svasdssvasds

ข้อแตกต่าง ความเป็นกลางทางคาร์บอน - การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ข้อแตกต่าง ความเป็นกลางทางคาร์บอน - การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality กับ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net-Zero GHG Emissions มีอะไรบ้าง ?

เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง Keep The World กลายเป็นเทรนด์ของโลก ถึงแม้ว่า ต่อให้ปิดหูปิดตา ทำตัวไม่สนใจใยดีๆ เรื่องพวกนี้ ยังไง...แต่สุดท้ายแล้วก็คงไม่มีทางหนีมันไปไม่พ้น และเมื่อหนีไม่พ้น ก็คงไม่มีทางอื่น นอกจาก "เข้าร่วม" มันเสียเลย และควรศึกษาเรียนรู้ไปกับเรื่องพวกนี้ เพราะมันคงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย...

ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ ณ ปัจจุบัน เรื่องที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่บ่อยๆ ก็คือคำว่า ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon neutrality  และอีกคำที่ถูกพูดถึงในวงกว้างไม่แพ้กันก็คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ "Net zero emissions" ซึ่งทั้ง 2 คำ มีความหมายใกล้เคียงกันมาก แต่จริงๆแล้ว มันมี "ความแตกต่าง" กันอยู่  ซึ่ง ทั้ง 2 สิ่ง แตกต่างกันอย่างไรบ้าง  มาลองไล่เรียงกัน 

• คอนเซปต์ ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

-ความเป็นกลางทางคาร์บอน : การปล่อย CO2 คาร์บอนไดออกไซด์ จากกิจกรรมมนุษย์สมดุลด้วยการดูดกลับ CO2 ภายในเวลาที่กำหนด

- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ : การปล่อย GHG ก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมนุษย์สมดลด้วยการดูดกลับ GHG ก๊าซเรือนกระจก ภายในเวลาที่กำหนด

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality กับ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net-Zero GHG Emissions มีอะไรบ้าง ?
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ความแตกต่างในประเด็นชนิดของก๊าซ : ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ความเป็นกลางทางคาร์บอน : มุ่งสนใจที่ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ : มุ่งสนใจที่ ก๊าซเรือนกระจก  ซึ่งประกอบก๊าซหลักๆ คือ  1. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 2. มีเทน (CH4) 3. ไนตรัสออกไซด์ (N2O) 4. ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) 5.ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) 6. ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และ 7. ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3)
 

• "ความเป็นกลางทางคาร์บอน" และ "การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์" คืออะไร? และ ต่างกันอย่างไร ?

ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon neutrality คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น

ขณะที่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net zero emissions คือ การที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสมดุล เท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งในสภาวะสมดุลนี้ก็ไม่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และหากทุกประเทศทั่วโลกสามารถบรรลุเป้า net zero emissions ได้ ก็แปลว่าเราสามารถหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนเกิน ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนได้


ทั้งนี้ "ความเป็นกลางทางคาร์บอน" มีความคล้ายคลึงกับ "การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์"  แต่เป็นมิติที่กว้างกว่าแค่การปล่อยคาร์บอน คือ พิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น (สามตัวหลัก ได้แก่ CO2 CH4 และ N2O) จึงเห็นได้ว่าความเป็นกลางทางคาร์บอนเป็นเป้าหมายเริ่มต้นสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 


นอกจากนี้ โดยมาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ net zero emissions เป็นเป้าหมายที่ตั้งในระดับประเทศ หรือ หากเป็นเป้าหมายระดับองค์กรตามคำนิยามที่เห็นพ้องกันต้องมีการปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตทั้งต้นน้ำปลายน้ำ จึงเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายกว่าความเป็นกลางทางคาร์บอน

• ระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมาย  "ความเป็นกลางทางคาร์บอน" และ "การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์"

ความเป็นกลางทางคาร์บอน : ถือได้ว่า ไอเดียนี้ สามารถบรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่า   โดยการบรรลุเป้าหมาย carbon neutrality  หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน  นั้นอาจเป็นเป้าหมายระดับบุคคล องค์กร หรือประเทศ สามารถทำได้โดยการ "ลด" และ "ชดเชย" (lower & offset) การปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลาง

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ : ถือว่า เรื่องนี้ เป็นโปรเจค เป็นไอเดียระยะยาว เป็นเป้าหมายระยะยาว สามารกำหนดเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อที่จะมีการดำเนินงานมุ่งสู่เป้าหมายนั้น

โดย ส่วนการบรรลุเป้าหมาย net zero emissions นั้น  โดยมากเป็นเป้าหมายระดับประเทศ และหลังจากความพยายาม "ลด" การปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านมาตรการต่าง ๆ ที่สามารถทำได้แล้ว กิจกรรมในบางอุตสาหกรรมก็อาจยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ดี เพื่อให้บรรลุเป้าการปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ก็ให้ใช้ มาตรการ "กำจัด" ก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมที่สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศในระยะยาว เช่น การปลูกป่า การปลูกพืชคลุมดินเพิ่มเติมในพื้นที่เกษตรเพื่อเพิ่มการตรึงคาร์บอนในดิน หรือใช้เทคโนโลยีในการดูดคาร์บอนที่ดักจับและกักเก็บโดยตรง เป็นต้น 

สำหรับ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ยังมีอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญ ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่คือวิธีการที่ประเทศประเทศหนึ่งจะบรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  โดยเรื่องนี้ ประเทศที่ร่ำรวย ยังมีโอกาสปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกกว่าประเทศที่ยากจน 

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศ เบอร์ 1  อาจจะบันทึกข้อมูลว่าตัวเองปล่อยคาร์บอนน้อยลงหลังจากไม่ให้มีการทำอุตสหกรรมผลิตเหล็กกล้า แล้วหันไปนำเข้าเหล็กกล้าจากประเทศ เบอร์ 2 แทน นั่นก็เท่ากับว่าผลักความรับผิดชอบในการปลดปล่อยคาร์บอนไปให้ประเทศ เบอร์ 2 ซึ่งเป็นผู้ส่งออกแทน

นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะให้ประเทศร่ำรวยชดเชยปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนของตัวเองด้วยการไปจ่ายเงินสนับสนุนให้ประเทศที่ยากจนกว่าหันไปใช้พลิงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น การกระทำแบบนี้ถูกมองว่าเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะลงมือแก้ปัญหาดังกล่าวในประเทศตัวเอง
 

related