svasdssvasds

ทำไมโลกไม่ก้าวข้าม ผ่าน Bluetooth สักที ?

ทำไมโลกไม่ก้าวข้าม ผ่าน Bluetooth สักที ?

นวัตกรรม Bluetooth ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน โดยในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาแทบไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติมเลย แล้วเหตุใดทำไมถึงยังไม่มีเทคโนโลยีอื่นมาแทนที่

เทคโนโลยีต่าง ๆ เมื่อผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านไป จากแต่ก่อนที่เป็นเทปคาสเซ็ท ก็ถูกผันไปเป็นแผ่นทั้งซีดี ดีวีดี แล้วพัฒนาต่อเป็นบลูเรย์ แต่ก็ยังอยู่ในหมวดของเป็นแผ่น ปัจจุบันเมื่ออินเทอร์เน็ตดีขึ้น เร็วขึ้น ครอบคลุมมากขึ้นก็ทำให้การดูหนังฟังเพลงเปลี่ยนผ่านระบบมาเป็นสตรีมมิ่ง ไม่ต้องใช้แผ่นอีกต่อไป

แต่แล้วทำไม การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ถึงยังใช้ระบบบลูทูธ (Bluetooth) มานานกว่าสองทศวรรษ ปัจจุบัน มีการประมาณการจากศูนย์วิจัยเอบีไอ (ABI Research) ว่า มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ Bluetooth กว่า 5 พันล้านเครื่องที่จะถูกจัดส่งให้กับผู้บริโภคภายในปีนี้ อาทิ สมาร์ทโฟน รถยนต์ ประตู ตู้เย็น ไปจนถึงหลอดไฟ และตัวเลขดังกล่าวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 พันล้านเครื่องภายในปี 2026 ซึ่งแน่นอนว่าการเชื่อมต่อเหล่านี้บางครั้งก็ราบรื่นดี บางครั้งก็ไม่ค่อยเท่าไร แถมตามมาด้วยปัญจุกจิกเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ได้กวนใจกันอยู่บ้าง

ทั้งความยากลำบากในการตั้งค่าเชื่อมอุปกรณ์ใหม่ หรือการสลับการเชื่อมต่อหูฟังที่ไม่ต่อเนื่อง หรือยกตัวอย่างง่าย ๆ เพียงแค่อยู่ไกลเกินนอกระยะที่จะเชื่อมต่อได้ เป็นต้น

ศ.คริส แฮร์ริสัน ศาสตราจารย์ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน

ศ.คริส แฮร์ริสัน (Chris Harrison) ศาสตราจารย์ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction) ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) กล่าวว่า "ผมมีความสัมพันธ์แบบรักและเกลียดมากกับบลูทูธ เพราะเมื่อมันได้ผล มันวิเศษมาก แต่เมื่อมันไม่เวิร์ค ผมนี่แทบอยากจะทึ้งหัวตัวเอง คำมั่นสัญญาคือการทำให้มันราบรื่นและง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ Bluetooth ไม่เคยไปถึงที่นั่นเลย น่าเสียดาย"

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

แล้วทำไมเราถึงยังใช้ Bluetooth กันอยู่ ?

เหตุผลหลักคงหนีไม่พ้นจากการที่เทคโนโลยีนี้มีราคาค่อนข้างต่ำ ซึ่งคงต้องเล่าย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีนี้

จุดเริ่มต้นของ Bluetooth

มีการกล่าวกันว่า Bluetooth ยืมชื่อมาจากกษัตริย์แห่งสแกนดิเนเวียแห่งศตวรรษที่สิบเก้า ฮารัลด์ "บลูทูธ" กอร์มสสัน (Harald "Blue tooth" Gormsson) ซึ่งเป็นที่โด่งดังจากการที่รวมประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ให้เป็นหนึ่งในช่วงปี 958 และรู้จักกันในฉายา Bluetooth

ฮารัลด์ "บลูทูธ" กอร์มสสัน (Harald "Blue tooth" Gormsson) กษัตริย์แห่งสแกนดิเนเวีย ที่มาของชื่อ Bluetooth

เนื่องจากพระทนต์ของพระองค์ทรงมีสีเทาอมฟ้า เพราะฟันนั้นตายแล้ว และทางเหล่าโปรแกรมเมอร์รุ่นก่อนใช้ชื่อ "Bluetooth" เป็นชื่อรหัสสำหรับเทคโนโลยีไร้สายที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ในพื้นที่ และยังคงเรียกกันอย่างนี้จนต่อเนื่องสืบมาในปัจจุบัน

เทคโนโลยีนี้แตกต่างจาก Wi-Fi เพราะเป็น "คลื่นช่วงสั้นโดยแท้" และทาง ศ.คริส แฮร์ริสัน ระบุว่า ผู้บริโภคยังคงนิยม Bluetooth อยู่ในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ต้องมีติดมากับสมาร์ทโฟนทุกเครื่อง ด้วยความคุ้นชิน และยังพบได้อีกมากในลำโพงแบบพกพา เนื่องจากมีการใช้พลังงานที่ต่ำและสามารถเชื่อมต่อได้ในระยะทางที่จำกัด

สัญญาณ Bluetooth จะเดินทางผ่านคลื่นวิทยุโดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตเนื่องจากมีวงที่แคบ แต่เปิดให้ทุกคนใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงข้ามกับคลื่นวิทยุแปรรูปที่ควบคุมโดยบริษัทต่าง ๆ เช่น AT&T หรือ Verizon (สำหรับในประเทศไทย AIS และ True) สิ่งนี้อาจทำให้การพัฒนาและการยอมรับในวงกว้างง่ายขึ้น โดยแลกกับค่าใช้จ่ายที่สูง

Bluetooth ต้องแชร์และแข่งขันกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จำนวนมากโดยใช้คลื่นความถี่ที่ไม่มีใบอนุญาต เช่น จอภาพสำหรับเด็ก รีโมททีวี และอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการรบกวนที่อาจขัดขวางประสิทธิภาพของ Bluetooth ของคุณ

ศ.คริส แฮร์ริงสัน เผยถึงเหตุผลอื่น ๆ อีกว่า ทำไม Bluetooth จึง "น่าปวดหัว" เพราะปัญหานี้ยังรวมไปถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อส่งข้อมูลแบบไร้สาย

ลำโพงบลูทูธ

"ตัวอย่างเช่น หากคุณติดตั้งลำโพงบลูทูธในอาคารอพาร์ตเมนต์ในนิวยอร์ก คุณจะไม่ต้องการให้ใครก็ตามที่อยู่ในรัศมี 10-15 เมตรเชื่อมต่อได้ แต่ผู้ผลิตไม่เคยตัดสินในกระบวนการ 'โหมดการค้นพบ' ที่ราบรื่น" ศ.คริส แฮร์ริงสัน กล่าว

พร้อมกล่าวเสริมด้วยว่า "บางครั้งอุปกรณ์จะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติและอยู่ในโหมดนี้ 'พร้อมจับคู่' ซึ่งบางครั้งคุณต้องคลิกบางประเภทเพื่อให้อุปกรณ์เข้าสู่โหมดเฉพาะนี้"

ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐฯ หลายแห่งได้แนะนำผู้บริโภคว่าการใช้ Bluetooth มีความเสี่ยง ทำให้อุปกรณ์มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น ทางคณะกรรมการการสื่อสารของรัฐบาลกลาง (Federal Communications Commission: FCC) ได้เตือนว่า เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อ Wi-Fi "Bluetooth อาจทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงได้ หากคุณไม่ระมัดระวัง"

กล่าวกันว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีชื่อเสียงอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นคนขี้ระแวงเกี่ยวกับ Bluetooth รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส (Kamala Harris) ในวิดีโอที่มีคนดูมากของตนที่แสดงความยินดีกับโจ ไบเดน (Joe Biden) ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีหลังการเลือกตั้ง ("เราทำได้แล้ว โจ!") คุณจะเห็นว่าเธอถือหูฟังแบบมีสายอยู่ในมือ ตามที่ Politico เคยรายงานว่า กมลา แฮร์ริส เผยว่า "รู้สึกมานานแล้วว่าหูฟังบลูทูธมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย"

แต่ธุรกิจและผู้บริโภคยังคงใช้ Bluetooth ต่อไป ทาง Apple ที่อาจจะโดดเด่นที่สุดก็คือ เลิกใช้พอร์ตหูฟังแบบเดิม ๆ และเปิดตัวหูฟังไร้สายยอดนิยมที่ใช้ Bluetooth อย่าง AirPods บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ออดิโอไฟล์ที่มิจฉาทิฐิบางคน "ที่บ่นว่า Spotify ไม่ได้มีคุณภาพสูงเพียงพอ" ตามที่ ศ.คริส แฮร์ริสัน กล่าวไว้ ก็ปฏิเสธที่จะยอมรับโลกของหูฟัง Bluetooth ด้วยเหตุผลด้านคุณภาพเสียง

แม้จะมีข้อบกพร่อง แต่ ศ.คริส แฮร์ริสัน ไม่เห็นความต้องการ Bluetooth ที่กำลังจะหมดลง และยอมรับว่าเขาใช้งานมันได้อย่างราบรื่น -บางส่วน "70% ของเวลาทั้งหมด"

IoT ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี Bluetooth ในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อัจฉริยะเข้าด้วยกัน

"Bluetooth ยังไม่เคยเห็นว่ามันเป็นจุดสุดยอด" ศ.คริส แฮร์ริสัน กล่าว โดยคาดการณ์ว่าการใช้ IoT (Internet of Things) หรืออุปกรณ์อัจฉริยะอย่างแพร่หลาย การทำงานร่วมกันในระยะใกล้จะเพิ่มการเติบโตเท่านั้น "Bluetooth จะเป็นกาวที่เชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกัน"

related