนะนำและพัฒนาเรื่องแบบไหนให้กับคนรุ่นใหม่

คุณสันติ โหลทอง ได้พูดถึงปัญหาเกี่ยวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ Network สำหรับวงการ E-Sports เล่นเพื่อความบันเทิงต้องแตกต่างกับการแข่งขันระดับโลกหรือต้อนรับแขก และปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี Hi-Speed ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ ซึ่ง "ประเทศไทยมีสนามบอล, สนามบาส, สนามแบด อยู่ใกล้บ้าน แต่ยังเราไม่มีสนามอีสปอร์ตรองรับ

ถึงอีสปอร์ต จะแข่งที่ไหนก็ได้ แต่ทุกครั้งที่เริ่มต้น ต้องเริ่มต้นนับ 1 ต้องเสียค่าโครง , ค่าไฟ , ลากสายเน็ตเวิร์ค ค่าจอ ค่าอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันอีสปอร์ตไม่ Ready To Serve หรือไม่ได้พร้อมสำหรับนักกีฬาขนาดนั้น 

รัฐบาลควรสนับสนุนพื้นที่อีสปอร์ต ยกตัวอย่างหากมีเพียงแค่ 77 สนาม เวลามีมหาลัยหรือโรงเรียนจะแข่ง เพียงหิ้วโน๊ตบุ๊ก ก็สามารถไปลงแข่งขันได้เลย มิเช่นนั้นการจัดงานอีสปอร์ตต่างๆแต่ละครั้ง ก็ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด และจะเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ อัตราการเติบโตก็ไม่สามารถวัดได้ และอาชีพอีสปอร์ตจึงไม่สามารถพัฒนาไปได้ แข่งเสร็จแล้วกลายเป็นคนทั่วไปที่ไม่มีหลักแหล่ง

แต่หากสนามยังอยู่ ยังมีงาน มีบ้าน แหล่งทำมาหากิน และกลายเป็นอาชีพอีสปอร์ตจริงๆ สร้างสนามอีสปอร์ต ใช้งบประมาณเพียง 2-3 ล้านบาท เพื่อต่อยอดให้มีรายรับและมีกำไร และกลายเป็น Eco System

อีกทั้งรัฐบาลต้องคิดว่าการแข่งขันอีสปอร์ต เป็นรูปแบบ Non-Profit ทำเพื่อสังคม และอีสปอร์ตควรจะถูกพิจารณาลดค่าไฟบ้าง และไม่ใช่แค่อีสปอร์ตที่ควรพิจารณา ยังมีอีกหลากหลายอย่างที่การไฟฟ้าควรสนับสนุน

นักเรียน-นักศึกษา ที่อยากเป็นนักกีฬาอีสปอร์ต จบไปแล้วทำงานที่ไหน ปัจจุบันก็ยังคงต้องทำงานในตึกแถว ในต่างประเทศเขามีการพัฒนาจนเป็น E-Sports Eco System ที่มีการสนับสนุนมากมายจากทั้งรัฐบาลและเอกชน

 

 

 

 

 

 

related