svasdssvasds

เปิดประวัติ สุชัชวีร์ (ดร.เอ้) "The Disruptor เมืองไทย"

เปิดประวัติ สุชัชวีร์ (ดร.เอ้) "The Disruptor เมืองไทย"

เปิดประวัติ ศ.ดร.สุชัชวีร์ (ดร.เอ้) สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัคร เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ได้สมญานามว่า "The Disruptor เมืองไทย"

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้) ผู้สมัครลงเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. จากพรรค ประชาธิปัตย์ ผู้ที่ได้ฉายาว่า "The Disruptor เมืองไทย"

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เกิดที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2515 ปีนี้จะอายุครบ 50 ปี โดยเป็นลูกชายของนายธีรศักดิ์ และนางวัลลีย์ สุวรรณสวัสดิ์

สุชัชวีร์ เข้ารับการศึกษาใน วิคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยได้รับทุนโควตาช้างเผือก จากนั้นไปต่อการศึกษาระดับมหาบัณฑิต (ป.โท) โดยได้กลับมาถึงสองใบ ใบแรกเป็นวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม (Geotechnical Engineering) จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) และปริญญาโทใบที่สอง ด้านนโยบายและเทคโนโลยี (Technology and Policy) จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ในขณะที่ปริญญาเอก สุชัชวีร์จบด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม จาก MIT เช่นเดียวกัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

ส่องประวัติ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้) อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.))

หลังจากนั้น สุชัชวีร์ได้กลับมาเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ให้กับทาง สถาบันเทคโนฯ พระเจ้าเกล้าฯ ลาดกระบัง โดยสุชัชวีร์ได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมการก่อสร้างใต้ดินคนแรกและคนเดียวของประเทศไทยในปัจจุบัน

มีผลงานการวิจัยและวิชาการมากกว่า 500 เรื่อง แต่งตำรา 2 เล่ม ได้แก่ "เทคโนโลยีการก่อสร้างอุโมงค์ Tunneling Technology" และ "วิศวกรรมอุโมงค์ Tunnel Engineering" ซึ่งได้รับการอ้างอิงติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก

หลังจากที่สุชัชวีร์ได้ขึ้นเป็น อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2558 ได้พลิกฟื้น สถาบันเทคโนฯ พระเจ้าเกล้าฯ ลาดกระบัง วิกฤตเงิน 1,600 ล้านบาท หายไปจากบัญชี ด้วยการปรับโครงสร้างสถาบันฯ ให้ทันสมัย หันมาใช้ระบบ Provost ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น MIT , Harvard และ Stanford เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

หลังจากนั้น สุชัชวีร์ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของโลกด้าน AI และวิศกรรมคอมพิวเตอร์ ช่วยกันจัดตั้งสถาบันระดับอุดมศึกษาร่วมกัน อย่าง มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University)

เท่านั้นยังไม่พอ สถาบันเทคโนฯ พระเจ้าเกล้าฯ ลาดกระบัง ภายใต้การนำของสุชัชวีร์ ยังจับมือร่วมกับ สถาบันศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีโคเซ็น (KOSEN) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกันตั้ง "KMITL – KOSEN" เพื่อเป็นทางเลือกให้เด็กไทยสามารถเข้าสู่การเรียนสายวิชาชีพได้

นอกจากนี้ สุชัชวีร์ ยังเป็นผู้ก่อตั้ง "โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร" พร้อมจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ทำให้ สถาบันเทคโนฯ พระเจ้าเกล้าฯ ลาดกระบัง กลายเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 22 ของประเทศไทยที่มีคณะแพทยศาสตร์

สุชัชวีร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกสภาวิศวกร ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564)

จากการที่ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ได้เข้ามาปรับปรุงแก้ไข สถาบันเทคโนฯ พระเจ้าเกล้าฯ ลาดกระบัง หลายอย่างทำให้ได้ฉายา "The Disruptor เมืองไทย" และตัดสินใจลาออกจากอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เพื่อมาลงสมัครเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. 

สุชัชวีร์ ชูนโยบาย "เปลี่ยนกรุงเทพ #เราทำได้" โดยมี 2 แนวทางย่อย ได้แก่ เปลี่ยนชีวิตคนกรุงเทพฯ กับ เปลี่ยนโครงสร้างเมือง

แนวทางเปลี่ยนชีวิตคนกรุงเทพฯ มีอีก 3 กลยุทธ์

1. เงินเต็มบ้าน งานเต็มมือ

  • จัดทำกองทุนเพื่อการจ้างงานชุมชน สร้างอาชีพ สร้างโอกาส เพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนในฐานราก
  • ติดตั้งอินเทอร์เน็ต 150,000 จุดทั่วกรุงเทพฯ ความเร็ว 1,000 MB ให้คนกรุงเทพฯ ใช้ได้ฟรี
  • 12 เทศกาลใหญ่ระดับโลกตลอดปี และอีก 50 เทศกาลเขต ใน 50 สัปดาห์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก

2. หมอมี สาธารณสุขดีและใกล้บ้าน

  • เพิ่มอุปกรณ์การแพทย์ทันสมัย ศูนย์สาธารณสุขใกล้บ้าน
  • ศูนย์สาธารณสุขมีแพทย์เฉพาะทาง 3 วัน/สัปดาห์

3. โรงเรียนดีและใกล้บ้าน

  • จัดทำ 50 โรงเรียนต้นแบบใน 50 เขต
  • เรียน 3 ภาษา สนับสนุน ดนตรี กีฬา และวิชาอนาคต
  • อาหารโรงเรียนดี ได้มาตรฐาน 

แนวทางเปลี่ยนโครงสร้างเมือง ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์

1. แก้ปัญหาจราจรเบ็ดเสร็จ

  • แก้ปัญหารถติดด้วย AI
  • ทำทางเดินเท้าให้ได้มาตรฐานสากล
  • บังคับใช้กฎจราจรเข้มและเท่าเทียม
  • สร้างทางจักรยานลอยฟ้า

2. แก้ปัญหาน้ำหนุน ท่วม เน่า ซ้ำซาก

  • ทำแก้มลิงใต้ดินแก้น้ำท่วม และแก้ปัญหาน้ำรอระบาย ด้วยการเพิ่มพื้นที่แก้มลิงใต้ดินให้ใหญ่ขึ้น
  • ทำเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า และประตูระบายน้ำระบบอัตโนมัติ 
  • เริ่มโครงการป้องกันน้ำทะเลหนุนแม่น้ำเจ้าพระยา

3. เปลี่ยนเมืองให้ปลอดภัยและน่าอยู่

  • จัดการอาคารก่อสร้างไร้ความรับผิดชอบ
  • ประกาศสงครามฝุ่นพิษ PM 2.5 
  • ปฏิวัติระบบจัดเก็บขยะ และระบบคัดแยกขยะ
  • สร้างสวนสาธารณะจิ๋ว
related