svasdssvasds

ทำไมแบรนด์สมาร์ทโฟนใหญ่ ๆ ถึงละทิ้งสีประจำแบรนด์

ทำไมแบรนด์สมาร์ทโฟนใหญ่ ๆ ถึงละทิ้งสีประจำแบรนด์

ชวนหาคำตอบทำไมแบรนด์สมาร์ทโฟนใหญ่ ๆ อย่าง Apple , Samsung , Oppo , Vivo , Xiaomi ถึงยอมละทิ้งสีประจำแบรนด์มาเป็นขาวดำ

ก่อนจะไปหาคำตอบเรามาดูกันก่อนว่า ถ้านึกถึงแบรนด์เหล่านี้ เรานึกถึงสีอะไร ?

Samsung , Oppo , Vivo , Xiaomi

ถ้าคุณนึกสีออกนั่นแหละ คือสีที่แบรนด์เหล่านี้ใช้เพื่อให้เราจดจำได้ง่ายขึ้น เกิดกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำแบรนด์(Brand Identity) เพราะหากมองย้อนกลับไปให้ลึกลงมาอีกคือ กลไกของมนุษย์คือการแยกแยะสีเพื่อการจดจำก่อนแล้วจึงจำรูปร่างหรือตัวอักษร ตามมา แต่ถ้าคุณยังนึกไม่ออก เราจะเฉลยให้ว่า 4 แบรนด์ที่เอ่ยมา คือ น้ำเงิน , เขียว , ฟ้า และ ส้ม

ซึ่งความสำคัญของสีนั้นไม่ใช่แค่การจดจำที่ดี แต่! แต่ละสียังมีความหมายอีกด้วย เช่น สีแดง หมายถึงความรวดเร็ว , สีน้ำเงิน หมายถึงความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

ประเด็นต่อมาคือ ถ้าสีมันทำให้เราจำง่ายแล้วทำไมแบรนด์ต่าง ๆ เวลาเราเห็นโฆษณาในสมาร์ทโฟนถึงเปลี่ยนไปใช้ สีขาว-ดำ หรือโทนที่ไม่ฉูดฉาด

ตัวอย่างการลดใช้สีประจำแบรนด์ของ Samsung
 

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

คำตอบง่าย ๆ คำเดียวเลยคือ ทำเพื่อ "ความหรู(luxury)" เราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่า โดยทั่วไปความหรูมันต้องสีดำหรือสีขาว ซึ่งหากเราเลือกใช้ได้ถูกที่ถูกเวลาก็จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่านี่แหละ "หรู" เช่น โทรศัพท์สีดำด้าน โทรศัพท์สีขาวมุข เป็นต้น ประกอบกับเทรนด์การออกแบบ มินิมอล (Minimal) ที่ลดสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นลงแล้วมาเน้นที่การจัดองค์ประกอบ ใกล้เคียงกับคำที่ว่า Less is more (น้อยแต่มาก)

ขณะเดียวกัน การลดสีประจำแบรนด์ลง ทำให้การใช้งานโลโก้ในที่ต่างๆ ง่ายขึ้นด้วย เช่น หัวเว่ย ใช้โลโก้สีเงินแทนโลโก้สีแดงบนเครื่อง Huawei Matebook X Pro คอมพิวเตอร์เรือธงเครื่องใหม่ของบริษัท ที่ตั้งเป้ามาแข่งกับ Apple

ซึ่งเมื่อพูดถึง Apple ตัวแบรนด์เองก็ชิงเปลี่ยนตัวเองให้หรูโดยการเปลี่ยนจากโลโก้สีรุ้งในปี 1998 มาเป็นสีดำล้วนแทน ซึ่งหากเราดูผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่โลโก้ Apple ไปอยู่ มันทั้งใช้ง่ายและดูเข้ากับพื้นหลังลวดลายต่าง ๆ

ทำไมแบรนด์สมาร์ทโฟนใหญ่ ๆ ถึงละทิ้งสีประจำแบรนด์  

แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนสี ๆ มาเป็นสีขาว-ดำ ก็ส่งผลกับการแยกแะแบรนด์ต่าง ๆ ในโลกแห่งความจริง เช่น ธนาคารแห่งหนึ่งที่เปลี่ยนสาขาจากสีส้ม เป็นสีขาว นั่นทำให้เวลาเราตามหาธนาคารนั้นที่มีต้นไม้บังหรือตามหาในห้างที่มีสีสันเยอะ หาไม่เจอ

อ่าว ? แล้วทำไมเรายังเห็นร้านตามโลตัสยังมีสี ๆ อยู่

ก็ต้องบอกว่า ข้อเสียของร้านสีขาวล้วน ถ้าไม่ติดไฟเยอะ ๆ ให้สว่าง และสร้างอลังการ แบบ Apple Store ก็ยากที่จะทำให้มองเห็นเด่นชัดได้ ขณะที่ร้านสีดำก็ดูไม่ค่อยมงคลเท่าไหร่ และคุณสมบัติของสีดำในชีวิตจริง ก็คือการดูดความร้อน มันก้คงไม่ค่อยรักษ์โลกเท่าไหร่ 

ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้แบรนด์ตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้สีในโลโก้ที่ร้านค้า คือ ตำแหน่งของแบรนด์(Position) ว่าร้านนั้นอยู่ในกลุ่มตลาดไหน ? เช่น Siam Paragon , Central World เป็นต้น แต่หากมาอยู่ตาม Lotus , BigC หากเราทำแบรนด์ให้หรูไป คนก็จะไม่กล้าเข้าเพราคิดว่าสินค้านั้น ๆ แพงเกินไป 

ตัวอย่างเช่นภาพโปรโมทของ Samsung A52s (ราคาเปิดตัว 13,900 บาท) กับ Galaxy Z Fold3 5G(ราคาเปิดตัว 57,900-61,900 บาท) เราจะเห็นว่าการใช้สีแตกต่างกัน และความรู้สึกที่แสดงออกมาก็แตกต่างกัน เช่นกัน

ทำไมแบรนด์สมาร์ทโฟนใหญ่ ๆ ถึงละทิ้งสีประจำแบรนด์

ทั้งนี้การเลือกใช้สีขาวดำก็ไม่ได้ทำให้แบรนด์เราหรูขึ้นเสมอไป ถ้าหาเราใช้อย่างผิดวิธี และการใช้สีมากไปก็อาจทำให้เราสื่อสารผิดพลาดกับผู้บริโภคได้เช่นกัน