svasdssvasds

สถาบันการเงินเผย พร้อมสนับสนุนธุรกิจ หากตรวจสอบได้ว่าคุณรักษ์โลกจริง

สถาบันการเงินเผย พร้อมสนับสนุนธุรกิจ หากตรวจสอบได้ว่าคุณรักษ์โลกจริง

ธนาคารโลกวิเคราะห์ความเป็นไปได้การขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวในไทย พร้อมเผยว่า ไทยจะสามารถยั่งยืนได้ ต้องเริ่มที่ตนเอง เปลี่ยนโครงสร้างการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หากถามว่าประเทศเราจะเดินหน้าสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร ก็ต้องตอบว่าเงินคือส่วนสำคัญที่ทำให้ทุกคนสามารก้าวข้ามผ่านได้และต้องกล้าตัดสินใจได้

วันนี้ 30 มีนาคม 2566 กรุงเทพธุรกิจ ได้เปิดเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era ณ ห้องรอยัลมณียา บอลรูม ชั้น M โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์

ในช่วงของการพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นในหัวข้อ Go Green : Global Overview, Go Green : นโยบายรัฐ, Carbon Market : New Economy และ Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว โดยวิทยากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายระดับโลก

สำหรับคุณรัชฎา อนันตวราศิลป์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาวุโสภาคสถาบันการเงิน ธนาคารโลก ได้วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ว่า ภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย เห็นได้จากวิกฤตฝุ่น PM2.5 วิกฤตน้ำท่วมทำให้เศรษฐกิจเสียหาย 1.44 ล้านล้านบาท

รัชฎา อนันตวราศิลป์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาวุโสภาคสถาบันการเงิน ธนาคารโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ได้เข้าร่วม ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นหนึ่งใน 197 ประเทศ ในการควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงมากกว่า 1.2 องศาเซลเซียส ดังนั้น เรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราทุกคนได้รับผลกระทบกันหมด ซึ่งไทยเราเองมีการวางแผนและแนวทางไว้แล้ว เช่น BCG (Bio-Circular-Green Economic Model)

และมี SDG ที่ตอนนี้เราสามารถบรรลุได้หัวข้อเดียวคือ No Poverty ซึ่งยังมีอีกหลายหัวข้อที่เรายังทำไม่สำเร็จและมันค้องสำเร็จให้ได้ รัฐบาลแลธนาคารก็กำลังให้ความสำคัญกับ ESG ซึ่งมันกำลังเป็นเทรนด์โลกและเป็นเทรนด์ที่ภาคการเงินควรให้การสนับสนุนมากที่สุด

รัชฎา อนันตวราศิลป์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญอาวุโสภาคสถาบันการเงิน ธนาคารโลก รวมไปถึงการส่งสินค้าทางการเกษตรและอาหารไปยังต่างประเทศเดี๋ยวนี้ เราก็ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเสมอ ซึ่งตอนนี้มันกลายเป็นเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของเศรษฐกิจและการส่งออกระหว่างประเทศกันไปเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เราต้องมีคือ ความรู้ด้านเทคนิค โครงสร้างการผลิตของเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน

เราต้องมีจุดเชื่อม จุดเชื่อมคือส่วนสำคัญ เพราะมันคือเกรฑ์มาตรฐาน ระหว่างวิทยาศาสตร์กับการเงินต้องเห็นตรงกัน ธนาคารต้องคำนึงการให้สินเชื่อภาคธุรกิจไปดำเนินธุรกิจต่อ ซึ่งก็คือ หากภาคธุรกิจไหนมีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพียงพอตามเกณฑืมาตรฐาน ธนาคารก็สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้ เป็นการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่ธุรกิจนั้น ๆ

และอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เรื่องของภาษี ต่างประเทศเขาก็มีภาษีในอุตสาหกรรมการผลิตด้วย เช่น EU Taxonomy ที่ครอลคลุมอุตสาหกรรมการผลิตทุกภาคส่วนว่าจะต้องจ่ายหากคุณสร้างมลพิษให้แก่โลก และที่สำคัญประเทศไทยเราก็มีแล้ว Thailand Taxonomy แต่จะยังเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนเยอะที่สุด คือ ภาคการขนส่งและภาคพลังงาน

ช่วงสุดท้าย หากถามว่า เทคโนโลยีที่นำพาไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับประเทศไทยจะเป็นไปได้ไหม ก็ต้องบอกว่า เทคโนโลยีและดิจิทัล เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จะเข้ามาหาเราแน่ ๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากวิเคราะห์ตามเศรษฐศาสตร์ ยิ่งคนใช้มากขึ้น ราคาจะยิ่งลดลง ต้นทุนก็จะลดลงใช่ไหม แต่ปัจจุบันมันไม่เป็นแบบนั้น ยิ่งเทคโนโลยีถูกพัฒนามากขึ้น แม้ต้นทุนและราคาจะถูกลง แต่ก็จะเกิดการผลิตใหม่อยู่ดี เราต้องแก้ที่ตรงนี้ก่อน ให้การผลิตและการพัฒนามันมีน้ำหันกเท่ากัน ความยั่งยืน จะต้องเกิดจากการร่วมมือกัน ถึงจะเป็นไปได้

related