svasdssvasds

นักวิทย์ ย้ำ! การประชุม COP28 ต้องถกปัญหา-วิธีแก้ "โลกร้อน" ให้ครบทุกด้าน

นักวิทย์ ย้ำ! การประชุม COP28 ต้องถกปัญหา-วิธีแก้ "โลกร้อน" ให้ครบทุกด้าน

ปริมาณน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ที่กำลังลดปริมาณลงอย่างมหาศาล กำลังทำให้บรรดานักวิทย์ฯ ตื่นตระหนัก และออกมาส่งเสียงถึงการประชุมสภาพอากาศที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่นครดูไบ UAE พร้อมให้ประเทศเข้าร่วม เร่งหารือกันหาวิธีแก้ไข

ใกล้เข้ามาแล้ว สำหรับงาน COP28 การรวมตัวกันเกือบ 200 ประเทศที่ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) โดยมุ่งเน้นในประเด็นเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่แหล่งพลังงานสะอาด สนับสนุนการเงินในการดำเนินการด้านสภาพอากาศแก่ประเทศยากจน พร้อมถึงคุยเรื่องผลกระทบต่อธรรมชาติ มนุษย์ และให้การประชุมในครั้งนี้เป็นการจับกลุ่มคุยถึงปัญหาให้รอบด้านที่สุด

งาน COP28 ใกล้เริ่มต้นแล้ว Cr. COP28 UAE

พร้อมทั้งในปีนี้ ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเผยว่า โลกของเรามีอุณหภูมิร้อนขึ้น1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งคาดว่าจะทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งใกล้ถึงเกณฑ์ที่ทั้งโลกลงนามกันไว้ในความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อปี 2015 แล้ว

ในปี 1990 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC ได้ออกมาติเตือนเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่เหลือบไปดูตัวเลขการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลกในแต่ละวันแล้ว ดูเหมือนเราจะไม่ค่อยฟังคำเตือนจาก IPCC สักเท่าไร

โลกจะร้อนขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสอย่างแน่นอน Cr. Rawpixel

นักวิทย์ฯ ชวนเร่งถกเรื่องโลกร้อน

ช่วงเดียวกันนี้เอง Antje Boetius นักวิจัยจากสถาบัน Alfred Wegener ได้ออกมาส่งสัญญาณไปถึงทุกภาคส่วน โดยย้ำว่าไม่ว่าอย่างไร อุณหภูมิโลกก็จะร้อนขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสอย่างแน่นอน ฉะนั้น ในการประชุม COP28 ที่จะถึงนี้ เราต้องจับเข่าคุยกันถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนให้ครบทุกเหลี่ยมมุม

Dr. Antje Boetius Cr.Wikipedia

“ดูจากอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันยังไงอุณหภูมิโลกก็ร้อนเกิน 2 องศา ดังนั้น พวกเราช้าไปแล้ว บรรดานักวิทยาศาสตร์ต้องการให้พูดถึงเรื่องนี้ในการประชุม COP28”

“ทุกประเทศต้องชี้แจงว่าได้รับผลกระทบอย่างไร พลเมืองในประเทศสูญเสียอะไรไปบ้าง หรือมีสิ่งใดที่นำไปสู่การเสียชีวิตหรือไม่?”

อีกหนึ่งเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ดันหลังเต็มที่ให้งานประชุม COP28 หารือกันคือเรื่อง ความอยุติธรรมของประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อย แต่กลับได้รับผลกระทบใหญ่หลวงอาทิเช่น ปากีสถาน บังกลาเทศ

“มันไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย ที่ประเทศซึ่งมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อย ต้องพลอยได้รับผลกระทบ และถูกลงโทษไปด้วย ต้องเป็นเหล่าประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง ๆ สิ ถึงจะถูก”

รายชื่อประเทศที่ปล่อยของเสียออกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด Cr. newclimate

กล่าวคือ เธอกำลังปกป้องประเทศที่ไม่มีอำนาจในการต่อรองกับบรรดาบิ๊กทั้งหลายทั่วโลก ในเรื่องการปล่อยของเสียสู่ชั้นบรรยากาศ เธอกำลังเรียกร้องให้ประเทศหาอำนาจทั่วโลก ให้ออกมารับผิดชอบ และเร่งหาวิธีแก้ไขในการประชุมครั้งนี้เสียโดยด่วน

น้ำแข็งขั้วโลกละลาย เรื่องเร่งด่วน

นอกจากนี้ เธอได้หยิบยกประเด็นเรื่องปริมาณน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ที่ละลายลงอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากกระแสน้ำทีมีอุณหภูมิสูงขึ้น จนส่งผลกระทบแก่สัตว์พื้นถิ่นอาทิ เพนกวินจักรพรรดิ

เพนกวินจักรพรรดิ Cr. Flickr

ในการประชุมครั้งนี้ เราต้องเร่งหารือกันว่า ทำไมน้ำแข็งขั้วโลกใต้ถึงได้ละลายอย่างรวดเร็วขนาดนี้ น้ำแข็งจะละลายต่อไปเรื่อย ๆ หรือไม่ แล้วเราจะหยุดการละลายของน้ำแข็งได้อย่างไร เหล่านี้คือสิ่งที่เธอคิดว่า งานประชุมสภาพภูมิอากาศต้องร่วมกันหาคำตอบ

 

ที่มา: Reuters

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related